SHORT CUT
อัปเดตการเปลี่ยนแปลงของ Facebook แพลตฟอร์มที่เป็นที่นิยมในโลกออนไลน์ ในช่วงครึ่งปีหลัง ของปี 2024 มีอะไรเปลี่ยนแปลงแบบเห็นได้ชัดๆ บ้าง สายคอนเทนต์ , สาย Digital Marketing, สาย Martech ต้องไม่พลาดเลย เพราะนี่คือเทรนด์แห่งการเปลี่ยนแปลง
Facebook หรือ Meta แพลตฟอร์มยอดนิยมระดับอมตะนิรันดร์กาล ตลับทองของโลกออนไลน์ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอๆ ให้เข้ากับยุคสมัย และ ตอบโจทย์ฟังก์ชั่นต่างๆ และในช่วงที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงหลายต่อหลายสิ่ง ทั้งการปรับฟีเจอร์และอัลกอริทึ่มมีให้เห็นแทบทุกวัน โดยเฉพาะการพัฒนา Facebook Ads เพื่อตอบโจทย์การเติบโตของ E-Commerce ในตลาดยุคปัจจุบัน โดยนำเทคโนโลยี AI และ Generative AI เข้ามาพัฒนาประสิทธิภาพของฟีเจอร์ต่างๆ มากขึ้น
แล้ว 5 ประเด็นสำคัญๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงนั้น มีอะไรบ้าง Content shifu ได้ลิสต์ไว้ได้อย่างน่าสนใจและน่าติดตาม
Meta มีแนวทางติดป้ายกำกับ “AI Info” บนภาพที่สร้างด้วย AI บน Facebook, Instagram และ Threads ในช่วงที่ผ่านมา เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดในยุคที่ AI กำลังจะเป็นเทรนด์หลักสำคัญของโลก โดยป้ายกำกับนี้จะใช้กับทุกภาพที่สร้างด้วย AI จากทุกเครื่องมือ ไม่ว่าจะเป็น Google, OpenAI, Microsoft, Adobe, Midjourney และ Shutterstock
ในทางกลับกัน Meta ยังไม่มีมาตรฐานที่ชัดเจนในการตรวจจับ เสียงและวิดีโอที่มาจาก AI ผู้ใช้ที่อัปโหลดจึงต้องประกาศข้อมูลเอง โดยในส่วนนี้ทาง Meta กำลังเร่งพัฒนาให้สมกับที่เป็นผู้บุกเบิกด้านเทคโนโลยี AI
แต่ตลอดครึ่งปีแรก ของปี 2024 ก็มีบางโพสต์ที่เป็นคนจริงๆ ถ่ายแต่ถูกติดป้าย “Made with AI” จากทาง Meta จนต้องออกมาอธิบายให้ชัดเจนอีกที จนกว่าฟีเจอร์นี้จะเสถียร และมั่นคงคงต้องใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่ง
ฟีเจอร์ใหม่ที่ Meta เปิดให้ใช้สำหรับบางคน โดยฟีเจอร์ “Link History” จะเก็บประวัติการเข้าเว็บเบราว์เซอร์ หรือ กดลิงก์ต่างๆ ที่เคยเปิดดูบน Facebook (In-app browser) โดยจะเก็บประวัติย้อนหลังเป็นเวลา 30 วัน โดยเราสามารถเลือกได้ว่าจะ เปิด-ปิด ฟีเจอร์นี้ตรง “Allow Link History”
ประโยชน์ของ ฟีเจอร์ใหม่ Link History นั่นก็คือ เพื่อให้ผู้ใช้งาน Facebook ดูย้อนหลังได้ว่าเราเคยไปกดคลิกอะไรไหม เหมาะสำหรับคนที่ใช้งาน Facebook หรือ Meta แล้วชอบบันทึกความรู้หรือแหล่งข่าวดีๆ โดยลิงก์จะถูกเก็บไว้ 30 วัน และยังสามารถลบลิงก์ออกจากประวัติได้ตามต้องการ อีกทั้งตัวฟีเจอร์นี้ยังมีขึ้นเพื่อให้ Meta เก็บข้อมูล Insight ของผู้ใช้งานเพื่อนำไปพัฒนาอัลกอริทึ่มให้แม่นยำมากขึ้นด้วย
ฟีเจอร์นี้ยังไม่ได้เปิดใช้สำหรับทุกคน และยังมีแค่สำหรับเวอร์ชั่นโทรศัพท์มือถือเท่านั้น
ก่อนอื่นเลยต้องอธิบายก่อนว่า Flexible Ads คือ รูปแบบโฆษณาของ Meta ที่จะ “ปรับแต่งการแสดงผลโฆษณาของคุณโดยอัตโนมัติ” ตามตำแหน่งที่จะแสดงโฆษณาและความสนใจของ Target Audience ที่เราตั้ง เพื่อทำให้การแสดงผลดึงดูดผู้เห็นโฆษณามากที่สุด โดยเราสามารถนำไปปรับใช้ร่วมกับทั้ง Image, Video และ Carousel Ads
Facebook หรือ Meta จะปิดฟีเจอร์ Dynamic Creative ที่มุ่งไปที่รูปแบบโฆษณาที่หลากหลาย และหันมาโฟกัสที่ Flexible Ads ซึ่งเน้นการแสดงผลให้ตรงกับความต้องการของ Target Audience แทน
Flexible Ads เป็นการใช้ระบบอัตโนมัติที่ขับเคลื่อน AI ในการประมวลข้อมูลและคัดเลือกโฆษณาที่จะส่งผลลัพธ์ที่ดีที่สุดให้กับแบรนด์ตาม Target Audience และแพลตฟอร์มที่แสดงผล ต่างจาก Dynamic Ads ที่จะ Mix & Match โฆษณาหลายๆ รูปแบบเข้าด้วยกัน เช่น ภาพนิ่งคู่กับวิดีโอ
1.ลดจำนวนโฆษณาที่ต้องสร้าง โดยสามารถปรับใช้สื่อโฆษณาหลายชิ้นในโฆษณาเดียว
2. จัดการโฆษณาได้ง่ายขึ้น
3. ยิงโฆษณาได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะส่งให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
1.Flexible Ads ใช้ได้กับแคมเปญที่มีวัตถุประสงค์เป็น ‘Sales' หรือ ‘App promotion' เท่านั้น หากคุณใช้วัตถุประสงค์การขาย คุณจะต้องปิดตัวเลือก ‘Use a catalogue' ตอนสร้าง Campaign
2. หลังจากตั้ง Audience ที่ต้องการแล้ว ไปที่หน้าสร้างโฆษณาและเลือก Create Ads จากนั้นเลื่อนลงไปที่ส่วน Ad setup และเลือก Flexible
3. ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มรูปภาพหรือวิดีโอได้สูงสุด 10 รูป พร้อมตั้งค่า Primary text, Headline และ Description ได้สูงสุดอย่างละ 5 รูป
4. ถ้าอยากจัดกลุ่มโฆษณาเอง สามารถสร้างกลุ่มได้สูงสุด 3 กลุ่มต่อโฆษณา โดยแต่ละกลุ่มสามารถใช้รูปภาพ วิดีโอ ข้อความ และ Destinations ที่แตกต่างกัน โดนเราสามารถกำหนดขอบเขตว่าสื่อโฆษณาใดบ้างที่ควรแสดงร่วมกันตัวไหน โดยไม่จำเป็นต้องตั้งค่าแยกชิ้นกัน
Advantage+ Tools คือ เครื่องมือช่วยออกแบบโฆษณาด้วย AI ที่ทาง Meta เปิดตัวเมื่อต้นปี 2024 ที่ผ่านมา ช่วยให้นักการตลาดทำงานได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาทำภาพกราฟิกเอง แค่ภาพกาแฟง่ายๆ ก็สามารถใช้ AI สร้างภาพพื้นหลังและข้อความโปรโมตบนภาพได้
ในอนาคต ถ้า Meta พัฒนา Llama 3 Large language Model (LLM) หรือ โมเดลประมวลผลด้วยภาษาขนาดใหญ่ของตัวเองให้เก่งขึ้น ก็ยิ่งทำให้ฟีเจอร์นี้ใช้ภาษาได้อย่างเป็นธรรมชติและแม่นยำมากขึ้น
ต่างกันที่ฟังค์ชั่น Advantage มุ่งเน้นไปที่การขยายกลุ่มเป้าหมายและการเพิ่มประสิทธิภาพงบประมาณ ครอบคลุมฟีเจอร์ต่างๆ เช่น Advantage detailed targeting, Advantage lookalike, Advantage custom audience และ Advantage campaign budget
ในทางกลับกัน Advantage+ ที่เพิ่งอัปเกรดให้ความสำคัญกับการทำให้การสร้างแคมเปญและประสิทธิภาพงานสร้างสรรค์ ซึ่งครอบคลุม Advantage+ shopping, Advantage+ app campaigns, Advantage+ placements, Advantage+ audience, Advantage+ creative, Advantage+ creative for catalog ads, Advantage+ catalog ads และ Advantage+ international catalog ads
Learning Phrase คือ ระยะการเรียนรู้เมื่อสร้างชุดโฆษณาใหม่หรือทำการแก้ไขที่สำคัญกับชุดโฆษณาที่มีอยู่ ใน Facebook โดยช่วง Learning Phrase จะทดสอบองค์ประกอบสร้างสรรค์ต่างๆ การกำหนดเป้าหมายผู้ชม ช่วงเวลา และการผสมผสานการวางตำแหน่งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโฆษณา
แต่ในปีนี้ Facebook ได้ลดจำนวน event ที่ใช้ในการวิเคราะห์ช่วง Learning Phrase จาก 50 เหลือเพียง 10 event นี่คือความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด
สำหรับแคมเปญที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ Sales และ App Promotion การปรับเปลี่ยนนี้ทำให้ประสิทธิภาพของโฆษณามีเสถียรภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม Meta ยังไม่ได้อัปเดตบริการนี้กับทุกบัญชีทั้งหมด และ แอป Ads Manager บนมือถือ ต้องติดตามดูกันต่อไป
ที่มา madgicx miramarketing madgicx jonloomer Content shifu
ข่าวที่เกี่ยวข้อง