svasdssvasds

ยานสำรวจดวงจันทร์ของญี่ปุ่น ยานสลิม ภารกิจ "มูนสไนเปอร์" ฟื้นคืนชีพแล้ว

ยานสำรวจดวงจันทร์ของญี่ปุ่น ยานสลิม ภารกิจ "มูนสไนเปอร์" ฟื้นคืนชีพแล้ว

องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น JAXA เผย ยานสำรวจดวงจันทร์ “สลิม” ในภารกิจ "มูนสไนเปอร์" ที่ชัตดาวน์ปก่อนหน้านี้ สามารถกลับมาทำงานได้แล้ว หลังได้รับพลังงานแสงอาทิตย์ ชาร์จพลังแล้ว

จากกรณีเมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2567 ที่ผ่านมา ยานลงจอดอัจฉริยะเพื่อการสำรวจดวงจันทร์ หรือ “สลิม” (Smart Lander for Investigating Moon – Slim) ขององค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (JAXA) ได้แลนดิ้งลงจอดบนดวงจันทร์ได้สำเร็จ ทำให้ญี่ปุ่นเป็นชาติที่ 5 ของโลกที่สามารถส่งยานไปลงจอดบนดวงจันทร์ได้ ต่อจาก สหรัฐฯ , จีน , อินเดีย และ รัสเซีย

แต่หลังจากนั้น ยานสลิมกลับเกิดปัญหาโซลาร์เซลล์ของยานไม่สามารถผลิตพลังงานได้ ทำให้ต้องใช้พลังงานจากแบตเตอรี่แทน จนในวันที่ 22 ม.ค. 2567 ระดับของแบตฯ ก็เหลือ 12% ทำให้ยานชัตดาวน์ตัวเองและตัดขาดการสื่อสารตามระบบที่ตั้งไว้

ที่ผ่านมา JAXA มีความหวังว่า ยานสลิมจะสามารถกลับมาทำงานได้อีกครั้ง เมื่อองศาของดวงอาทิตย์ปรับเปลี่ยนจากการโคจรของดวงจันทร์ ทำให้แผงโซลาร์เซลล์จะสามารถรับแสงอาทิตย์ได้

ล่าสุดวันที่ 29 ม.ค. 67 JAXA รายงานข่าวดีว่า พวกเขาประสบความสำเร็จในการเชื่อมต่อกับยานได้อีกครั้ง โดยยานสลิมกลับมาสื่อสารกับภาคพื้นดินบนโลกได้แล้ว และเริ่มทำงาน ในภารกิจ "มูนสไนเปอร์"  ตามปกติ

การฟื้นคืนชีพของยานสำรวจสลิมจึงหมายความว่า ภารกิจการสังเกตการณ์ทางวิทยาศาสตร์บนพื้นผิวดวงจันทร์ของญี่ปุ่นได้เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการอีกครั้งแล้ว

ยานสำรวจดวงจันทร์ของญี่ปุ่น ยานสลิม ภารกิจ "มูนสไนเปอร์" ฟื้นคืนชีพแล้ว Credit ภาพ REUTERS
 

นอกจากนี้ JAXA ยังแชร์รูปถ่ายของหินที่มีรูปทรงดูคล้ายสุนัขพุดเดิลทอย บนผิวดวงจันทร์ที่ถูกส่งมาจากยาน SLIM ให้ชมบนแพลตฟอร์ม X หรือทวิตเตอร์เดิมด้วย โดย JAXA ระบุว่า ยานสำรวจดวงจันทร์จะทำการวิเคราะห์องค์ประกอบของก้อนหินเพื่อไขปริศนาของการกำเนิดของดวงจันทร์ต่อไป 

นี่ไม่ใช่ครั้งแรก ที่ยานอวกาศ ซึ่งดับ กลางภารกิจ เพราะ ในช่วงกลางปี 2023  ยานลงจอดวิกรม และโรเวอร์ปรัชญาณ ขององค์การอวกาศอินเดีย หรือ ISRO นั้น ได้เข้าสู่โหมดจำศีล  นับตั้งแต่ที่แสงอาทิตย์ได้ลับขอบฟ้าบริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์ไป เพื่อรักษาพลังงานในแบตเตอรี่ให้ได้มากที่สุด โดยในช่วงเวลานั้น อุณหภูมิที่หนาวเหน็บกว่า -253 องศาเซลเซียส ก็พรากชีวิตของยานอวกาศทั้งสองไป 

ที่มา reuters

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related