svasdssvasds

จีนพัฒนา AI ตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มต้น ช่วยรักษาได้ทันก่อนลุกลาม

จีนพัฒนา AI ตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มต้น ช่วยรักษาได้ทันก่อนลุกลาม

มหาวิทยาลัยในจีน พัฒนาเครื่องมือตรวจหามะเร็งระยะเริ่มต้น โดยใช้ "ปัญญาประดิษฐ์" ช่วยเอ็กซ์เรย์แบบละเอียดและเพื่อระบุลักษณะของเนื้อร้าย

สถาบันต๋าโม๋ (DAMO Academy) สถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของอาลีบาบา พัฒนาโมเดลปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่สามารถช่วยตรวจหามะเร็งตับอ่อนระยะแรกเริ่มโดยใช้ภาพเอ็กซ์เรย์ที่มีความแม่นยำสูง

ทั้งนี้ มะเร็งตับอ่อนคือเนื้องอกที่เป็นเนื้อร้ายชนิดรุนแรง หากตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นก็สามารถรักษาให้หายได้

โมเดลแพนดา (PANDA) ซึ่งเป็นดีปเลิร์นนิง (deep learning) ประเภทหนึ่งของปัญญาประดิษฐ์ ที่พัฒนาโดยสถาบันฯ สามารถขยายและระบุลักษณะทางพยาธิวิทยาแบบละเอียดในภาพเอ็กซ์เรย์ธรรมดาที่ตรวจพบได้ยากด้วยตาเปล่า

สำหรับโมเดลแพนดานั้น ถูกฝึกโดยใช้ชุดข้อมูลผู้ป่วย 3,208 ราย ซึ่งผลการศึกษาที่เผยแพร่ในวารสาร Nature Medicine ระบุว่าเครื่องมือปัญญาประดิษฐ์ดังกล่าวมีความไวร้อยละ 94.9 และความจำเพาะเต็มร้อยละ 100 ในกลุ่มทดสอบครอบคลุมผู้ป่วย 291 รายจากสถาบันโรคตับอ่อนเซี่ยงไฮ้

ภาพโฮโลแกรม 3 มิติ ที่งานประชุมปัญญาประดิษฐ์โลกประจำปี 2021 ในเทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ทางตะวันออกของจีน วันที่ 8 ก.ค. 2021

ต่อมาโมเดลนี้ ก็ถูกนำไปตรวจสอบในกลุ่มสถาบันวิจัยภายนอก ครอบคลุมผู้ป่วย 5,337 ราย จากจีนและสาธารณรัฐเช็ก โดยใช้การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ (CT scans) ในช่องท้อง

ซึ่งพบว่าโมเดลนี้มีความไวและความจำเพาะอยู่ที่ร้อยละ 93.3 และร้อยละ 98.8 ตามลำดับ ถือว่ามีประสิทธิภาพเฉลี่ยเหนือกว่าการตรวจเช็กด้วยรังสีแพทย์

ทางด้านของความไว (Sensitivity) ที่ใช้ในการทดสอบนั้น หมายถึงความสามารถในการระบุบุคคลที่มีผลของโรคเป็นบวก ขณะที่ความจำเพาะ (specificity) คือความสามารถในการระบุบุคคลที่ไม่มีผลของโรคเป็นลบ

อย่างไรก็ตาม โมเดลแพนดา เป็นโมเดลปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ถูกนำมาใช้ในทางคลินิคมากกว่า 500,000 ครั้ง โดยพบผลบวกปลอมเพียง 1 ครั้ง ในทุกๆ 1,000 ครั้ง ซึ่งคณะนักวิจัยระบุว่า แพนดาอาจกลายเป็นเครื่องมือใหม่สำหรับการตรวจคัดกรองมะเร็งตับอ่อนในวงกว้าง

 

ภาพ : ซินหัว

อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม

related