svasdssvasds

UK จ่อบังคับใช้สายชาร์จ USB-C ตาม EU แก้ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ ล้นประเทศ

UK จ่อบังคับใช้สายชาร์จ USB-C ตาม EU แก้ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ ล้นประเทศ

อังกฤษ เตรียมใช้ USB-C สายชาร์จมาตรฐานใหม่ ลดปัญหาขยะอิเล็กทรอกนิกส์ ใช้งานสะดวกกว่าเดิม เดินตามรอยสหภาพยุโรป (EU) ใช้มาตรฐานสายชาร์จเดียวกัน เนื่องจากปัจจุบันมีปัญหาสายชาร์จถูกทิ้งกว่า 600 ล้านเส้น

SHORT CUT

  • อังกฤษเตรียมบังคับใช้สายชาร์จ USB-C ตามแบบสหภาพยุโรป เพื่อแก้ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะสายชาร์จที่ถูกทิ้งจำนวนมาก ซึ่งมีทองแดงที่สามารถนำมารีไซเคิลได้
  • ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย กำลังเผชิญปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-waste) ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและอาจทำให้เกิดการขาดแคลน ทรัพยากร เช่น ทองแดง ในอนาคต
  • ไทย ควรเรียนรู้จากอังกฤษ โดยส่งเสริมการรีไซเคิล, ลงทุนในเทคโนโลยีและสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีประสิทธิภาพ

อังกฤษ เตรียมใช้ USB-C สายชาร์จมาตรฐานใหม่ ลดปัญหาขยะอิเล็กทรอกนิกส์ ใช้งานสะดวกกว่าเดิม เดินตามรอยสหภาพยุโรป (EU) ใช้มาตรฐานสายชาร์จเดียวกัน เนื่องจากปัจจุบันมีปัญหาสายชาร์จถูกทิ้งกว่า 600 ล้านเส้น

ปัจจุบัน "ขยะอิเล็กทรอนิกส์" (E-waste) กำลังทวีความรุนแรงขึ้นทั่วโลก และสหราชอาณาจักร (EU) กำลังเดินหน้าแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาจากสายชาร์จที่ถูกทิ้งแล้วกว่า "627 ล้านเส้น"

ซึ่งข้อมูลจาก Recycle Your Electricals เผยให้เห็นว่า สายชาร์จเหล่านี้มีทองแดงซ่อนอยู่ถึง "38,449 ตัน" หากนำมารีไซเคิลก็จะช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มหาศาล

AI-Generated

สหราชอาณาจักรกำลังเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนทองแดงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ เนื่องจากความต้องการทองแดงที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในภาคพลังงานหมุนเวียนและยานยนต์ไฟฟ้า

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมืองทองแดง การทำเหมืองทองแดงสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากมาย เช่น การตัดไม้ทำลายป่า การทำลายแหล่งที่อยู่อาศัย และมลพิษ รัฐบาลสหราชอาณาจักรจำเป็นต้องลงทุนในเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานการรีไซเคิลที่ดีขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรีไซเคิลทองแดงอีกด้วย

ล่าสุด สหราชอาณาจักร (EU) ประกาศพิจารณาออกกฎหมายบังคับใช้สายชาร์จ USB-C เป็นมาตรฐานเดียวสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยเดินตามรอยสหภาพยุโรป ซึ่งได้ออกกฎหมายบังคับใช้ USB-C ไปก่อนหน้านี้ โดยมีจุดประสงค์เพื่อลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ และเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้บริโภคในการใช้งาน 

ผลกระทบต่อทั่วโลก : ปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกสูงถึง 53.6 ล้านตันต่อปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (อ้างอิง: The Global E-waste Monitor 2020)

สหภาพยุโรป : ได้คาดการณ์ว่าภายในปี 2573 สหภาพยุโรปจะเผชิญกับปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์สูงถึง "12 ล้านตัน" (อ้างอิง: European Commission)

UK จ่อบังคับใช้สายชาร์จ USB-C ตาม EU แก้ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ ล้นประเทศ

การบังคับใช้มาตรฐานสายชาร์จ USB-C นำมาซึ่งประโยชน์มากมาย เช่น ช่วยลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์จากการลดการผลิตและการกำจัดสายชาร์จที่ไม่จำเป็น, ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในการผลิตสายชาร์จ, ลดมลภาวะจากกระบวนการผลิตและการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์, เพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้บริโภคโดยไม่จำเป็นต้องพกพาสายชาร์จหลายชนิด และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อสายชาร์จใหม่

UK จ่อบังคับใช้สายชาร์จ USB-C ตาม EU แก้ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ ล้นประเทศ

การหันไปใช้สายชาร์จ USB-C ของอังกฤษ เป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก ที่ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม และผู้บริโภค แม้จะมีความท้าทาย และผลกระทบต่อผู้ผลิตในระยะสั้น แต่ในระยะยาว เชื่อว่าจะนำไปสู่การพัฒนา และความยั่งยืนของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

ย้อนกลับมาในประเทศไทย อยากชวนมาย้อนดูสถิติต่างๆเกี่ยวกับปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่น่าสนใจ ซึ่งในอนาคตเชื่อว่าประเทศทั่วโลกก็ต้องปรับตัวอย่างรุนแรงเพื่อลดปัญหานี้เช่นกัน

  • ขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย กำลังเพิ่มขึ้นประมาณ 3-5% ต่อปี (ที่มา: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย) เป็นปัญหาที่น่ากังวล เพราะแสดงให้เห็นว่าปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นเร็วกว่าความสามารถในการจัดการ
  • คนไทยมีโทรศัพท์มือถือมากถึง 120 ล้านเครื่อง หรือเฉลี่ย 1.8 เครื่องต่อคน (ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ) สะท้อนให้เห็นถึงการบริโภคอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สูงในประเทศไทย
  • มีเพียง 2% เท่านั้นที่ถูกนำไปรีไซเคิลอย่างถูกวิธี ส่วนใหญ่ถูกเก็บไว้ที่บ้าน หรือทิ้งปะปนกับขยะทั่วไป ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ เนื่องจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ มีสารอันตราย เช่น ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม และ สารหน่วงไฟ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และ สิ่งแวดล้อม

หลายคนอาจไม่รู้ว่า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ หรือสายชาร์จ มีส่วนประกอบของวัสดุมีค่า เช่น ทองแดง ทองคำ และเงิน ที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้

CREDIT : REUTERS

ด้วยเหตุนี้ ภาครัฐและภาคเอกชนจึงควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริม และสนับสนุน การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการรีไซเคิลที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการสกัดโลหะมีค่า เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมรีไซเคิลของประเทศ และสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างยั่งยืน

เพราะการลงทุนในเทคโนโลยีการรีไซเคิล ไม่เพียงแต่จะช่วยลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ แต่ยังเป็นการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ และส่งเสริมการจ้างงาน ในภาคอุตสาหกรรมอีกด้วย

ที่มา : BBC , MaterialfocusMirror

related