svasdssvasds

“Stablecoin” โอกาสพลิกโฉมไทย สู่..ฮับการเงินดิจิทัลโลก

“Stablecoin” โอกาสพลิกโฉมไทย สู่..ฮับการเงินดิจิทัลโลก

ทำความรู้จัก "Stablecoin" เหมาะนำมาใช้ในไทยแค่ไหน? และจะมีโอกาสพลิกโฉมไทย ผลักดันไทยสู่..ฮับการเงินดิจิทัลของโลกได้เพียงใด หลัง “ทักษิณ” ประกาศดันเต็มสูบ

SHORT CUT

  • Stablecoin คืออะไร มันคือ สกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) ที่ถูกออกแบบมาให้มีมูลค่าคงที่หรือผันผวนน้อยกว่าสกุลเงินดิจิทัลอื่นๆ เช่น Bitcoin และ Ethereum
  • วันนี้พามาทำความรู้จัก "Stablecoin" เหมาะนำมาใช้ในไทยแค่ไหน? และจะมีโอกาสพลิกโฉมไทยได้แค่ไหน
  • จับตาว่าจะผลักดันไทยสู่..ฮับการเงินดิจิทัลของโลกได้เพียงใด หลัง “ทักษิณ” ประกาศดันเต็มสูบ

ทำความรู้จัก "Stablecoin" เหมาะนำมาใช้ในไทยแค่ไหน? และจะมีโอกาสพลิกโฉมไทย ผลักดันไทยสู่..ฮับการเงินดิจิทัลของโลกได้เพียงใด หลัง “ทักษิณ” ประกาศดันเต็มสูบ

Stablecoin คืออะไร

Stablecoin คืออะไร เชื่อว่าหลายคนยังคงไม่รู้ แท้ที่จริงแล้วมัน คือ สกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) ที่ถูกออกแบบมาให้มีมูลค่าคงที่หรือผันผวนน้อยกว่าสกุลเงินดิจิทัลอื่นๆ เช่น Bitcoin และ Ethereum โดย Stablecoin มักอิงมูลค่ากับสินทรัพย์ที่มีความเสถียร เช่น เงินสกุลทั่วไป (Fiat Currency) เช่น ดอลลาร์สหรัฐ (USD), ยูโร (EUR), ทองคำ, คริปโตเคอร์เรนซีอื่น หรือกลไกทางเทคนิค เช่น อัลกอริธึม ด้วยคุณสมบัตินี้ ทำให้ Stablecoin เป็นเครื่องมือสำคัญในระบบการเงินดิจิทัลและเศรษฐกิจแบบกระจายอำนาจ (Decentralized Economy)

ทั้งนี้ในปัจจุบัน Stablecoin แบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก ประกอบด้วย

  • 1.Fiat-backed Stablecoin

มีมูลค่าผูกกับเงินสกุลทั่วไป เช่น USDT (Tether), USDC (USD Coin)ทรัพย์สินสำรองถูกเก็บไว้ในรูปของเงินสดหรือสินทรัพย์เทียบเท่าเงินสด

  • 2.Commodity-backed Stablecoin

มีมูลค่าผูกกับสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำหรือเงิน เช่น Paxos Gold (PAXG) เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการถือสินทรัพย์ที่จับต้องได้ในรูปแบบดิจิทัล

“Stablecoin” โอกาสพลิกโฉมไทย สู่..ฮับการเงินดิจิทัลโลก

  • 3.Crypto-backed Stablecoin

 มีมูลค่าผูกกับคริปโตเคอร์เรนซี เช่น DAI ที่ใช้ Ethereum เป็นหลักประกันมักมีการ “over-collateralization” (การค้ำประกันเกินมูลค่า) เพื่อรองรับความผันผวนของตลาดคริปโตฯ

  • 4.Algorithmic Stablecoin

ใช้อัลกอริธึมเพื่อปรับสมดุลอุปสงค์และอุปทาน เช่น UST (ก่อนล่มสลาย)ไม่มีสินทรัพย์สำรองจริง รองรับมูลค่าด้วยกลไกทางตลาด

พามาดูข้อดีและประโยชน์ของ Stablecoin โดย Stablecoin มีข้อดีหลายประการ โดยเฉพาะในบริบทของการเงินดิจิทัลและการใช้สกุลเงินคริปโตฯ

1.ความเสถียรของราคา: ลดความเสี่ยงจากความผันผวนที่พบในคริปโตเคอร์เรนซีทั่วไป

2.ตัวกลางการแลกเปลี่ยน: เหมาะสำหรับการซื้อขายและโอนเงินระหว่างประเทศ

3.ค่าธรรมเนียมต่ำ: ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรม

4.การใช้งานใน DeFi: สนับสนุนการกู้ยืมและการสร้างสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract)

5.การป้องกันความเสี่ยงด้านค่าเงิน: ใช้ในประเทศที่เผชิญปัญหาเงินเฟ้อหรือค่าเงินผันผวน

ต่อมามาดูข้อเสีย พร้อมความท้าทายของ Stablecoin

อย่างไรก็ตามแม้ว่า Stablecoin จะมีข้อดีมากมาย แต่ก็มีข้อเสียและความท้าทายที่สำคัญ 

1.ความเสี่ยงของทรัพย์สินสำรอง: หากไม่มีความโปร่งใส อาจเกิดปัญหาความเชื่อมั่น

2.กฎระเบียบที่เข้มงวด: การเติบโตของ Stablecoin อาจถูกควบคุมโดยหน่วยงานกำกับดูแล

3.การกระจุกตัวของอำนาจ: บางโครงการมีการรวมศูนย์ ซึ่งขัดกับแนวคิดของบล็อกเชน

4.การละเมิดข้อบังคับ: มีความเสี่ยงในการถูกใช้ในกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย

5.ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี: ระบบอาจถูกโจมตีทางไซเบอร์หรือเกิดข้อผิดพลาดใน Smart Contract

“Stablecoin” โอกาสพลิกโฉมไทย สู่..ฮับการเงินดิจิทัลโลก

สำหรับ Stablecoin ในระดับสากลได้รับความนิยมในหลายประเทศทั่วโลก เนื่องจากความสะดวกและความเสถียรในการใช้งาน โดยมีการใช้งานในบริบทที่แตกต่างกัน

เช่น สหรัฐอเมริกา โดยสหรัฐฯ เป็นผู้นำด้านการใช้ Stablecoin โดยมีเหรียญที่ได้รับความนิยม เช่น USDT (Tether), USDC (USD Coin) ใช้ในวงการ DeFi (Decentralized Finance) และการโอนเงินระหว่างประเทศ นอกจากนี้ มีการใช้ Stablecoin เป็นส่วนหนึ่งของการชำระเงินดิจิทัล เช่น การซื้อสินค้าและบริการ

ยุโรป  อย่าง เยอรมนี, สวิตเซอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร ใช้ Stablecoin ในการโอนเงินข้ามพรมแดนและการลงทุน ส่วนสวิตเซอร์แลนด์ มีการสนับสนุนการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัล รวมถึง Stablecoin ที่ผูกกับเงินฟรังก์สวิส

จีน โดยแม้จีนจะมีกฎระเบียบที่เข้มงวดต่อคริปโต แต่ Stablecoin เช่น USDT ยังถูกใช้อย่างกว้างขวางในตลาดการซื้อขายและการโอนเงินข้ามประเทศ รวมทั้งยังใช้เป็นทางเลือกแทนเงินหยวนสำหรับนักลงทุนบางกลุ่ม

ส่วน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่าง สิงคโปร์ เป็นประเทศแรกของโลกที่มีการออกกฎระเบียบกำกับดูแล Stablecoin อย่างชัดเจน เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้ Stablecoin เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนดิจิทัลที่น่าเชื่อถือ และเป็นสะพานเชื่อมระหว่างระบบเงินตราและสินทรัพย์ดิจิทัล ขณะที่ ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย ใช้ Stablecoin ในการโอนเงินระหว่างประเทศและการชำระเงิน โดยแพลตฟอร์มการเงินในภูมิภาค เช่น Binance และ Paxos ช่วยผลักดันการใช้งาน Stablecoin

“Stablecoin” โอกาสพลิกโฉมไทย สู่..ฮับการเงินดิจิทัลโลก

อย่างไรก็ตามการนำ Stablecoin มาใช้ในไทย อาจมองได้ว่า Stablecoin อาจเป็นเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานในประเทศไทยในบางบริบท ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นจะต้องพิจารณาทั้งประโยชน์และข้อจำกัดในการนำมาใช้ 

ประโยชน์ของ Stablecoin ในบริบทของไทย

1.ลดความผันผวนของค่าเงิน โดย Stablecoin ที่ผูกกับสกุลเงินที่มั่นคง เช่น USD หรือทองคำ สามารถช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนของสกุลเงินดิจิทัลอื่น เช่น Bitcoin หรือ Ethereum ทำให้เหมาะสมกับการใช้ในธุรกรรมประจำวันหรือการเก็บมูลค่า

2.การโอนเงินระหว่างประเทศที่มีต้นทุนต่ำ Stablecoin สามารถช่วยให้การโอนเงินข้ามประเทศรวดเร็วและค่าธรรมเนียมต่ำกว่าเมื่อเทียบกับระบบธนาคารดั้งเดิม ซึ่งมีประโยชน์ต่อกลุ่มแรงงานไทยในต่างประเทศที่ต้องส่งเงินกลับบ้าน

3.ส่งเสริมการใช้งานในเศรษฐกิจดิจิทัล Stablecoin อาจช่วยเร่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัลและลดการพึ่งพาเงินสด

4.ความโปร่งใสและตรวจสอบได้ การใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนช่วยเพิ่มความโปร่งใสในธุรกรรม ลดความเสี่ยงจากการทุจริต

ข้อจำกัดและความท้าทายของการใช้ Stablecoin ในไทย

1.ข้อกำหนดทางกฎหมาย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และหน่วยงานกำกับดูแลมีข้อกำหนดที่เข้มงวดเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล การนำ Stablecoin มาใช้ต้องสอดคล้องกับกฎหมายและไม่กระทบต่อเสถียรภาพทางการเงิน

2.ความเชื่อมั่นต่อผู้ใช้ ความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับ Stablecoin ยังมีจำกัด การส่งเสริมการรับรู้และการสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบมีความสำคัญ

3.ระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล แม้ว่าโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลในประเทศไทยจะพัฒนาไปมาก แต่ยังมีช่องว่าง เช่น ความไม่ทั่วถึงของอินเทอร์เน็ตในบางพื้นที่ ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการใช้งาน Stablecoin

4.ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี ความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์หรือการผิดพลาดของ Smart Contract ในบล็อกเชนเป็นปัจจัยที่ต้องพิจารณาพ

“Stablecoin” โอกาสพลิกโฉมไทย สู่..ฮับการเงินดิจิทัลโลก

วันนี้ #SPRiNG จะพามาดูความคืบหน้าในการผลักดัน Stablecoin ในไทย โดยล่าสุด นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ร่วมงาน MFC’s 50th AnniversaryThe World’s Next Opportunities and Beyond เปิดโอกาสลงทุนแห่งอนาคต“ และร่วมเสวนาในหัวข้อ “โอกาสและอนาคตของการลงทุน” ที่จัดโดยความร่วมมือระว่างเนชั่นกรุ๊ป ร่วมกับ บริษัทจัดการกองทุนแห่งแรกของประเทศไทย หรือ MFC

หนึ่งในประเด็นที่น่าสนใจ คือ นายทักษิณ โชว์วิสัยทัศน์ว่า พรรคเพื่อไทยมีเป้าหมายที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของบล็อกเชนและคริปโตเคอเรนซี่ โดยมองว่าประเทศไทยมีศักยภาพและความพร้อมในการดำเนินการเรื่องนี้ และยังมีแผนจัดตั้ง “แซนด์บ็อกซ์” ที่ภูเก็ตเพื่อใช้คริปโตเคอเรนซี่ และสเตเบิลคอยน์เป็นสกุลเงินแลกเปลี่ยน

“Stablecoin” โอกาสพลิกโฉมไทย สู่..ฮับการเงินดิจิทัลโลก

“ปัจจุบันเรากำลังทำดิจิทัลวอลเล็ต เพื่อปูทางไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล นำดิจิทัลไอดีให้ประชาชนใช้ และเราจะสร้างบล็อกเชนของประเทศ ตนคิดว่าสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นภายในปีนี้แน่นอน” นายทักษิณกล่าว พร้อมย้ำว่าโครงการสเตเบิลคอยน์ที่มีการรองรับจากพันธบัตรรัฐบาลจะแล้วเสร็จภายใน 3 เดือน”

นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งเวทีที่พูดเรื่อง Stablecoin ได้อย่างน่าสนใจ คือ เวทีพลิกโฉมอนาคตธุรกรรมดิจิทัลกับ SCBX Tech Horizon: EP14 The Future of Digital Transactions: Programmable Payments & Money ที่จัดโดย SCBX ซึ่งช่วงแรกของการเสวนามีวิทยากร 3 ท่าน คือ คุณภาณุวัฒน์ ฉายะบรรจงเลิศ Business Lead at SCB 10X, Rubie Wallet PM , คุณพนิต เวชศิลป์. ผู้บริหารฝ่ายเทคโนโลยี (Chief Technology Officer) และ คุณนิชฌาน ภิรมย์สวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่การพาณิชย์ มาร่วมพูดคุยหลากหลายประเด็น

อย่างเช่น จะเกิดอะไรขึ้นหากการเงินยุคใหม่เปลี่ยนผ่านสู่รูปแบบดิจิทัล Programmable Money ที่สามารถตั้งโปรแกรมได้ ทำให้ธุรกรรมทางการเงินมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ในรูปแบบดิจิทัลที่ตอบโจทย์เศรษฐกิจดิจิทัลยุคใหม่ และแต่เทคโนโลยีนี้จะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างไร? ส่วนStablecoin จะเข้ามามีบทบาทในตลาดทุนแบบไหน? พร้อมกันนี้ยังมีการฉาบภาพว่าประประเทศไทยจะก้าวสู่อนาคตของเงินที่ชาญฉลาดขึ้นได้อย่างไร?

“Stablecoin” โอกาสพลิกโฉมไทย สู่..ฮับการเงินดิจิทัลโลก

โดยในวงเสวนามีการพูดถึงการปลดล็อคมูลค่าทางเศรษฐกิจ” ด้วย Programmability ของสินทรัพย์ดิจิทัล จะเป็นอย่างไร ถ้าเงิน “คิด” ได้?

เชื่อว่าคำถามนี้เป็นคำถามที่ผมเคยถามคนหลายคน และถ้าไม่ใช่คนที่สนใจในด้านสินทรัพย์ดิจิทัลอยู่แล้ว แทบทุกคนมี reaction เดียวกันเลย คือ “ไม่เข้าใจว่าพยายามจะสื่ออะไร?” ซึ่งก็เป็นสิ่งที่น่าดีใจ เพราะหมายความว่า มันมีโอกาสที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงในวงการการเงินที่ยิ่งใหญ่ และเราอยู่ในกลุ่มผู้นำการวิวัฒนาการนี้โดยพัฒนาการของ “เงิน” ตั้งแต่อดีตกาล ที่จะมาเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนที่ใช้ได้ผลดี ไม่ว่าจะเป็น การใช้ธนบัตรมาแทนที่เหรียญโลหะ การพัฒนาระบบ เงินตราที่ไม่มีมูลค่าในตัวเอง (fiat money) มาแทนที่ gold standard หรือแม้แต่การมุ่งสู่ cashless society ที่เรากำลังประสบอยู่ในปัจจุบัน

ทั้งนี้จะสังเกตได้ว่านวัตกรรมของเงินทั้งหมดทั้งมวลในประวัติศาสตร์ มีแค่สองหมวดหมู่ คือ “logistics” และ “stability” ในการให้การเงินทำได้ ง่าย สะดวก เร็ว และมั่นใจว่าเงินที่ถือกันจะคงมูลค่าอยู่ได้ดี เหมาะสำหรับเป็นตัวกลางการแลกเปลี่ยนสำหรับทุกๆคนในสังคมแต่ตอนนี้ เราอยู่ในยุคที่จะมีนวัตกรรมอีกด้านเพื่อ “ยกระดับเงิน” ซึ่งก็คือ “programmability”

Programmability ว่าสั้นๆ คือการที่เงิน มีความสามารถที่จะสั่งการได้ตัวเอง มีความสามารถในการปรับพฤติกรรมหรือคุณลักษณะตามการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้น และความสามารถที่จะทำงานร่วมกับเทคโนโลยีดิจิทัลต่างๆ รวมไปถึง AI และ IoT ซึ่งเหตุผลที่ สินทรัพย์ดิจิทัล มี programmability ที่ดี เป็นเพราะทุกอย่างในระบบ ตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐาน จนไปถึงการใช้งานของ user นั้นเป็น code และสามารถตรวจสอบได้ตลอดห่วงโซ่ ซึ่งทำให้สามารถนำซอฟแวร์มาเป็นส่วนในการบริหารได้อย่างครอบคลุม

และประโยชน์ของ Programmability นอกเหนือจาก

- ความสามารถในการนำไปสู่ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่รองรับความซับซ้อน สามารถปรับให้ตรงความต้องการปัจเจกบุคคล

- การเพิ่ม Efficiency ผ่านการใช้ระบบอัตโนมัติ ในระดับทั้งระบบ

- สิ่งที่น่าตื่นเต้นที่สุด คือการที่มันจะนำมาสู่ “ประสบการณ์ทางการเงิน” ที่ไม่เคยมีมาก่อน

แทนที่จะมาอธิบายว่าความเป็นไปได้ทางทฤษฎี ว่าประสบการณ์ที่จะเกิดขึ้นจาก Programmability มีอะไรบ้าง

“Stablecoin” โอกาสพลิกโฉมไทย สู่..ฮับการเงินดิจิทัลโลก

มาดูตัวอย่างของสิ่งที่กำลังถูกพัฒนาตอนนี้เลยดีกว่า

Dynamic Payments

ในการจ่ายเงิน จำนวน เวลา หรือเงื่อนไขในการจ่ายเงิน สามารถปรับตามสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว แม้ในระบบที่ซับซ้อน วิธีการจ่ายเงินแบบเดิมๆ ไม่ว่าจะเป็น การซื้อขาด การจ่าย subscription การเช่า การมี account payable/receivable หรือแม่การจ่ายเงินเดือนพนักงาน สามารถถูกทดแทนด้วยวิธีใหม่ๆ เช่น pay-as-you-go ใช้เท่าไหร่ก็จ่ายเท่านั้น หรือ มีการจ่ายเฉพาะเมื่อผู้ใช้ได้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งใจ หรือแม้การปรับราคาตามจุดประสงค์ในการใช้ผลิตภัณฑ์

Conditional Spending

จะดีแค่ไหน หากเรากำหนดเงื่อนไขให้กับงบประมานเป็นส่วนๆได้ เช่น งบของกระทรวงต่างๆจะสามารถใช้จ่ายได้เฉพาะบางอย่าง หรือ เวลาเราบริจาคเงิน เรารู้ได้ว่าเงินนั้นจะถูกใช้ไปสนับสนุนเป้าหมายที่เราตั้งใจเท่านั้น ในปัจจุบัน สิ่งพวกนี้เป็นสิ่งที่ต้องใช้ทรัพยากรมหาศาลในการจัดการ และยังมีปัญหาเรื่องการโกงมากมาย ในหลายรูปแบบ

โดย programmability จะมาก้าวข้ามสิ่งเหล่านี้

Auto-Optimized Savings

สิ่งที่นักลงทุนแทบทุกคนอยากได้ คือแค่เอาเงินใส่ไว้ซักที่ ตั้งเป้าหมาย risk-reward ที่ต้องการ และเงินที่เราใส่ไว้ มันก็จะไปลงทุนในโอกาสต่างๆ ที่จะทำให้เราได้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด ตามแบบที่เราอยากได้ Digital Assets สามารถทำได้ เพราะการลงทุนใน​ DeFi นั้นทำได้อย่างรวดเร็ว และตัวเลือกนั้นเรียกว่ามีทุกแบบ ไม่สิ้นสุด เพราะฉะนั้น การที่จะได้การลงทุนที่ customize ที่สุดตามแบบที่เราอยากได้ มันเป็นไปได้หมด และแน่นอน มันดำเนินการได้อย่างอัตโนมัติ

DeFi Money Legos

ที่ DeFi สามารถมีความหลากหลายในแบบที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ เป็นเพราะว่า ถ้าหากผู้พัฒนาอยากจะสร้างผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ขึ้นมา เค้าไม่ต้องเริ่มแต่ศูนย์ เค้าสามารถหยิบผลิตภัณฑ์ต่างๆที่มีอยู่แล้วในตลาด มารวมๆกันได้อย่างง่ายดาย เพราะ programmability และความ permissionless ของ Digital Assets

เอามาสร้างสิ่งที่จินตนาการไว้ เสมือนหยิบชิ้น Lego มาต่อเป็นทุกอย่างที่เราจินตนาการได้

AI Friendly Home

Blockchain สามารถเป็นบ้านของ AI ที่ตอบโจทย์ปัญหาหลากหลาย ที่ AI มีอยู่ในวันนี้ อย่างแรกเลย เพราะทุกอย่างมัน Programmable นั้น AI ก็เลยทำงานกับทุกอย่างได้โดยธรรมชาติ และ Blockchain มันมีขอบเขตของมัน ทำให้สามารถพัฒนาได้อย่างเต็มที่ ไม่ต้องกลัวเหตุการณ์ฝันร้ายแบบ Skynet ยึดครองทั้งโลกนอกจากนั้น การ Train AI ปัจจุบัน จะทำให้มันเก่งขึ้นได้อีกมาก ถ้า AI สามารถเข้าถึง Private Data ได้ แต่การที่จะเข้าถึงได้อย่างยุติธรรมนั้น ต้องมี Privacy solutions ที่ดี ซึ่งในวงการ Digital Assets มีมากมาย

“Stablecoin” โอกาสพลิกโฉมไทย สู่..ฮับการเงินดิจิทัลโลก

Programmability นำพานวัตกรรมมาสู่การเงินได้มหาศาล และสร้างผลประโยชน์หลักๆ

1. ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ทางการเงิน

2. ความสามารถในการต่อต้าน Fraud & Corruption

3. ความ เร็ว ถูก ง่าย จากการทำระบบอัตโนมัติ

4. ความสามารถในการปรับตัวตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง

“Stablecoin” โอกาสพลิกโฉมไทย สู่..ฮับการเงินดิจิทัลโลก

และต้องอย่าลืมว่า Programmability เป็นเพียงข้อดีหลักข้อเดียวของสินทรัพย์ดิจิทัล

ในมุมของเรา ข้อดีหลักๆ มี 3 ข้อ

1. Trustless

2. Global

3. Programmable

สุดท้ายนี้ อยากฝากว่า สินทรัพย์ดิจิทัล ไม่ได้เป็นเพียงแหล่งลงทุน แต่สินทรัพย์ดิจิทัลสามารถนำพานวัตกรรมหลายๆอย่าง ที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ ในแบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในประวัติศาสตร์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

 

related