svasdssvasds

เปิดวิธี ทำคอนเทนต์ขายของออนไลน์ยังไง ให้ขายออก ผ่านเทรนด์ Shoppertainment

เปิดวิธี ทำคอนเทนต์ขายของออนไลน์ยังไง ให้ขายออก ผ่านเทรนด์ Shoppertainment

เปิดเทคนิค ทำคอนเทนต์ขายของออนไลน์ยังไง ให้ขายออก TikTok ออกมาเผยเทรนด์ Shoppertainment แนะพ่อค้า-แม่ค้าทำคอนเทนต์ขายของต้องสนุกและคนดูได้ความรู้

TikTok และ Boston Consulting Group (BCG) เผยผลการวิจัยล่าสุดในตลาดเอเชีย-แปซิฟิก เกี่ยวกับ Shoppertainment หรือเทรนด์การจับจ่ายซื้อของผ่านการรับชมคอนเทนต์ที่มอบความบันเทิงให้แก่นักช็อป ว่าเป็นโอกาสที่สำคัญและน่าจับตามอง คาดการณ์ว่าจะสร้างมูลค่าราว 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐให้กับแบรนด์ต่างๆ ภายในปี 2568

Shoppertainment คือการตัดสินใจซื้อ / การซื้อขายที่ขับเคลื่อนด้วยเนื้อหา ที่ผสานการสร้างความบันเทิงและให้ความรู้แก่ผู้บริโภคเป็นหลัก โดยผสานและสร้างสรรค์คอนเทนต์เข้ากับคอมมูนิตี้ เพื่อให้เกิดประสบการณ์การเลือกซื้อสินค้าที่น่าประทับใจ

โดย Shoppertainment ถือเป็นแนวทางที่น่าสนใจ สำหรับแบรนด์ที่ต้องการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้บริโภค ผ่านคอนเทนต์ประเภทวิดีโอที่มีเสียงประกอบ ซึ่งหลังจากวิเคราะห์ตลาดโดยละเอียดแล้ว BCG คาดการณ์ว่าตลาด Shoppertainment จะเติบโตถึง  63% ต่อปี เมื่อเทียบอัตราการเติบโตโดยรวมต่อปี (CAGR) สำหรับตลาดที่รวมอยู่ในรายงาน และจะเติบโตสูงสุดในอินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้

อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

แซม ซิงห์ รองประธานฝ่าย Global Business Solutions ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า "นี่เป็นโอกาสสำหรับธุรกิจที่จะเป็นส่วนหนึ่งกับ Shoppertainment แนวทางที่เน้นการสร้างสรรค์คอนเทนต์เป็นหลัก ที่แบรนด์จะให้ทั้งความรู้และความบันเทิงแก่ผู้ชม Shoppertainment เป็นการผสมผสานระหว่างเนื้อหา วัฒนธรรม และการค้าอย่างไร้รอยต่อ ทำให้แบรนด์สามารถมีส่วนร่วมกับผู้ชมตลอดการซื้อขายโดยไม่ต้องนำเสนอการขายมากเกินไป

สิรินิธิ์ วิรยศิริ Head of Business Marketing-Thailand TikTok

ด้าน สิรินิธิ์ วิรยศิริ Head of Business Marketing-Thailand TikTok  มองว่า สำหรับประเทศไทย Shoppertainment มีโอกาสเติบโตสูงถึง 54% และมีมูลค่าสูงขึ้นจาก 3.4 พันล้านเป็น 12 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2568 ในประเทศไทย ซึ่งจะกำหนดสูตรความสำเร็จใหม่ๆ สำหรับแบรนด์ได้ ตลาดแฟชั่นและเครื่องประดับ ความงามและของใช้ส่วนตัว อาหารและเครื่องดื่ม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กลายเป็นหมวดหมู่ที่ใหญ่ที่สุดสำหรับ Shoppertainment ในประเทศไทย

 

ปัญหาหลักของการขายของออนไลน์

งานวิจัยของ TikTok และ BCG พบว่าประสบการณ์ออนไลน์ของกลุ่มผู้บริโภคถึงจุดอิ่มตัวแล้วในแง่ของ การโฆษณา โดยระบุถึงปัญหาหลักบนเส้นทางการซื้อสินค้าออนไลน์ได้แก่

  1. รู้สึกเฉื่อยชาเกินกว่าจะทำการตัดสินใจซื้อ: 26% ของผู้บริโภคต้องการเวลามากขึ้นในการตัดสินใจซื้อและ 46% จะตัดสินใจซื้อในวันอื่น
  1. มีเส้นทางการซื้อที่กระจัดกระจายจนไม่สามารถโฟกัสได้: 89% ของผู้บริโภคจะหาข้อมูลทั้งในและนอกแพลตฟอร์มที่ตัวเองกำลังใช้อยู่ โดย 63% จำเป็นต้องได้รับชมคอนเทนต์ 3-4 ครั้งถึงจะซื้อ และ 85% ของผู้บริโภคจะท่องไปในหลายแพลตฟอร์มก่อนจะตัดสินใจซื้อจริง
  1. มีข้อกังขาเกี่ยวกับคอนเทนต์ที่ยัดเยียดความเป็นแบรนด์มากเกินไป: 34% ของผู้บริโภค
    ไม่ไว้วางใจเนื้อหาที่มีความเป็นแบรนด์มากเกินไปจนรู้สึกว่าถูกยัดเยียด จนตัดสินใจไม่ซื้อแบรนด์นั้นๆ

ให้ “ความบันเทิง” เป็นหัวใจของการค้าขาย

แม้อารมณ์ความรู้สึกของผู้บริโภคจะแตกต่างกันไปในแต่ละตลาด แต่มีการคาดการณ์ว่า Shoppertainment มีแนวโน้มจะเติบโตอย่างรวดเร็วและมีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มสูงขึ้นในตลาดอีคอมเมิร์ซโดยรวม

งานวิจัยเผยให้ทราบว่าผู้บริโภคในเอเชีย-แปซิฟิกคาดหวังว่าแบรนด์ต่างๆ จะมอบความบันเทิงให้ก่อนที่จะเริ่มนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์หรือเส้นทางนำไปสู่การซื้ออย่างเป็นธรรมชาติ กล่าวคือ มีกระบวนการสร้าง การตระหนักรู้ในสินค้า กระตุ้นความต้องการและเปลี่ยนความต้องการนั้นเป็นการซื้อแบบไร้รอยต่อ

  • ความสนุกและความบันเทิง: 81% ของผู้บริโภคคาดหวังว่าจะเห็นคอนเทนต์ที่เน้นเล่าเรื่องและ ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ก่อน และ 76% ของผู้บริโภคสนใจคอนเทนต์ที่เน้นภาพเคลื่อนไหวเป็นหลัก โดยการนำเสนอในลักษณะนี้สามารถทำได้ผ่านความร่วมมือกับฝ่ายต่างๆ อาทิ อินฟลูเอนเซอร์ ผ่านทางช่องทีวีที่รองรับการซื้อขาย การถ่ายทอดสดผ่าน livestream หรืออีเวนท์ออนไลน์สดพร้อม
    ร้อยเรียงคอมเมดี้ หรือเรื่องสนุกๆ เข้ากับเนื้อหาเพื่อให้ความบันเทิงและดึงดูดผู้บริโภค
  • น่าเชื่อถือและแปลกใหม่ไม่เหมือนใคร: 71% ของผู้บริโภคเห็นว่าข้อมูลจริงและถูกต้องเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เนื้อหาดึงดูดน่าสนใจ ทั้งนี้ แบรนด์สามารถสร้างบรรยากาศอารมณ์ที่จริงแท้เกี่ยวกับ แบรนด์ได้ด้วยการนำเสนอข้อมูลรีวิวสินค้า/บริการที่น่าเชื่อถือ และสร้างพื้นที่ให้ผู้บริโภคได้มา สนทนากันเหมือนคนในชุมชนได้อย่างเปิดเผยและน่าสนใจ ในรูปแบบที่กระตุ้นให้ชุมชนตื่นตัวกับ
    การนำผลิตภัณฑ์มารีวิวหรือถ่ายวิดีโอแกะกล่องสินค้า
  • แรงบันดาลใจและอิสระในการเลือกซื้อหรือตัดสินใจ: 71% ของผู้บริโภคคาดหวังว่าแบรนด์จะ ไม่บังคับให้ตัดสินใจซื้อในระหว่างที่นำเนื้อหามาดึงดูดตนเอง ด้วยเหตุนี้ แบรนด์จึงควรเน้นนำเสนอเนื้อหาที่สอดคล้องกับความสนใจและงานอดิเรกของผู้บริโภค มุ่งสร้างความรู้สึกที่ดีหรือระลึกถึงความหลังในรูปแบบที่กระตุ้นความตื่นเต้นและธีมที่น่าสนใจพร้อมสร้างความสุขความเบิกบานใจแทน
  • เทรนด์และคอมมูนิตี้: 65% ของผู้บริโภคอยากได้คำแนะนำหรือข้อเสนอแนะที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับ แบรนด์จากโลกอินเทอร์เน็ต ดังนั้น แบรนด์ควรให้ความสำคัญกับเสียงของผู้เชี่ยวชาญในคอมมูนิตี้ออนไลน์และอำนวยความสะดวกให้เพื่อนและผู้ใช้งานได้คุยกันเกี่ยวกับแบรนด์

แบรนด์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น CeraVe หรือ Garnier ได้ลองใช้แพลตฟอร์มต่างๆ อาทิ TikTok ในการสร้างความตระหนักรู้ในแบรนด์หรือตราสินค้าตลอดจนเพิ่มยอดขายกันแล้ว

related