svasdssvasds

ดราม่า #ไวรัลโค้ชไทยวันนี้ กับการสอนใช้งาน Shopee-Lazada ราคาครึ่งแสน

ดราม่า #ไวรัลโค้ชไทยวันนี้ กับการสอนใช้งาน Shopee-Lazada ราคาครึ่งแสน

ดราม่า #ไวรัลโค้ชไทยวันนี้ ที่มีอินฟลูเอนเซอร์รายหนึ่ง ออกมาแชร์ประสบการณ์เรียนที่ต้องจ่ายราคาเกือบครึ่งแสน แต่ไม่ได้ความรู้ที่ต้องการกลับมา ด้านผู้สอนก็เลือกที่จะลบคอมเมนต์และตอบโต้กระแสต่อต้าน ส่งผลให้ยอดติดตาม 5.9 หมื่นลดลง

จุดเริ่มต้นของกระแสมาจากโพสต์ของคุณ Ketkanok Sanitnam เจ้าของแบรนด์สินค้ารายหนึ่ง ที่มีผู้ติดตามในโซเชียลมีเดียหลักแสนคน ได้โพสต์ว่า "เสียค่าเรียน 80,000 (SP&LAZ) แต่ได้มาแค่ ลงสินค้า กับกดโปรโมทฟรี อย่าหา เรียกตัวเองว่าโค้ชเลย!!" 

โพสต์นี้มีคนคอมเมนต์กว่า 1.2 พันรายการและยอดแชร์ไปกว่า 2.4 พันครั้ง และจากโพสต์นี้เอง ได้มีการสืบหาว่าใครคือโค้ชคนดังกล่าว จนมีเพจดังไปโพสต์และมีรูปของเจ้าของเพจ Wong R Mic ซึ่งเป็นเจ้าของเฟซบุ๊ก Wong R Mic มีผู้ติดตามกว่า 5.9 หมื่นคน

เมื่อเข้าไปดูว่าเฟซบุ๊กดังกล่าว พบว่า มีการให้ข้อมูลว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการตลาดและมีประสบการณ์ออนไลน์นาน 14 ปี รวมถึงเป็นที่ปรึกษาด้านธุรกิจให้แก่ธุรกิจออนไลน์กว่า 800 แบรนด์ 

ดราม่า #ไวรัลโค้ชไทยวันนี้ กับการสอนใช้งาน Shopee-Lazada ราคาครึ่งแสน

อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม

ทั้งนี้ ย้อนกลับไปเมื่อมกราคม 2566 ได้มีโพสต์ของเฟซบุ๊ก ปริวรรตน์ อรุโณทยานันท์ ที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนออนไลน์กับอินฟลูเอนเซอร์ท่านนี้ โดยมองว่าการตั้งราคาค่าเล่าเรียนเกี่ยวกับการสอนขายของผ่าน Shopee และ Lazada ในราคาครึ่งแสนต่อการเรียน 1 ครั้ง ภายในเวลา 15-60 นาทีนั้น ๆม่เหมาะสม

แม้จะมีการตอบโต้จากทาง Wong R Mic ว่า ระยะเวลา 15-60 นาทีนั้นเป็นไปไม่ได้ เพราะขั้นต่ำคือ 3-4 ชั่วโมง แต่จะระบุเป็นช่วงเวลาที่กำหนดไว้ รวมทั้งมีชาวเน็ตที่เคยเรียนคอร์สนี้ เข้ามายืนยันว่า เรียนครบตามเวลาที่แจ้งไว้จริง โพสต์นี้มีการแสดงความคิดเห็นกว่า 148 ครั้ง แชร์ 304 ครั้ง

จากนั้นได้มีเพจหน่วยป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้ติดตามกว่า 132,320 คน ได้เริ่มเคลื่อนไหวโดยการโพสต์ เหน็บแนม กับอินฟลูเอนเซอร์คนดังกล่าว รวมทั้งแนบชื่อ รูป และโปรไฟล์ ว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น และมีคนเข้าไปคอมเมนต์เชิงลบให้เฟซบุ๊กของ Wong R Mic รวมทั้งคอมเมนต์ที่กระตุ้นให้ออกมาแสดงระบบหลังบ้านว่า ขายสินค้าให้มีรายได้เข้ามาเป็นล้านนั้น เป็นอย่างไรและหลักฐานด้านรายได้ของลูกศิษย์ที่ทำได้หลายร้อยล้านบาท 

นอกจากนี้ กลายเป็นคำถามในสังคมมากมายว่าการเกิดขึ้นของอินฟลูเอนเซอร์ที่กล่าวอ้างว่าเรียนแล้วทำรายได้มากมายนั้น เป็นการตลาดหรือคำลวงที่หลอกให้หลงเชื่อ

 

ที่มา : รัชพล สันติเศรษฐสิน

ปริวรรตน์ อรุโณทยานันท์

Ketkanok Sanitnam

หน่วยป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

related