svasdssvasds

#สรุปให้ FTX แพลตฟอร์มซื้อ-ขายคริปโทฯ ล้มละลายเกิดอะไรขึ้น ? แบบเข้าใจง่าย

#สรุปให้ FTX แพลตฟอร์มซื้อ-ขายคริปโทฯ ล้มละลายเกิดอะไรขึ้น ? แบบเข้าใจง่าย

กลายเป็นกระแสข่าวในแวดวงคริปโทเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเมื่อ FTX แพลตฟอร์ซื้อขายคริปโทเคอเรนซี่ล้มละลาย จนอาจกลายเป็นกระแสการล่มสลายของสกุลเงินดิจิทัล ?

Future Trade Exchange (FTX) แพลตฟอร์ซื้อขายคริปโทเคอเรนซี่ หรือ สกุลเงินดิจิทัล อย่าง บิตคอนย์ เดิมแพลตฟอร์มนี้เคยเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจาก Binance จนกระทั่งถึงจุดที่คริปโทฯ เริ่มลดความนิยมลง

เอฟทีเอ็กซ์ (FTX) ก่อตั้งเมื่อปี 2019 โดย Sam Bankman-Fried หรือที่รู้จักกันในนาม SBF และ Gary Wang เพื่อนนักศึกษาที่ MIT ของเขา ซึ่งนิตยสารฟอร์บส์ (Forbes) เคยจัดอันดับให้ SBF รวยสุดในอันดับ 2 ด้วยมูลค่าสินทรัพย์(ในขณะนั้น) ที่ 2.4 หมื่นล้านดอลลาร์ ในฐานะมหาเศรษฐีคริปโทของทั่วโลก ซึ่งตอนนั้นเขามีอายุเพียง 30 ปีเท่านั้น ส่วนตัวบริษัท FTX เคยมีมูลค่าสูงถึงกว่า 32,000 ล้านดอลลาร์

โดย FTX เจาะไปที่กลุ่มนักลงทุนรายใหญ่เป็นหลัก ในการซื้อขายในจำนวนมาก ๆ

จุดเริ่มต้นมหากาพย์ การล้มละลายของ FTX

สำหรับจุดเริ่มต้นของการล้มละลายครั้งนี้ของ FTX มาจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ ความตื่นตัวด้านสกุลเงินดิจิทัลของโลกที่ลดลง สังเกตได้จากราคา บิตคอยน์ (BTC) ราคาหายไปเกินกว่าครึ่งหนึ่งในรอบหนึ่งปีที่ผานมา และการที่ FTX นำเหรียญดิจิทัลที่ตัวเองสร้างขึ้น ชื่อ FTT ไปค้ำบริษัทในเครือของตัวเองด้วย ชื่อ Alameda Research ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำรายได้ในการกินส่วนต่างการเทรดคริปโทฯ

ถ้าสรุปแบบเข้าใจง่าย คือ ในโลกความเป็นจริง เงินทุกบาทต้องมีของมาค้ำเพื่อให้เงินมีค่า เช่น ทอง แต่เหรียญดิจิทัลต่าง ๆ ที่ออกมา บางเหรียญแทบจะไม่มีใครค้ำอะไรเลยนอกจากแนวคิดที่น่าสนใจและบริษัทที่ออกเป็นบริษัทใหญ่ (แต่ก็จะมีเหรียญบางประเภทที่ผู้กับค่าเงินหลักบนโลกดิจิทัล โดยจะเรียกเงินประเภทนี้ว่า “Stablecoin” แต่ก็ไม่ได้แปลว่ามันจะไม่มีสิทธิ์ล้มละลาย แค่ล้มยากกว่า) นี่มันไซฟ่อนเงินออกนี่หน่า!

"เอาเหรียญที่ตัวเองออก มาลงทุนในตัวเอง"

อ่านเรื่องราวอื่น ๆ 

ดังนั้นถ้า FTX เอาเหรียญ FTT ที่ตัวเองออกมาค้ำประกันตัวเอง มันจะไปมีค่าอะไร ? ในเมื่อ FTX สามารถปั๊ม FTT ออกมากี่เหรียญก็ได้ หรือปั่นมูลค่าให้ FTT มีมูลค่าเท่าไหร่ก็ได้ และที่สำคัญคือ บริษัทที่เอาไปค้ำ เนื่องจากเป็นบริษัทในเครือ ก็แปลว่าไม่ต้องคืนก็ได้สิ ? ประเด็นคือบริษัทแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลเหล่านี้ไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์(ตลาดหุ่นบนโลกความจริง) นั่นแปลว่าเขาไม่ต้องเปิดเผยผลประกอบการและแผนของบริษัทให้ใครรู้แบบบริษัทมหาชน ถึงแม้ว่าจะอยู่ภายใต้การกำกับของ ตำรวจตลาดหุ้น (ก.ล.ต.)

พอนักลนทุนเริ่มไม่มั่นใจโดยเฉพาะโลกคริปโทฯ ก็หายนะทันที เหมือนโดมิโน่ล้ม

ขณะที่ FTX ยื่นล้มละลาย และขอฟื้นฟูกิจการเมื่อวันศุกร์(11 พ.ย.) ที่ผ่านมา นั่นแปลว่าถ้าหากศาลรับคำร้อง บริษัทจะต้องเริ่มตั้งคณะกรรมการเพื่อจ่ายหนี้ให้กับลูกค้าทุกคน ในฐานะเจ้าหนี้ แบบ Zipmex

FTX ล้มแล้วยังโดนแฮกอีก

ขณะที่ Sam Bankman-Fried ประกาศลาออก และมีรายงานเมื่อวันที่ 12 พ.ย. ที่ผ่านมา ว่า FTX ถูกแฮกโดยคนร้ายฝังมัลแวร์และโทรจัน ไวรัสที่จะเข้ามาแบบไม่มีพิษภัย แต่จะแอบเปิดให้ไวรัสตัวอื่น ๆ เข้ามาตอนเราเผลอ ประเด็นคือฝังเข้าไปในแอปฯของทุกคนที่โหลดไปแล้วและเพิ่งโหลดมาสดใหม่จากเว็บ โดย Telegram ของ FTX แจ้งว่า “ลบแอปฯ ซะ อย่าไปโหลดจากเว็บเราด้วย รอก่อน” ผู้ใช้ FTX หลายคนพบว่าเงินในบัญชีของตัวเองเป็น 0 ทั้งในเว็บและในแอปฯ

ขณะที่ปัจจุบัน(13 พ.ย. 11.00 น.) เว็บไซต์ FTX แจ้งปิดการฝาก-ถอนเงินชั่วคราว

FTX ล้มละลาย ใครเจ๊งบ้าง ?

สำหรับการล้มละลายของ FTX ผู้ที่ได้รับผลกระทบได้แก่ นักลงทุนรายย่อยที่ซื้อขายผ่านแพลตฟอร์มของ FTX และส่งผลกระทบต่อไปยัง นักลงทุนของสถาบันการเงินและกองทุนต่าง ๆ ทั้ง Softbank ของญี่ปุ่น , Temasek ของสิงคโปร์ และกองทุนต่าง ๆ ของทวีปอเมริกาเหนือ

อย่างไรก็ตาม นี่อาจกลายเป็นโดมิโน่ตัวต่อไปที่จะมาล้มวงการคริปโทฯ ก็เป็นได้ ช่วงโควิด-19 เราไม่เคยถามถึงว่า บริษัทแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล เขาเป็นใครมาจากไหน มั่งคงหรือเปล่า และเหรียญที่เราใช้ มีแค่บล็อกเชนเป็นความโปร่งใสอย่างเดียวเพียงพอต่อการนำเงินในโลกความเป็นจริงไปลงทุนหรือไม่ ? แล้วคริปโทฯ จะเป็นเงินของโลกอนาคตจริงไหม ? คงต้องติดตามกันต่อไป

FTX อยู่นอกกฎหมายไทย

แต่ที่แน่ ๆ นักลงทุนที่เทรดผ่าน FTX คงต้องหาช่องทางไปถอนเงินคืนให้ได้ หรือไปเอาเงินคืนในฐานะเจ้าหนี้ แต่ทางการไทยไม่สามารถทำอะไรได้เพราะ FTX ไม่ได้ตั้งบริษัทอย่างเป็นทางการในไทย จึงอยู่นอกเหนือกฎหมายไทยในการจัดการ

related