AIS เดินหน้าหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์สู่ 437 โรงเรียนสังกัด กทม. หลังผลักดันหลักสูตรสู่กระทรวงศึกษาธิการกว่า 29,000 แห่งทั่วประเทศ เดินหน้าส่งต่อภาคประชาชนผ่าน สกมช. เพื่อยกระดับดัชนีสุขภาวะดิจิทัลของคนไทยให้สูงขึ้น
กรุงเทพมหานครฯ จับมือ AIS และภาคีเครือข่ายภาครัฐ ทั้งกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เดินหน้าผลักดันหลักสูตรการเรียนรู้ด้านทักษะดิจิทัล “หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์" เพื่อยกระดับการศึกษายุคดิจิทัลในการสร้างภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ ส่งต่อความรู้ให้แก่ครู บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนในโรงเรียสังกัด กทม. ทั้ง 437 แห่ง ที่มีทั้งบุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนรวมมากกว่า 250,000 คน
อย่างไรก็ตาม AIS มองว่าการผลักดันเรื่องความเข้าใจในการท่องโลกไซเบอร์จะเป็นประโยชน์สูงสุด ก็ต่อเมื่อผู้ที่เรียนรู้ผ่านหลักสูตรแล้ว นำไปปรับใช้งานด้วย เช่น
โดย AIS มุ่งหวังให้ผู้เรียนนำไปบอกต่อ ส่งต่อคนข้างๆ คนในชุมชน เพื่อให้ทุกคนอยู่บนโลกออนไลน์ได้อย่างปลอดภัย
อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม
นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า นโยบายด้านการศึกษา คือหนึ่งในภารกิจของกรุงเทพมหานคร ภายใต้นโยบายเรียนดีของผู้ว่าฯ กทม.ท่านชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ที่มีเป้าหมายสำคัญ คือ มุ่งพัฒนาการเรียนการสอนของโรงเรียนในสังกัด กทม.ให้มีความทันสมัยสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของโลกดิจิทัลและเทคโนโลยี
"ตอนนี้ กทม.กำลังจัดทำ Active Learning ให้แก่โรงเรียนเพื่อทำห้องแล็บสำหรับการเรียนรู้สื่อดิจิทัล ขณะนี้มี 1 แห่ง ตั้งเป้า 11 แห่ง ลดการจัดซื้อหนังสือเรียน เพิ่มสื่อทักษะออนไลน์ให้มากขึ้น เราจึงร่วมมือกับหลายพาร์ทเนอร์ เพื่อให้เด็กรุ่นใหม่ เข้าถึงคลังข้อมูลความรู้ที่กว้างขึ้น"
อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือกับ AIS รวมถึงกรมสุขภาพจิต และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในครั้งนี้ จะเป็นอีกก้าวสำคัญที่จะมาช่วยส่งเสริมนโยบายด้านการศึกษาของกรุงเทพมหานครให้ยกระดับไปอีกขั้น
ทั้งนี้ ทางโรงเรียนในสังกัด กทม. จะมีการนำหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ เข้าไปบูรณาการเป็นสื่อการเรียนการสอน ในวิชาวิทยาการคำนวณ สังคมและแนะแนว ให้แก่นักเรียนภายในโรงเรียนสังกัด กทม. ทั้งโรงเรียนระดับอนุบาลจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รวม 437 แห่ง รวมถึงประชาชนโดยรอบในชุมชนมากกว่า 250,000 คน ได้เข้าถึงองค์ความรู้ใหม่ๆ จนนำไปสู่การเสริมสร้างทักษะดิจิทัล
นางสายชล ทรัพย์มากอุดม รักษาการหัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และธุรกิจสัมพันธ์ AIS กล่าวว่า “จากผลการศึกษาล่าสุดของดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย หรือ Thailand Cyber Wellness Index พบว่า กลุ่มนักเรียนที่เราอาจจะเข้าใจว่าสามารถใช้งานสื่อดิจิทัลออนไลน์ได้อย่างเชี่ยวชาญในฐานะคนรุ่นใหม่
แต่ผลวิจัยกลับชี้ว่า เป็นอีกกลุ่มสำคัญที่ต้องเพิ่มทักษะความรู้ความเข้าใจให้สามารถใช้งานดิจิทัลได้อย่างถูกต้อง เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของภัยไซเบอร์
"เด็กๆ รุ่นใหม่ปรับตัวใช้เทคโนโลยีกันเร็วมาก แต่ผู้ใหญ่ก็ต้องรู้จักที่จะจัดการและปรับใช้เทคโนโลยีให้เหมาะกับเด็กแต่ละช่วงวัย ยิ่งเด็กๆ เบื่อการอ่านหนังสือแบบเล่ม เราในฐานะคนจัดการหลักสูตรก็ต้องปรับให้หลักสูตรน่าสนใจและน่าเรียนรู้มากขึ้น"
จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่วันนี้เราได้ทำงานร่วมกับ กรุงเทพมหานคร เพื่อขยายผลส่งต่อ หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ ไปยังสถานศึกษาในพื้นที่กรุงเทพมหานครฯ
ทั้งนี้ อุ่นใจไซเบอร์ ออกแบบมาเพื่อการศึกษาของผู้คนในการสร้างภูมิคุ้มกันในการอยู่บนโลกออนไลน์ และใช้งานได้อย่างเหมาะสมและไม่ถูกหลอกลวง รวมทั้งรับมือกับปัญหาไซเบอร์บูลลี่ได้อย่างเข้าใจและแข็งแรงทางจิตใจด้วย
ก่อนหน้านี้ AIS ได้เดินหน้านำหลักสูตรการเรียนรู้ดังกล่าว ส่งต่อไปยังบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ กว่า 29,000 แห่งทั่วประเทศ รวมทั้งขยายผลไปสู่ระดับมหาวิทยาลัย
ทั้งยังเดินหน้าส่งต่อไปยังภาคประชาชนผ่านหน่วยงานความมั่นคงอย่าง สกมช. ด้วย
ทั้งนี้ “หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์” นำเสนอเป็น 4 Professional Skill Module หรือ 4P4ป ที่ครอบคลุมทักษะดิจิทัล ดังนี้
ทั้งนี้ AIS ตั้งเป้าสร้างพลเมืองดิจิทัลพร้อมยกระดับดัชนีสุขภาวะดิจิทัล (Thailand Cyber Wellness Index) ของกลุ่มนักเรียนในพื้นที่กรุงเทพมหานครฯ ให้มีอยู่ในระดับที่รู้เท่าทัน มีทักษะดิจิทัล สามารถใช้งานสื่อโซเชียลและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และเหมาะสม ผ่านการนำหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสื่อการเรียนการสอน ในวิชาวิทยาการคำนวณ สังคมและแนะแนว หรือแม้แต่รูปแบบการเรียนการสอนที่สอดคล้องเหมาะกับแต่ละสถาบันการศึกษา โดยเริ่มตั้งแต่ภาคการศึกษา 2566 เป็นต้นไป