svasdssvasds

ย้อนรอยวิกฤตหุ้น STARK เสียหายกว่า 20,000 ลบ. ปัญหาจะไปจบที่จุดไหน

ย้อนรอยวิกฤตหุ้น STARK เสียหายกว่า 20,000 ลบ. ปัญหาจะไปจบที่จุดไหน

ยังคงส่งผลต่อนักลงทุนและผู้เสียหายต่อเนื่อง แม้รักษาการประธานของ STARK จะเข้าชี้แจงต่อ DSI และ ปอศ. แต่รายละเอียดที่ไม่สามารถเปิดเผยได้ และอยู่เหนือการควบคุมของสมาคม บลจ. มาย้อนดูปัญหานี้กัน

บริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับสายไฟและสายเคเบิล จากเดิมบริษัทมีมูลค่า 31,000 ล้านบาท แต่หลังเจอผลกระทบทำให้บริษัทมีมูลค่าลดลงเหลือเพียง 2,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ รายได้หลักมาจากการทำสายไฟ สายเคเบิล และโอกาสเติบโตจากเทรนด์สถานีชาร์จรถไฟฟ้า (EV) ที่กำลังขยายตัวในไทย ยิ่งสถานีชาร์จอีวีเติบโตขึ้นเท่าไหร่ โอกาสความต้องการสายไฟของ STARK ก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วย 

ดังนั้น บริษัทจึงมองเรื่องการขยายตัวไปยังเวียดนามเพื่อรองรับการเติบโตนี้ด้วย

จุดเริ่มต้นของหุ้น STARK มีแนวโน้มความเสี่ยงตั้งแต่ปี 2561 ที่มีผลกำไรดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

  • ปี 2562 รายได้ 11,607 ล้านบาท กำไรสุทธิ 123 ล้านบาท
  • ปี 2563 รายได้ 16,917 ล้านบาท กำไรสุทธิ 1,608 ล้านบาท
  • ปี 2564 รายได้ 27,129 ล้านบาท กำไรสุทธิ 2,783 ล้านบาท
  • ปี 2565 รายได้ 21,877 ล้านบาท กำไรสุทธิ 2,216 ล้านบาท (9 เดือนแรก)

จากราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 4.90 บาท ในระยะเวลาเพียง 1 ปี ก่อนที่จะร่วงลงมาจนถึง 0.11 บาท ในปัจจุบัน

ย้อนรอยวิกฤตหุ้น STARK เสียหายกว่า 20,000 ลบ. ปัญหาจะไปจบที่จุดไหน

อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม

สัญญาณความเสียหายมาจากช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2565 ที่สตาร์ค มีจดหมายแจ้งตลาดหลักทรัพย์ว่า จะมีการเพิ่มทุนขายหุ้นให้แก่บุคคลในวงจำกัด หรือ Private Placement ที่ราคาหุ้นละ 3.72 บาท ให้แก่นักลงทุนสถาบัน 11 ราย คิดเป็นเม็ดเงิน 1,500 ล้านบาท

สัดส่วนที่ 11.19% เพื่อนำเงินไปรองรับการซื้อหุ้นของ LEONI Kabel GmbH และ LEONISCHE Holding ผู้ผลิตสายไฟของรถยนต์อีวีและสายไฟที่ใช้ในสถานีชาร์จแบตเตอรี่รถอีวีในเยอรมนีและสหรัฐ มูลค่าไม่เกิน 20,572 ล้านบาท 

แต่แผนการซื้อกิจการนี้ถูกยกเลิก เนื่องจากความกังวลถึงสถานการณ์สงครามรัสเซีย ยูเครน ที่ไม่คุ้มค่าแก่การลงทุน จึงเก็บเงินทุนส่วนนี้ไว้สำหรับโครงการอื่นๆ แต่เงินส่วนนี้ไม่ได้ชี้แจงว่านำไปทำประโยชน์อะไรต่อ

จนกระทั่งซีอีโอ นายมงคล ตั้งใจพิทักษ์ ประกาศลาออกกะทันหัน และให้นายปกรณ์ เมฆจำเริญ เข้าดำรงตำแหน่งควบซีอีโอแทน และส่งผลให้บริษัทผิดนัดส่งงบการเงินครั้งที่ 1 ด้วย

จากนั้นมีการแต่งตั้งซีอีโอแทน เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2566 และเลื่อนการส่งงบการเงินครั้งที่ 2 และปรับบอร์ดอีกในวันที่ 19 เมษายน 2566 และเลื่อนการส่งงบออกเป็นครั้งที่ 3 

ย้อนรอยวิกฤตหุ้น STARK เสียหายกว่า 20,000 ลบ. ปัญหาจะไปจบที่จุดไหน

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของการไม่เคยจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น ซึ่ง STARK ถือว่าเป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการจากเงินส่วนหนี้ที่สูงมาก มากกว่าส่วนของผู้ถือหุ้นด้วย 

  • ปี 2562 ส่วนของผู้ถือหุ้น 2,267 ล้านบาท หนี้สินรวม 10,341 ล้านบาท
  • ปี 2563 ส่วนของผู้ถือหุ้น 3,708 ล้านบาท หนี้สินรวม 23,552 ล้านบาท
  • ปี 2564 ส่วนของผู้ถือหุ้น 6,504 ล้านบาท หนี้สินรวม 32,550 ล้านบาท
  • ปี 2565 ส่วนของผู้ถือหุ้น 8,631 ล้านบาท หนี้สินรวม 38,362 ล้านบาท (ระยะเวลา 9 เดือน)

ดังนั้น นี่จึงเป็นสัญญาณที่บอกให้ทราบว่าการลงทุนจะดูแค่เพียงรายได้และกำไรเพียงอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องดูกระแสเงินสดด้วยว่าบริษัทมีรายได้เป็นเงินสดจริงและควบคุมหนี้สินอย่างไร

นอกจากนี้ ปัญหาเรื่องของความไม่โปร่งใสภายในองค์กรก็ถูกจับตามองด้วย

ดังนั้น เมื่อมีการเปิดซื้อขายหุ้น STARK เพื่อพยุงเหตุการณ์นี้ ก็ทำให้มีการเทขายหุ้นจนร่วงถึงจุดต่ำสุดกว่า 90% ภายในวันเดียว 

ย้อนรอยวิกฤตหุ้น STARK เสียหายกว่า 20,000 ลบ. ปัญหาจะไปจบที่จุดไหน

เมื่อไม่มีเงินทุน STARK ได้กู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินอีก 8,600 ล้านบาท ทำให้เป็นหนี้แล้วกว่า 17,800 ล้านบาท ซึ่งยังต้องหากระแสเงินสดมาใช้คืน

ทั้งนี้ รักษาการซีอีโอคนปัจจุบันออกมายอมรับว่ามีปัญหาทางงบการเงินจริงและยืนยันจะส่งงบการเงินภายใน 16 มิถุนายนนี้ 

ขณะนี้ ยังตรวจพบร่องรอยการทุจริตภายในองค์กรและร้องทุกข์ต่อ DSI เพื่อให้สืบสวนดำเนินคดีต่อการทุจริตครั้งนี้ 

ต้องติดตามมหากาพย์นี้กันต่อว่าจะมีการเปิดเผยงบการเงินออกมาอย่างไรและจะแก้ปัญหาครั้งนี้ได้หรือไม่ ที่แน่นอนคือมีผู้เสียหายจากกรณีนี้เป็นมูลค่ามหาศาล

related