การดึงประโยชน์จากความใคร่รู้ของสมองคน ยิ่งทำให้เรื่องราวประสบความสำเร็จ หากต้องการเป็นนักเล่าเรื่องที่คนอยากอ่านอยากติดตามก็จำเป็นต้องสร้างเรื่องและสร้างโอกาสจากเรื่องราว โดยสร้างสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้สำเร็จได้แบบพลิกเรื่องกลับหัว
คุณสุธีรพันธุ์ สักรวัตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานการตลาด ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ได้ขึ้นพูดในงาน CTC2023 หัวข้อ Storytelling Canvas : เทคนิคการเล่าเรื่องที่ทุกคนก็ทำได้ ว่า เวลาเล่าพูดถึงดวงดาวบนท้องฟ้า จะต้องนึกถึงเรื่องราวมากมาย ทั้งเทพเจ้า การต่อสู้แย่งชิงต่างๆ มากมาย
น่าประหลาดใจมากที่เรื่องของดาวบนท้องฟ้า จะเกิด Storytelling ที่เล่าในแง่มุมต่างๆ
หากถามว่า Story คืออะไร ก็ต้องบอกว่าเป็นการอธิบายปรากฏการณ์โดยผู้ชนะ ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นฮีโร่หรือวายร้าย สตอรี่หรือเรื่องราวที่บอกเล่า จะเขียนโดยผู้ที่ชนะเสมอ
ดังนั้น จึงไม่ผิดที่สตอรี่จะมีหลายแง่มุม จะเป็นฮีโร่เล่าถึงตัวร้าย ตัวร้ายเล่าถึงฮีโร่ เปรียบเสมือนการต่อสู้ของสิ่งที่ถูกและผิด อยู่ที่จะเล่าในแง่มุมของการให้รางวัลหรือการลงโทษ
อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม
ดังนั้น การเล่าเรื่องที่ดีคือต้องอธิบาย PainPoint ให้ดี ยกตัวอย่างการสร้างภาพยนตร์ ยิ่งสร้างสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ให้ห่างจากชีวิตความเป็นจริงมากเท่าไหร่ ยิ่งเนื้อเรื่องมีจุดด่างพร้อยที่คนทั่วไปรู้สึกว่าเกิดขึ้นจริงไม่ได้หรอก ปัญหานี้แก้ไขไม่ได้หรอก
ยิ่งเล่นกับจิตใจของผู้ชมได้มากเท่าไหร่ ยิ่งน่าสนใจ หากเรื่องราวนั้นมีจุดเปลี่ยนที่พลิกผันแบบจากชีวิตที่ราบเรียบมีความหวือหวามากเท่าไหร่ สมองยิ่งสั่งการให้เราอยากที่จะรับรู้ เพราะเมื่อสมองของเราสงสัย การค่อยๆ คลายปมจะเป็นจิ๊กซอว์บางอย่าง ที่ต้องหาคำตอบให้เจอ
เช่นเดียวกับกุญแจแห่งความรู้ ที่ยิ่งเราอยากรู้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งต้องไปค้นคว้าและตามหาคำตอบของข้อสงสัยให้เจอ
นอกจากนี้ การเล่าเรื่องแบบ Story ควรทำ Canvas เพื่อให้รู้ว่าเรื่องที่จะต้องเล่าควรจะเดินไปในจุดไหน จะสร้างจินตนาการให้คนดูหรือคนอ่านรู้สึกคาดไม่ถึง ยิ่งทำให้สมองต้องคิดตลอดเวลายิ่งดี
เพราะสมองของคนเราจะมี Information Set ที่ไม่สมบูรณ์แบบ อยากที่จะอ่านต่อ ดูต่อ ฟังต่อ ยิ่งสมองสั่งการให้ร่างกายเต็มไปด้วยความกระหายอยากรู้ ยิ่งเป็นเรื่องที่ดีที่เราต้องขวนขวายให้เกิดความรู้ ส่งผลต่อการพัฒนาและสร้างประโยชน์สูงสุด