ในปี 2566 นี้ ไม่มีใครไม่รู้จักแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซอย่าง ช้อปปี้ และ ลาซาด้า ธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ที่เข้ามาทำตลาดในไทยนับสิบปี แต่ก็ยังอยู่ใรช่วงขาดทุนไม่จบ
ตลอดระยะเวลา 10 กว่าปีของ ลาซาด้า (Lazada) ในประเทศไทย ที่แม้จะมีการขายกิจการให้ Alibaba Group เพื่ออัดเงินและสินค้าสู้เจ้าตลาดจากอเมริกาอย่างอะเมซอน แต่ลาซาด้าก็ยังทำรายได้อยู่ในกลุ่มขาดทุนมากกว่า จนช่วงโควิด-19 เป็นต้นมา เรียกว่าเห็นแสงรายได้เข้ามาแล้ว
ธุรกิจแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ
การใช้กลยุทธ์ของลาซาด้า จนเกิดยอดขายและทำกำไรได้นั้น เป็นการทำแคมเปญต่างๆ พร้อมดึงดาราดังมาใช้กระตุ้นตลาด จดจำแบรนด์ ใช้ศิลปินทั้งชาวไทยและต่างชาติ ทำรายการแข่งขันบอยกรุ๊ป ทำเพลงให้ติดหู และยกระดับระบบ Fulfillment จนทำให้ส่งสินค้าได้เร็ว ตอบโจทย์ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายได้เป็นอย่างดี
อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม
นอกจากนี้ กลุ่มลูกค้า Gen Z ก็ทำให้คำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นถึง 75% เพราะคนเหล่านี้ คุ้นชินกับช่องทางการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือ ที่ใช้เวลาเฉลี่ย 5 ชั่วโมง 28 นาทีต่อวัน
โดย 3 ประเภทการใช้งานหลัก คือ
ทางด้านของ Shopee นั้น แม้จะเปิดให้บริการในไทยช้ากว่าลาซาด้า 3 ปี แต่เพราะมีนายทุนใหญ่จากจีนอย่าง SEA Limited คอยสนับสนุน แต่ก็ยังไม่กำไรเสียที
เช่นเดียวกัน จนเข้าสู่ช่วงโควิด-19 ที่พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้คนเปลี่ยนไป ทำให้ในปี 2565 ทั้งรายได้และกำไรของช้อปปี้แซงลาซาด้าไปแล้ว คาดว่าในครึ่งปี 2566 ก็ยังมีแนวโน้มที่ดีไม่ต่างกัน
ธุรกิจแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ
ทั้งนี้ ด้วยการใช้กลยุทธ์ลดจำนวนพนักงาน ปิดบริการประเทศที่ไม่ทำกำไร และลดงบในการทำแคมเปญช่วงเทศกาลต่างๆ ลง ทำให้ช้อปปี้ มีทิศทางรายได้ที่ชัดเจนขึ้น
อย่างไรก็ตาม การลดงบการตลาด การทำคูปองน้อยลงของแพลตฟอร์ม ไม่ได้หมายความว่าหน้าร้านจะลดลงด้วย แต่จะเป็นการไปเก็บค่าใช้จ่ายจากฝั่งร้านค้าแทน ถือว่าเป็นการใช้กลยุทธ์ที่อาจส่งผลต่อราคาสินค้าและค่าส่งที่แพงขึ้น จนผู้ซื้ออาจจะไม่สนใจซื้อผ่านแพลตฟอร์มก็เป็นได้
ส่วนในปี 2566 แม้จะยังไม่ประกาศยอดรายได้อย่างเป็นทางการ แต่ทิศทางการทำรายได้ของทั้งสองค่ายอีคอมเมิร์ซก็น่าจะมีโอกาสทำกำไรต่อเนื่องได้ไม่ยาก