svasdssvasds

เปิดสถิติภัยคุกคามทางไซเบอร์ ประจำปี 2566 หน่วยงานด้านการศึกษาอ่วมสุด

เปิดสถิติภัยคุกคามทางไซเบอร์ ประจำปี 2566 หน่วยงานด้านการศึกษาอ่วมสุด

เปิดสถิติภัยคุกคามทางไซเบอร์ ประจำปี 2566 อ้างอิงจากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ สกมช. พบหน่วยงานด้านการศึกษา อ่วมสุดโดนเกือบทุกเดือน ขณะที่รูปแบบภัยคุกคามอันดับ 1 คือ พนันออนไลน์

ปัจจุบันภัยคุกคามทางไซเบอร์เป็นเรื่องที่เกิดและพบบ่อยครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการรายงานจากสื่อต่างๆ การโจมตีทางไซเบอร์เหล่านี้ส่วนใหญ่ส่งผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงการโจมตีทางไซเบอร์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ซึ่งเก็บข้อมูลส่วนบุคคล หรือแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ ซึ่งที่ผ่านมาภัยคุกคามทางไซเบอร์สร้างความเสียหายทั้งต่อเศรษฐกิจระดับประเทศ ธุรกิจเอกชน รวมถึงประชาชนทั่วไปมากยิ่งขึ้นทุกที

ล่าสุดเว็บไซต์ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ สกมช. ได้เปิดสถิติ ภัยคุกคามทางไซเบอร์ ประจำปี 2566 ตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ซึ่งพบว่าหน่วยงานที่ถูกโจมตีมากสุด เป็นหน่วยงานด้านการศึกษา ซึ่งตลอดทั้งปีโดนไป 632 ครั้ง ขณะที่อันดับที่ 2 ยังคงเป็นหน่วยงานรัฐอื่นๆ ที่โดนโจมตีไป 145 ครั้ง ขณะที่อันดับที่ 3 คือผู้ประกอบการพาณิชย์ที่เป็นบริษัทเอกชน สัญชาติไทย โดนโจมตีสูงสุด 148 ครั้ง

เปิดสถิติภัยคุกคามทางไซเบอร์ ประจำปี 2566 หน่วยงานด้านการศึกษาอ่วมสุด

ทั้งนี้สถิติรูปแบบภัยคุกคามที่พบบ่อยที่สุดในปี 2566 อันดับ 1 เป็นเว็บพนันออนไลน์ 515 ครั้ง อันดับ 2 เว็บไซต์ที่ถูกแฮ็ก 336 ครั้ง อันดับ 3 เว็บไซต์ปลอม  301 ครั้ง

เปิดสถิติภัยคุกคามทางไซเบอร์ ประจำปี 2566 หน่วยงานด้านการศึกษาอ่วมสุด

แนวทางการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์สำหรับหน่วยงาน

  • ตรวจสอบและยืนยันสิทธิการเข้าระบบที่สำคัญของบัญชีผู้ใช้ให้สอดคล้องกับความจำเป็นในการ เข้าถึงระบบและข้อมูล
  • เพิ่มมาตรการป้องกันเว็บไซต์สำคัญด้วยระบบป้องกันการโจมตีของ ไวรัส Web Application Firewall หรือ DDos Protection
  • แจ้งเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานให้เพิ่มความระมัดระวังในการใช้อินเตอร์เน็ต โดยหลีกเลี่ยงความ เหมาะสม ป้องกัน ข้อความจาก Social Media
  • หากพบพิรุธว่าระบบถูกโจมตี เช่น ไม่สามารถเข้าใช้งานระบบ/เว็บไซต์ได้หรือมีความล่าช้าปกติ ควรตรวจสอบ Log การ login ย้อนหลังทุกๆ เดือน
  • ตั้งค่าระบบงานที่สำคัญให้บันทึกเหตุการณ์ต่างๆตามที่กฎหมายกำหนดไว้

แนวทางการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้กับบุคคลสำหรับบุคคล

  • ระมัดระวังในการใช้อินเทอร์เน็ต โดยหลีกเลี่ยงการเข้าไปยังเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม ไม่เปิดไฟล์ที่ไม่ มีการตรวจสอบแน่ชัดหรือเปิดไฟล์จาก บุคคลที่ไม่รู้จัก และระมัดระวังการเปิดไฟล์ผ่าน Social Media ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงพวกมัลแวร์
  • ไม่ใช้รหัสผ่านบน โลก cyber เป็นรหัสชุดเดียวกันทุกระบบ
  • ติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัย และพิจารณาข้อมูลก่อนการแชร์ข้อมูลต่อ เพื่อป้องกันตนเองเป็นต้นตอ ต่อการส่งแพร่กระจายไวรัส

ในการแก้ไขหรือป้องกันทางการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้กับบุคคลและหน่วยงาน ผู้ใช้งานทุกคนควรมีความระมัดระวังในการใช้งานระบบ ไซเบอร์ เพื่อให้ทุกคนมีความตระหนักรู้ในเรื่องของความมั่นคง ปลอดภัยและควรมีไหวพริบในขณะที่กำลังเจอกับปัญหา ถือเป็นการรู้จักป้องกันการก่อให้เกิดปัญหาทางความมั่นคงทางไซเบอร์ เพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดที่จะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา รวมถึงผู้บริหารต้องมีส่วน ร่วมในการรับทราบและให้แนวทางในการแก้ปัญหาที่ให้ถูกต้อง เพื่อให้สร้างความมั่นคงให้ทางไซเบอร์และให้ผู้ใช้ จำเป็นต้องมีความรู้และความเข้าใจในปัญหาจากการคุกคามว่าเกิดขึ้นได้อย่างไรต้นตอเกิดจากอะไร เพราะไม่ว่าจะ มีระบบป้องกันที่ดีขนาดไหนหากเกิดช่องโหว่ในระบบก็สามารถถูกแฮกเกอร์เจาะเข้าระบบได้เช่นกัน

ข้อมูลจาก : ส่วนความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ฝ่ายวิศวกรรมและปฏิบัติการ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ , สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related