ภาครัฐดึงความร่วมมือกับหลายประเทศ เพื่อเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ด้วยเทรนด์ของอนาคต สิ่งที่ภาคธุรกิจควรเร่งมือทำคือการมองหาโอกาสจากเทรนด์เทคโนโลยีและความยั่งยืนของโลก
กรุงเทพธุรกิจ และสื่อภายในเครือเนชั่น เปิดเวทีสัมมนา “Geopolitics : The Big Challenge for Business โลกแบ่งขั้ว ธุรกิจพลิกเกม” โลกแบ่งขั้วธุรกิจพลิกเกม ที่ออกมาเตือนภาคธุรกิจเกี่ยวกับการปรับตัวของการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ และการเตรียมพร้อมรับมือสงครามโลกครั้งใหม่ที่เกิดจากความไม่ตั้งใจของสองขั้วอำนาจ
วิชาวัฒน์ อิศรภักดี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ ได้ขึ้นกล่าวบนเวทีสัมมนาว่า หลังจากที่เกี่ยวกับโควิด-19 มีการแพร่หลายในอีกหลายสายพันธุ์ และยังไม่มีท่าทีว่าโรคระบาดจะหมดไปง่ายๆ รวมทั้งยังมีเรื่องของสงคราม ภาคเศรษฐกิจโลกก็มีการปรับเปลี่ยนเป็น W ที่มีขึ้นและลง รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงอย่าง Climate Change หลายสัญญาณที่จะกลายเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคต ภาคธุรกิจจึงต้องพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลง หากไม่เตรียมตัวก็จะเสียโอกาสได้
ยกตัวอย่าง ในเรื่องของการเก็บภาษีก๊าซเรือนกระจกหรือ CBAM หรือเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี (Digital Disruption) ที่จะทรานฟอร์มให้ไทยกลายเป็นประเทศที่มีความพัฒนาอย่างอัจฉริยะ การซื้อขายออนไลน์ (อีคอมเมิร์ซ) การจัดเก็บและเข้าถึงข้อมูล (บิ๊กดาต้า) เรื่องของ AI รวมทั้ง 5G ที่เร็วกว่าหลายประเทศในยุโรป สะท้อนให้เห็นว่าถ้าเรารู้จักปรับตัวให้ทันก็จะช่วยให้ธุรกิจเติบโตอย่างก้าวกระโดด
อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม
สิ่งที่ภาครัฐและประเทศไทยตอบสนองต่อความท้าทาย มีหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็น การรักษาสมดุลในประเทศมหาอำนาจและประเทศต่างๆ ในเชิงรุก เพื่อเพิ่มกรอบความร่วมมือในด้านต่างๆ การส่งเสริมความร่วมมือกับพันธมิตร หรือการสร้างขีดความสามารถให้เศรษฐกิจและสังคมไทย เช่น กลุ่มการแพทย์และสาธารณสุขที่เติบโตมากในช่วงโควิดระบาดหนัก
นอกจากนี้ ช่วงโควิด 19 ยังทำให้ไทยมีโอกาสในการเติบโตทางเศรษฐกิจดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโครงการที่ขอรับการส่งเสริมใน EEC มีมูลค่าถึง 637 ล้านบาท การลงทุนแบบ FDI เพิ่มขึ้น 36% มูลค่ากว่า 433,971 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม จากการประชาสัมพันธ์ประเทศไทยและสร้างเสริมความนิยมไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ บีซีจี หรือ BCG Economy ที่ส่งต่อในการประชุม APEC 2022 สิ่งที่จะผลักดันต่อไป ไม่ว่าจะเป็น
การดำเนินนโยบายต่างประเทศ ต้องเกิดขึ้นจากความร่วมมือกันสานสัมพันธ์และเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทย ไม่เพียงประชาชนไทย แต่ต้องรวมประชากรโลกด้วย
ทางด้านของ วีระศักดิ์ พงศ์อักษร บรรณาธิการอำนวยการเครือเนชั่น และบรรณาธิการบริหารกรุงเทพธุรกิจ กล่าวเสริมว่า นอกจากเรื่องของการปรับเปลี่ยนในแง่มุมทางเศรษฐกิจแล้ว สื่อมวลชนควรให้ความสำคัญในเรื่องของความยั่งยืน (Sustainability) และ ภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitic)
ผลสำรวจจาก PwC ได้มีการสำรวจซีอีโอทั่วโลกกว่า 4,410 คน ใน 105 ประเทศช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2565 พบภัยคุกคามเศรษฐกิจโลก แบ่งออกเป็น ภาวะเงินเฟ้อ 40% ความผันผวนของเศรษฐกิจมหภาค 31% ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ 25% ความเสี่ยงทางไซเบอร์ 20% และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 14%
ดังนั้น แนวทางของกรุงเทพธุรกิจคือการนำเสนอผลกระทบเรื่องเศรษฐกิจ ดอกเบี้ย ทิศทางและเงินเฟ้อในหลายประเทศ เพื่อจับตามองว่าเศรษฐกิจจะถดถอยหรือไม่ ซึ่งนักธุรกิจยุคใหม่มองหาข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ได้