svasdssvasds

เปิดเทรนด์ธุรกิจ E-Commerce และเรื่องที่คนขายของออนไลน์ต้องรู้ในปี 66

เปิดเทรนด์ธุรกิจ E-Commerce และเรื่องที่คนขายของออนไลน์ต้องรู้ในปี 66

นายกสมาคมอี-คอมเมิร์ซไทย เปิดเทรนด์ E-Commerce ปี 66 พร้อมแนะสิ่งที่คนขายต้องเตรียมความพร้อม พบเทรนด์ การค้าขายบนโลกเสมือนจริง กำลังมา ส่วนผู้ขายก็ต้องปรับตัวให้มีความบันเทิงมากขึ้น

สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย หรือ THECA : Thai E-commerce Association คาดการณ์ทิศทางและแนวโน้มตลาดอีคอมเมิร์ซไทยในปี 2023

มิ้นท์-กุลธิรัตน์ ภควัชร์ไกรเลิศ นายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย(สมาคมอี-คอมเมิร์ซไทย) ระบุว่า ในอดีตเวลาโน้มน้าวผู้คนต่าง ๆ ให้มาทำธุรกิจ E-commerce ผู้คนต่างสงสัยและตั้งคำถาม ซึ่งเมื่อกาลเวลาผ่านไปก็พบว่า E-commerce เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา

มิ้นท์-กุลธิรัตน์ ภควัชร์ไกลเลิศ นายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย(สมาคมอี-คอมเมิร์ซไทย)

วันนี้โลกเป็นอย่างไร ?

นายกสมาคมฯ ระบุว่า หนึ่งในตัวอย่างที่เห็นได้ชัดและอยากนำมาให้เห็นภาพนั่นก็คือ เทรนด์ที่เกิดขึ้นในประเทศจีน เพราะไม่ว่าเทรนด์อะไรที่เกิดขึ้นในประเทศจีนก็จะส่งผลกระทบต่อประเทศไทย

ในอนาคตสิ่งที่เรียกว่า Meta-Commerce หรือการค้าขายบนโลกเสมือนจริง เป็นหนึ่งในสิ่งที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรม E-commerce ในอนาคต แต่ปัจจุบันเรายังคงอยู่ในขั้นของการขายของผ่านการถ่ายทอดสด ซึ่งจะมีมูลค่าสูงถึง 500 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2023 และจะก้าวขึ้นไปถึง 13,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2030 และเมื่อมีการค้าขายบนโลกเสมือน(Meta-Commerce ) ก็จะสูงถึง 6 แสนล้านดอลลาร์

มิ้นท์-กุลธิรัตน์ ภควัชร์ไกลเลิศ นายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย(สมาคมอี-คอมเมิร์ซไทย)

อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

ขณะเดียวกันกรณีศึกษาของประเทศจีนมีการทำเมืองให้สนับสนุน Meta-Commerce ด้วยการสร้างการค้าขายผ่านโลกเสมือน โดย Alibaba ซื้อบริษัททำแว่นตาเสมือนจริงเพื่อแข่งขันกับ Facebook และ Microsoft และสร้างแว่นตาอัจฉริยะที่บางกว่ามารองรับการขายของบนโลกเสมือน

สำหรับมูลค่าการเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซ ในโลกปัจจุบันอยู่ที่ 5.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนสำหรับประเทศไทยมูลค่าคาดการณ์อยู่ที่กว่า 4 ล้านล้านบาท ในปี 2025 นั่นแปลว่าตลาดอีคอมเมิร์ซจะเป็นส่วนหนึ่งที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยได้

สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องตื่นตัว นายกสมาคม e-commerce ให้สูตรการจำง่ายๆนั่นก็คือ ignite

  • I = Insightful Data Analytics : มีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกของลูดค้าที่เป็นแระโยชน์
  • G = Gamification : มีเกมที่สนุกและท้าทาย ดึงดูดเวลาของผู้ซื้อ
  • N = Newly Products / Services : ผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ
  • I = Innovation : นวัตกรรม เช่น ถ่ายภาพค้นหาสินค้า
  • T = Technology : เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น การแนะนำสินค้าที่ตรงกับไลฟ์สไตล์ลูกค้า
  • E = Entertainment Enabler : สร้างความบันเทิงให้ลูกค้าไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง

นอกจากนี้ภายในงานยังมีการเปิดตัวนายกสมาคมคนใหม่และคณะกรรมการบริหารสมาคม ที่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(Depa) เมื่อวันที่ 25 สิงหาคมที่ผ่านมา

ป้อม-ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ บริษัท TARAD.com ระบุว่า การเกิดขึ้นของสมาคมเริ่มต้นจากการรวมตัวกันของผู้ประกอบการตอนแรกก็เริ่มจากการเป็นชมรมเมื่อ 10 กว่าปีก่อน มีสมาชิกเริ่มต้นกันแค่ 11 คนเท่านั้น และก็เริ่มก่อตั้งเป็นสมาคม

ส่วนหนึ่งที่สมาคมฯ สามารถผลักดันให้ภาครัฐตื่นตัวถึงผลประโยชน์ของชาติได้นั่นคือกฎหมายบริการ อิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-service ในการเก็บภาษีกับแพลตฟอร์มต่างชาติ ซึ่งข้อดีของการเก็บภาษีนี้ก็คือทำให้เราสามารถรู้มูลค่าการใช้จ่ายที่ชัดเจนของประชาชนได้ซึ่งน่าสนใจคือในแต่ละปีคนไทยจ่ายเงินถึงกว่า 200,000 ล้านบาท ให้แพลตฟอร์มต่างชาติ ซึ่งเรายังคงขาดดุลการค้ากับต่างชาติอยู่ดังนั้นการที่จะทำให้ประเทศไทยลดการขาดดุลนี้ลงได้ก็เป็นสิ่งที่ใช่ไหมผมต้องการจะช่วยผลักดัน

(ซ้าย) ไว-ธนาวัฒน์ มาลาบุปผา (ขวา) ป้อม-ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ

ไว-ธนาวัฒน์ มาลาบุปผา ผู้ก่อตั้ง Priceza ระบุว่า หลังจากรับไม้ต่อจากคุณป้อม-ภาวุธ การเข้ามาของบริษัทอีคอมเมิร์ซต่างสัญชาติก็ทำให้ตลาดคึกคักและบูมมากขึ้น ซึ่งสมาคมเองก็ไม่ได้กีดกันสมาชิกต่างชาติเลย โดยที่ผ่านมาก็มีการทำเพื่อสังคมต่าง ๆ มากมายไม่ว่าจะเป็นการอัปเดตเทรนด์รวมถึงการช่วยเหลือผู้ประกอบการเพื่อสังคมต่าง ๆ

ส่วนตัวมองว่าหนึ่งในการที่จะทำให้ประเทศไทยสามารถเติบโตได้ก็จำเป็นที่จะต้องอาศัยการเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกต่างๆในธุรกิจ e-commerce เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ เพราะเมื่อมีข้อมูลก็จะสามารถทำให้สามารถวางแผนและวางยุทธศาสตร์ชาติให้เติบโตได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น เพราะทุกวันนี้ข้อมูลเมื่อเราใช้งานแพลตฟอร์มต่างชาติข้อมูลก็จะอยู่กับแพลตฟอร์มต่างชาติและเมื่อรัฐบาลขอคัดกรองเหล่านั้นก็จะไม่ยินยอมอยู่ดี ดังนั้นจึงควรว่าประเทศไทยก็ควรมีแพลตฟอร์มในการขับเคลื่อนและเก็บข้อมูลต่างๆไว้เพื่อให้คนไทยใช้งาน

เปิดเทรนด์ธุรกิจ E-Commerce และเรื่องที่คนขายของออนไลน์ต้องรู้ในปี 66

มิ้นท์-กุลธิรัตน์ กล่าวทิ้งท้ายว่า ภารกิจในฐานะนายกสมาคมคนใหม่ก็ต้องการทำให้ผู้ขายสามารถเติบโตได้อย่างมั่นคงในวันที่โลกเปลี่ยนแปลงไปสู่โลกเสมือน ภายใต้กลยุทธ์ 8 มิติ เช่น การใช้ Big Data , การค้าขายข้ามประเทศ , การสนับสนุนให้ผู้หญิงสามารถก้าวขึ้นมาเติบโตในโลก e-commerce ได้ เป็นต้น

related