svasdssvasds

รอชม “ดาวหางปีศาจ” เดือนมี.ค. เห็นด้วยตาเปล่าในรอบ 71 ปี ครั้งเดียวในชีวิต

รอชม “ดาวหางปีศาจ” เดือนมี.ค. เห็นด้วยตาเปล่าในรอบ 71 ปี ครั้งเดียวในชีวิต

นักดูดาวอาจมีโอกาสครั้งหนึ่งหรือสองครั้งในชีวิตที่จะเห็นดาวหางสว่างไสว ลักษณะเด่นเหมือนมีเขาปีศาจคู่หนึ่งติดอยู่ ขณะที่มันเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ จนได้รับการเรียกว่า “ดาวหางปีศาจ” ซึ่งเป็นดาวหางที่มีวงโคจรยาวนาน 71 ปี

SHORT CUT

  • ดาวหาง 12P/Pons-Brooks มีคาบการโคจรใกล้เคียงกับ "ดาวหางฮัลเลย์" ในช่วงชีวิตของมนุษย์ จะมีโอกาสเพียง 1 ครั้ง ในรอบ 71 ปี 
  • ดาวหางนี้มีชื่อเล่นว่า "ดาวหางปีศาจ" เนื่องจากการระเบิดและปล่อยแก๊สออกมาในลักษณะไม่สมดุล เหมือนงอกเขา 2 ข้างออกมา ทำให้มีลักษณะเหมือนหัวปีศาจ
  • เมื่อก๊าซและฝุ่นถูกปล่อยออกมาจากใต้พื้นผิวของดาวหาง ส่งผลให้วัตถุสว่างขึ้น และสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน 

นักดูดาวอาจมีโอกาสครั้งหนึ่งหรือสองครั้งในชีวิตที่จะเห็นดาวหางสว่างไสว ลักษณะเด่นเหมือนมีเขาปีศาจคู่หนึ่งติดอยู่ ขณะที่มันเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ จนได้รับการเรียกว่า “ดาวหางปีศาจ” ซึ่งเป็นดาวหางที่มีวงโคจรยาวนาน 71 ปี

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ องค์การนาซา (NASA) ระบุว่า “ดาวหาง 12P/Pons-Brooks” ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 18 ไมล์ มีการสังเกตการณ์เห็นมาแล้วหลายครั้งตลอดระยะเวลาหลายร้อยปี และมีคาบการโคจรใกล้เคียงกับ "ดาวหางฮัลเลย์"  กำลังเร่งเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดในวงโคจรยาว 71 ปี โดยวงโคจรจะพามันออกไปไกลถึงวงโคจรของดาวเนปจูนและใกล้กับวงโคจรของดาวศุกร์ แต่เนื่องจากวงโคจรเอียง มันจึงไม่มีโอกาสที่จะชนกับโลก

ดาวหาง 12P/Pons-Brooks จัดเป็นดาวหางหนึ่งในดาวหางคาบสั้นที่มีความสว่างสูง และมีคาบการโคจรใกล้เคียงกับ "ดาวหางฮัลเลย์" ในช่วงชีวิตของมนุษย์ จะมีโอกาสเพียง 1 ครั้ง ที่จะสามารถสังเกตการณ์ดาวหางดวงนี้ได้

การค้นพบ ดาวหาง 12P/Pons-Brooks หรือ ดาวหางปีศาจ

จากข้อมูลของ Space.com ฌอง-หลุยส์ ปองส์ นักดาราศาสตร์ ซึ่งมีชีวิตอยู่ระหว่างปีค.ศ. 1761-1831 ค้นพบดาวหาง 37 ดวง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากกล้องโทรทรรศน์และเลนส์ที่เขาออกแบบ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2355 ปองส์ได้เห็นสิ่งที่เขาอธิบายว่าเป็น "วัตถุไม่มีรูปร่างและไม่มีหางปรากฏให้เห็น" แม้ว่าในเดือนหน้าวัตถุจะสว่างขึ้นมากพอที่จะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่มันก็ยังสลัวอยู่ จากนั้นในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน วัตถุนี้ก็กลายเป็นดาวหางที่สว่างที่สุดที่สังเกตได้และดูเหมือนว่าจะมีหางที่แยกออกจากกัน

วิลเลี่ยม อาร์ บรู๊คส์ ผู้สังเกตการณ์ดาวหางชาวอเมริกัน ซึ่งมีชีวิตอยู่ระหว่างปีค.ศ. 1844-1921 ได้สังเกตเห็นดาวหางดวงนี้โดยบังเอิญ เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2426  ทำให้ทั้งคู่เห็นดาวหางดวงเดียวกัน แม้จะห่างกัน 71 ปี และในที่สุดก็ได้ชื่อว่า Pons-Brooks

รอชม “ดาวหางปีศาจ” เดือนมี.ค. เห็นด้วยตาเปล่าในรอบ 71 ปี ครั้งเดียวในชีวิต

วิธีดู ดาวหางปีศาจ ต้องหันไปทางไหน

NASA กล่าวว่า ผู้ที่ต้องการดูดาวหางดวงนี้ควรจะสามารถพบมันได้ในบริเวณทิศตะวันตก-ตะวันตกเฉียงเหนือของท้องฟ้า ในเวลาพลบค่ำใกล้กลุ่มดาวราศีมีน โดยสามารถสังเกตการณ์ได้ในช่วงหัวค่ำหลังดวงอาทิตย์ตก ทั้งนี้ ในช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์กำลังตกลับขอบฟ้า ดาวหางจะมีมุมเงยเพียงประมาณ 12 องศาเท่านั้น จึงมีเวลาปรากฏอยู่บนท้องฟ้าไม่นานก่อนที่จะตกลับขอบฟ้าตามดวงอาทิตย์ไป

ทำไมถึงเรียกว่า ดาวหางปีศาจ

และการที่ดาวหางมีมุมต่ำเช่นนี้ก็อาจทำให้ยากต่อการสังเกตการณ์ เนื่องจากมลภาวะในชั้นบรรยากาศ จากนั้นดาวหางจะค่อย ๆ เปลี่ยนตำแหน่งเคลื่อนไปยังกลุ่มดาวแกะ (Aries) ในช่วงปลายเดือนมีนาคม และจะเคลื่อนไปสู่กลุ่มดาววัว (Taurus) ในช่วงปลายเดือนเมษายนซึ่งเป็นช่วงที่ดาวหางน่าจะมีความสว่างสูงที่สุด

ความบังเอิญอีกประการหนึ่งทำให้ดาวหางอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 25 องศาในช่วงสุริยุปราคาเต็มดวงในวันที่ 8 เมษายน แม้ว่าจะไม่ชัดเจนว่าดาวหางจะปรากฏความสว่างแค่ไหนในวันนั้น เมื่อดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์

รอชม “ดาวหางปีศาจ” เดือนมี.ค. เห็นด้วยตาเปล่าในรอบ 71 ปี ครั้งเดียวในชีวิต

ทั้งนี้ ชื่อดาวหางปีศาจ หรือ Devil Comet ไม่ใช่เพราะมันไปเกี่ยวพันกับเรื่องลี้ลับใดๆ แต่เป็นเพราะผลกระทบจากความร้อนจัดจากดวงอาทิตย์ ทำให้มันระเบิดอย่างต่อเนื่อง เปลือกน้ำแข็งหรือนิวเคลียสจึงเปิดออก พ่นแก๊สออกมาในลักษณะไม่สมดุล  เหมือนงอกเขา 2 ข้าง ระหว่างการระเบิด จึงเรียกว่า "ดาวหางปีศาจ"

ดาวหาง 12P/Pons-Brooks หรือ ดาวหางปีศาจ ดวงนี้โคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรีค่อนข้างมาก จุดที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดมีระยะห่างเพียง 116 ล้านกิโลเมตร ขณะที่จุดที่ไกลดวงอาทิตย์มากที่สุดมีระยะห่างถึง 4,965 ล้านกิโลเมตร ซึ่งโดยปกติแล้วช่วงที่ดาวหางจะมีความสว่างสูงสุด จะเป็นช่วงที่ดาวหางโคจรเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด เพราะนิวเคลียสของดาวหางจะได้รับพลังงานและรังสีจากดวงอาทิตย์มากขึ้น ทำให้เกิดกลุ่มฝุ่นและแก๊สฟุ้งกระจายออกมามาก

NASA กล่าวว่าการระเบิดของก๊าซและฝุ่นถูกปล่อยออกมาจากใต้พื้นผิวของดาวหาง ส่งผลให้วัตถุสว่างขึ้น เมื่อดาวหางเข้าใกล้โลกระหว่างเดือนมีนาคมถึงเมษายน การระเบิดของก๊าซอาจทำให้ดาวหางสว่างขึ้นมากจนสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าภายใต้ท้องฟ้าที่มืดมิด โดยเฉพาะในช่วงปลายเดือนมีนาคม

ในภาพที่โพสต์ลงในหน้ารูปภาพดาราศาสตร์ของ NASA ในแต่ละวัน ดาวหางพอนส์-บรูคส์ดูเหมือนจะมีหางสีฟ้าอ่อน โคม่าด้านนอกสีเขียว และมีก๊าซเรืองแสงสีแดงเป็นเกลียวล้อมรอบ

ที่มา

related