Huawei โชว์วิสัยทัศน์ ตั้งเป้าให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีของอาเซียน หวังเพิ่มสัดส่วน GDP ของเศรษฐกิจดิจิทัลให้สามารถขับเคลื่อนประเทศไทย ชูตลอดระยะเวลาดำเนินการในไทย มีส่วนขับเคลื่อนได้ทั้งองค์กรและสังคม
Mr. Abel Deng ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด บรรยายพิเศษ ในงานสัมมนาและนิทรรศการเศรษฐกิจดิจิทัล “THAILAND 4.0 ประเทศไทยไปไกลกว่าที่คิด : THAILAND 4.0 THE FUTURE AND BEYOND” หัวข้อ “Why Thailand is a choice to drive Business” เมื่อวันที่ 28 พ.ย. ที่ผ่านมา ระบุว่า ตลอด 23 ปีของบริษัทในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เพื่อที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในตลาดที่สำคัญที่สุดในภูมิภาคนี้
"เราได้ลงทุนในประเทศไทย มีการสนับสนุนให้วิศวกรกว่า 800 คนให้เข้าใจในเทคโนโลยี 5G และสนับสนุนสถานีส่งสัญญาณกว่า 30,000 เสา และลงทุนใน 30 ศูนย์ Data Center ขณะเดียวกัน Huawei ยังลงทุนในศูนย์การเรียนรู้ อาเซียนอะคาเดมี่ กว่า 180 ล้านบาทซึ่งสร้างคนที่มีความสามารถกว่า 60,000 คนแล้ว" Mr. Abel Deng กล่าว
“เรายังได้เป็นส่วนหนึ่งของพันธมิตรทางด้านยุทธศาสตร์ในการ transformation หรือเปลี่ยนองค์กรให้ก้าวเข้าสู่โลกดิจิทัล ถึง 8 ใน 10 องค์กรชั้นนำของประเทศไทยอีกด้วย”
อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
"นอกจากนี้ยังมีการทำให้รถโดยสารประจำทางอัจฉริยะควบคุมในกว่า 10 จังหวัดของประเทศไทย ทำให้นักเรียนและแพทย์ชนบทสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตกว่า 3,000 แห่งทั่วไทย และยังมีการสนับสนุนโครงการอินเตอร์เน็ตชุมชน 2.0 ในกว่า 19,652 ชุมชน" Mr. Abel Deng กล่าว
Mr. Abel Deng ระบุว่า สำหรับในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทยจะกลายเป็นหนึ่งในจุดสำคัญในการเชื่อมต่อด้านอินเทอร์เน็ตในโครงการ Belt and Road ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยอันดับสูงขึ้นในการจัดอันดับประเทศที่มีโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี จากระดับที่ 45 ขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 33 ในดัชนี IMD
ประธานกรรมการบริหาร หัวเว่ย ประเทศไทย มองว่า สำหรับนโยบายของ Huawei จะเห็นได้ว่า ตั้งแต่ปี 2016 ที่ประเทศไทยได้เริ่มนโยบาย 4.0 ภาคเอกชนก็ได้มีส่วนร่วมในนโยบายดังกล่าวไม่ว่าจะเป็น ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีการสนับสนุนให้ประเทศไทยใช้เทคโนโลยี 5G และในปีที่ผ่านมา 2021 ก็เริ่มสนับสนุนการทำธุรกิจแบบ BCG และสังคมปลอดคาร์บอน หรือ คาร์บอนนูทอริตี้ ภายในปี 2050 จากการประชุม COP 26
ส่วนแผนในอนาคต Huawei ก็มีการวางแผนที่จะสร้างโครงข่ายพื้นฐานทางด้านอินเทอร์เน็ตความเร็ว 1 Gbps ให้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศไทย นอกจากนี้ยังอยากที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการสนับสนุนอินเทอร์เน็ตไฟเบอร์ในอาคารที่สร้างใหม่ รวมถึงสนับสนุนสถานีโครงข่าย 5G ให้สามารถที่จะรองรับอินเทอร์เน็ต 5.5G และเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับความบันเทิง อาทิ วิดีโอ 360 องศาเทคโนโลยี , XR และ Cloud gaming
ขณะเดียวกันในส่วนของเศรษฐกิจดิจิทัล Huawei ตั้งเป้าว่าจะมีส่วนร่วมทำให้ดัชนีรายได้ประชากรหรือ GDP เติบโตขึ้น 2 เท่า จากทุกภาคส่วน โดยจากเดิมที่เศรษฐกิจดิจิทัลอยู่ที่ 18% ของ GDP ให้ขึ้นเป็น 30% ในปี 2027 ทั้งจากการสนับสนุนท่าเรือเมืองอัจฉริยะ , โรงงานอุตสาหกรรมและโรงพยาบาล
ซึ่งหลังจากนี้ ก็จะมีการสนับสนุนสภาพแวดล้อมการลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนหรือ ppp ให้มีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้นเรามีความเชื่อว่าอาจต้องการก้าวไปอย่างรวดเร็วให้ไปเพียงคนเดียวแต่ถ้าหากอย่างก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงเราต้องก้าวไปพร้อมกัน