svasdssvasds

แท็กซี่ไร้คนขับบนถนนจริง ควรไปต่อหรือพอก่อน หลังชนคนบาดเจ็บในสหรัฐฯ

แท็กซี่ไร้คนขับบนถนนจริง ควรไปต่อหรือพอก่อน หลังชนคนบาดเจ็บในสหรัฐฯ

แท็กซี่ไร้คนขับบนถนนจริง ควรไปต่อหรือพอก่อน หลังชนคนบาดเจ็บในสหรัฐฯ ลากเป็นทางยาว 6 เมตร ก่อนรถจะรู้สึกตัวว่าเกิดอุบัติเหตุ

SHORT CUT

  • Cruise Taxi แท็กซี่ไร้คนขับ เตรียมกลับมาทดสอบบนถนนจริงอีกครั้ง หลังอุบัติเหตุชนคนรุนแรงเมื่อปีก่อน
  • บริษัทฯ คลายความกังวลเบื้องต้นโดยให้รถที่วิ่งทดสอบ ควบคุมโดยคนขับ ไม่มีผู้โดยสาร และไม่เปิดโหมดขับขี่อัตโนมัติ
  • แต่สุดท้ายหลายฝ่ายก็ยังตั้งข้อสงสัยถึงความพร้อมของ แท็กซี่ไร้คนขับ บนถนนจริง ที่ไม่มีคนขับอยู่หลังพวงมาลัย

แท็กซี่ไร้คนขับบนถนนจริง ควรไปต่อหรือพอก่อน หลังชนคนบาดเจ็บในสหรัฐฯ ลากเป็นทางยาว 6 เมตร ก่อนรถจะรู้สึกตัวว่าเกิดอุบัติเหตุ

แท็กซี่ไร้คนขับ นวัตกรรมที่จะแก้ปัญหาแท็กซี่ว่างแต่ไม่ไป การโก่งราคา และการจัดการจราจรแห่งอนาคต แต่ในช่วงการพัฒนาจริงและทดลองกลับพบข้อบกพร่องมากมาย ทั้งการที่รถสับสนเสื้อยึดลายป้ายจราจร และอุบัติเหตุ

Cruise Taxi บริษัทผู้ให้บริการแท็กซี่ไร้คนขับในสหรัฐฯ และอีกหลายเจ้ากำลังถูกจับตามองเพราะบริษัทจำเป็นต้องหยุดการทดลองให้บริการในเมืองฟีนิกซ์ รัฐแอริโซนา เป็นเวลาถึง 6 เดือน เพราะอุบัติเหตุก่อนหน้านี้ ที่แท็กซี่ไร้คนขับของบริษัทขับชนคนและลากร่างของผู้ประสบเหตุไปถึง 6 เมตร ก่อนที่รถจะหยุดลง เมื่อเดือนตุลาคม 2566 ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นอีกรัฐหนึ่งที่บริษัทให้บริการอยู่

ปัจจุบัน Cruise Taxi ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ GM บริษัทผลิตรถยนต์จากสหรัฐอเมริกา เจ้าของยี่ห้อรถที่คนไทยรู้จักอย่าง คาดิลแลค (Cadillac), เชฟโรเลต (Chevrolet), จีเอ็มซี (GMC) และ ฮัมเมอร์ (Hummer) เป็นต้น โดยมีรถไร้คนขับในอู่ทั้งหมดราว 900 คัน

สื่อต่างประเทศรายงานว่า วันนี้ตามเวลาสหรัฐฯ Cruise Taxi แท็กซี่ไร้คนขับ จะกลับมาทดสอบระบบอีกครั้ง โดยจำกัดความเสียหายด้วยการให้มีคนขับอยู่หลังพวงมาลัย ไม่มีผู้โดยสาร และไม่เปิดโหมดขับขี่อัตโนมัติ เพื่อให้ระบบและเซ็นเซอร์ต่าง ๆ ของรถเก็บข้อมูลสภาพแวดล้อมของเมืองมาวิเคราะห์อีกครั้งหนึ่ง

แม้แท็กซี่และรถไร้คนขับจะเป็นความฝันของมนุษย์มานานหลายสิบปี แต่เมื่อโลกหมุนไป และนักพัฒนามัวแต่ง่วนกับการพัฒนาที่ต้องการเป็นเบอร์ 1 คนแรกของวงการ จนบางครั้งทำให้ผู้พัฒนาลืมนึกถึงเรื่องเล็ก ๆ เช่น การเล่นพิเรนทร์ของวัยรุ่น , เหตุฉุกเฉินที่ทำให้รถฉุกเฉินพุ่งฝ่าไฟแดง หรือ คนขับถนนที่ไม่ได้ดูตาม้าตาเรือ เป็นต้น

การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่าง รถไร้คนขับ นับเป็นเรื่องที่ดี แต่การคำนึงถึงความปลอดภัยและโอกาสความผิดพลาดของเทคโนโลยีก็นับว่าเป็นเรื่องที่ต้องระมัดรัวงเป็นพิเศษเช่นกัน ดังนั้นหลังจากนี้นักพัฒนาจำเป็นต้องทดลองและพิจารณาสภาพแวดล้อมที่คาดการณ์ได้ยากของท้องถนนมากขึ้นก่อนนำมาให้บริการจริง

สำหรับประเทศไทย มีการเตรียมความพร้อมสำหรับการพัฒนา รถไร้คนขับ จากทั้งภาคเอกชนและรัฐไว้ให้ทดสอบแล้ว โดยกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) สร้าง “สนามทดสอบรถอัตโนมัติ” หรือ Connected and Autonomous Vehicle (CAV) Proving Ground ขึ้นที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) จ.ระยอง และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ก็ตั้งศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) อาคารใหม่ขึ้น เพื่อทดสอบประเภทสัญญาณต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้กับเซ็นเซอร์ของ รถไร้คนขับ ในอนาคตด้วย

นอกจากนี้ ประเทศไทยเองก็เริ่มทดลองให้บริการรถบัสไฟฟ้าไร้คนขับคันแรกของไทย ที่ทดลองใช้ภายในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา โดยรถบัสไฟฟ้า ขนาด 20 ที่นั่ง ได้ทดลองเดินรถบนเส้นทางยาว 2.8 กิโลเมตร

อ่าน : อยุธยานำร่องใช้ 'รถบัสไฟฟ้าไร้คนขับ' พาเที่ยวแหล่งมรดกโลกแบบรักษ์โลก

อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

related