SHORT CUT
พาวเวอร์แบงก์ระเบิด อันตรายที่ใกล้ตัว เปิดสาเหตุการระเบิดพร้อมมีวิธีการแก้ปัญหาหลักการเลือกซื้อและใช้งานพาวเวอร์แบงก์ พร้อมวิธีพกขึ้นเครื่องแบบไม่ผิดกฎหมาย ดูเลย
เชื่อว่าหลายคนคงเคยเห็นข่าวพาวเวอร์แบงก์ระเบิดกันมาบ้าง ซึ่งเวลาก่อนที่มันจะระเบิดคุณไม่สามารถรู้ได้เลยว่ามันจะระเบิดตอนไหนถ้าโชคดีหน่อยหากมันอยู่ไกลตัวคุณเวลาระเบิดแต่ถ้าอยู่ในกระเป๋ากางเกงคุณก็อาจทำให้บาดเจ็บสาหัสได้ วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จัก พาวเวอร์แบงก์ และสาเหตุที่ทำให้มันระเบิดว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร อย่างกรณีของวันนี้ (24 ก.พ. 67) ที่พาวเวอร์แบงก์เกิดระเบิด ไฟลุกบนเครื่องบิน ขณะกำลังเดินทางจากดอนเมืองไปจังหวัดนครศรีธรรมราช จนวุ่นวายกันทั้งลำโชคดีลูกเรือที่นั่งบริเวณใกล้จุดที่พาวเวอร์แบงก์ระเบิดสังเกตุเห็นทันและใช้เวลาเพียง 2 นาทีดับไฟจนทำให้ทุกคนปลอดภัย
Power Bank คืออุปกรณ์ที่ใช้เพื่อเก็บพลังงานไฟฟ้าหรืออุปกรชาร์จแบตเตอร์รี่แบบพกพา ซึ่งมันมีหน้าที่ ไปชาร์จอุปกรณ์ต่างๆ เช่น สมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต, ลำโพงพกพา หรืออุปกรณ์อื่น ซึ่งสะดวกเวลาคุณออกไปเที่ยวหรือไปสถานที่ ที่ไม่มีปลั๊กให้เสียบชาร์จ แต่ด้วยความสะดวกนี้ก็มีข้อควรที่ต้องระวังเพราะพาวเวอร์แบงก์ก็มีอายุการใช้งานของมัน หรือหากมันชำรุดอยู่และคุณนำไปใช้โดยที่ไม่รู้ก็อาจทำให้มันระเบิดได้
แบตเตอรี่สำรองขนาด 20,000 mAh หรือน้อยกว่า สามารถนำขึ้นเครื่องได้ไม่เกิน 20 ชิ้นต่อคน
แบตเตอรี่สำรองขนาด 20,000-32,000 mAh สามารถนำขึ้นเครื่องได้ไม่เกิน 2 ชิ้นต่อคน
แบตเตอรี่สำรองขนาดมากกว่า 32,000 mAh ไม่สามารถนำขึ้นเครื่องได้ในทุกกรณี
ทั้งนี้เหตุผลที่ห้ามนำแบตเตอรี่สำรองโหลดลงใต้เครื่องเพราะในช่วงเวลาเดินทาง แบตเตอรรี่สำรองที่ทำจากจากลิเธียมไอออน อาจเกิดความร้อนซะสมและทำให้ประกายไฟหรือระเบิดได้ และหากเกิดเหตุใต่ท้องอาจทำให้ระงับเพลิงไม่ทัน แต่ถ้าอยู่บนเครื่อง ผู้โดยสารอาจสังเกตุเห็นก่อน
โดย ผศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยโพสต์อธิบายถึงกรณีพาวเวอร์แบงก์ระเบิด ผ่านเพจเฟซบุ๊ก “อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์” โดยระบุว่า
สาเหตุที่ พาวเวอร์แบงก์ หรือ พวกแบตเตอรีสำรอง เกิดระเบิดลุกไหม้ไฟได้ ไม่เหมือนกับพวกถ่านไฟฉาย ถ่านอัลคาไลน์ที่คุ้นเคยกันมานานนั้น ก็เพราะมันมักจะเป็นแบตเตอรี่พวกลิเธียมไอออน (lithuim ion) ที่มีน้ำหนักเบา และมีความหนาแน่นของความจุไฟฟ้าสูง แต่ก็ต้องระวังอันตรายอันอาจเกิดขึ้นได้ ถ้าลิเธียมสัมผัสกับอากาศที่มีก๊าซออกซิเจน และทําให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน เกิดความร้อนสูง และเกิดการระเบิดรุนแรงได้
โดยปรกติแบตเตอรี่แบบลิเธียมไออน จึงต้องมีเปลือกแบตเตอรี่และวัสดุห่อหุ้มเซลไฟฟ้าด้านใน ไม่ให้โมเลกุลของก๊าซออกซิเจนสัมผัสกับอะตอมของลิเธียม
แต่ถ้าแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนนั้น มีการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน ทั้งในส่วนของวัสดุที่ใช้ห่อหุ้ม และในส่วนของวงจรไฟฟ้าสำหรับการจ่ายไฟและการชาร์จไฟ รวมไปถึงการเสื่อมประสิทธิภาพตามการเวลา หรือถูกกระแทกจนเกิดความเสียหาย หรือจัดเก็บในที่ๆไม่เหมาะสม เช่น มีความร้อนสูง ก็อาจจะนำมาสู่อุบัติเหตุ มีไฟฟ้าลัดวงจรในแบตเตอรี่ เกิดอุณหภูมิที่สูงขึ้น เกิดความเสียหายกับเปลือกหุ้มเซลแบตเตอรี่จนอากาศเข้าไปข้างในและเจอกับโลหะลิเธียม สุดท้าย ก็อาจระเบิดขึ้นได้
อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์พาวเวอร์แบงก์ระเบิด โดยที่ไม่ได้มีการเสียบชาร์จอยู่ ถึงจะมีความเป็นไปได้ แต่มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก แค่ประมาณ 1 ในล้านเท่านั้น และพาวเวอร์แบงก์ก็เป็นหนึ่งในสินค้าที่มีการบังคับ ให้ทุกชิ้น ทุกยี่ห้อ ที่จะวางจำหน่ายในประเทศไทย ต้องผ่านมาตรฐาน ด้านความปลอดภัย มอก. 2879-2560 และต้องได้รับอนุญาตในการผลิต-นำเข้า โดยจะต้องมีตรา มอก. แปะอยู่กับพาวเวอร์แบงค์ทุกลูก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง