Gulf Binance เตือนระวังภัยหลอกลวงลงทุนบนโซเชียลมีเดีย ขณะนี้บริษัทกำลังอยู่ในขั้นตอนของการเตรียมความพร้อมศูนย์ซื้อขายและนายหน้าสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อให้เป็นไปตามกำหนดการ ที่จะเปิดให้บริการภายในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้
ในประเทศไทยมีการหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ตหรือสแกมนั้น เกิดขึ้นเป็นวงกว้าง พบว่า มีรายงานว่ามีเหยื่อได้รับความเสียหายจากการถูกโจรกรรมคิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 31,580 ล้านบาทภายในหนี่งปี
ทั้งนี้ การหลอกลวงโดยแอบอ้างชื่อองค์กรบนแพตฟอร์มโซเชียลมีเดีย อย่าง LINE Facebook และ Gulf Binance ด้วยเช่นกัน ซึ่งหลังจากที่บริษัทร่วมทุนระหว่าง Binance และ Gulf ได้รับใบอนุญาตผู้ประกอบกิจการสินทรัพย์ดิจิทัลจากกระทรวงการคลังของประเทศไทย ผ่านสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
Gulf Binance กล่าวว่า บริษัทกำลังอยู่ในขั้นตอนของการเตรียมความพร้อมศูนย์ซื้อขายและนายหน้าสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อให้เป็นไปตามกำหนดการที่จะเปิดให้บริการภายในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้
ปัจจุบันยังไม่ได้มีการเปิดใช้บัญชีโซเชียลมีเดียในนามของ Gulf Binance รวมถึงการนำเสนอโอกาสทางการลงทุนต่างๆ แต่อย่างใด
ดังนั้น นักลงทุนควรระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการมีส่วนร่วมกับแอคเคาน์ปลอมเหล่านี้
อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม
ทั้งนี้ เพื่อให้ทุกคนได้ทราบถึงกลไกการหลอกลวงของเหล่าสแกมเมอร์ Binance จึงได้สรุปกระบวนการที่สามารถพบเห็นได้บ่อยเพื่อให้ทุกคนสามารถระวังภัยกันได้ล่วงหน้า ดังนี้
เคล็ดลับในการปกป้องตนเองจากกลโกงของเหล่าสแกมเมอร์
ระวังบัญชีต้องสงสัย
ไม่ว่าจะเป็น Telegram WhatsApp Instagram Facebook หรือแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียใดๆ ก็ตาม อย่าเพิ่งเชื่อถือบัญชีนั้นในทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากบัญชีเหล่านั้นเป็นฝ่ายเริ่มติดต่อหาคุณก่อน ไม่ว่าจะเป็นการให้คำแนะนำด้านการลงทุนโดยที่คุณไม่ได้ร้องขอ การนำเสนอกิจกรรมชิงรางวัล หรือการเสนอบริการปลดล็อกบัญชี
ทั้งนี้ เราสามารถตรวจสอบเพื่อยืนยันความถูกต้องของเว็บไซต์หรืออีเมล ด้วยการดูชื่อโดเมนด้านท้าย หรือหากเป็นบัญชีที่เกี่ยวข้องกับ Binance ผู้ใช้สามารถนำ URL เว็บไซต์มาตรวจสอบผ่าน Binance Verify โดยหากขึ้นข้อความ “ยืนยัน (Verified)” หมายความว่าผู้ใช้สามารถใช้งานต่อได้ด้วยความระมัดระวัง แต่หากมีข้อความขึ้นมาว่า “แหล่งที่มาไม่ได้รับการยืนยัน (Source Not Verified)” ผู้ใช้ความหลีกเลี่ยงการใช้งานในทันที
รักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัว
สแกมเมอร์มักจะใช้เว็บมืดในการเฟ้นหาเป้าหมายที่ไม่ระมัดระวังในการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล ดังนั้น ผู้ใช้ควรต้องดูแลข้อมูลต่างๆ ให้ดี ไม่ว่าจะเป็น ประวัติการเดินทาง ประวัติการซื้อสินค้า รายละเอียดและช่องทางการติดต่อ เป็นต้น
ข้อควรปฏิบัติเมื่อถูกหลอกลวง
หากเกิดความผิดพลาดจนทำให้โดนหลอกลวง สิ่งที่ต้องทำเป็นลำดับต่อไปคือการปกป้องตนเองไม่ให้หลงกลของสแกมเมอร์รายเดิมซ้ำ รวมถึงไม่ควรถอนหรือโอนเงินให้กับคนแปลกหน้าโดยเด็ดขาด
หลังจากนั้น ผู้ใช้ควรติดต่อขอความช่วยเหลือ พร้อมแจ้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไปยังหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อเข้าสู่การดำเนินการในลำดับต่อไป เพราะการมีความรู้เท่าทัน เป็นหนทางในการปกป้องตนเองจากสแกมเมอร์ได้