svasdssvasds

ส่องเทคโนโลยี SCGP เมื่อ AI - ระบบออโต้ ทำให้ต้นทุนลดลง-ประสิทธิภาพมากขึ้น

ส่องเทคโนโลยี SCGP เมื่อ AI - ระบบออโต้ ทำให้ต้นทุนลดลง-ประสิทธิภาพมากขึ้น

ส่องเทคโนโลยีโรงงาน SCGP เมื่อ AI - ระบบอัตโนมัติ Automation ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงและเพิ่มประสิทธิภาพได้มากขึ้น

SHORT CUT

  • เปิดไอเดียให้เจ้าของโรงงานใช้เทคโนโลยีมาช่วยอย่างไรให้ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ
  • หนึ่งในวิธีที่จะช่วยคือการใช้ Digital Twin ลองจัดโรงงานใหม่ในคอมฯ ก่อนนำไปใช้จริง
  • SCGP ตั้งเป้าขยายผลเทคดนโลยีที่ใช้ในโรงงานไทย ไปใช้ในเวียดนามและอินโดนีเซีย

ส่องเทคโนโลยีโรงงาน SCGP เมื่อ AI - ระบบอัตโนมัติ Automation ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงและเพิ่มประสิทธิภาพได้มากขึ้น

นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP เล่าในงานแลถงข่าว ผลการดำเนินงานไตรมาส 1 ของปี 2567 ของ SCGP โดยหนึ่งในเป้าหมายในปี 2567 ที่บริษัทตั้งไว้ คือ การนำระบบหุ่นยนต์ (Robotic) และระบบการทำงานอัตโนมัติ (Automation) มาปรับใช้ในโรงงานที่ต่างประเทศอย่าง เวียดนามและอินโดนีเซีย

แม้ว่า SCGP ไม่ได้ระบุว่าเทคโนโลยีในดรงงานเหล่านี้มีส่วนช่วยในการลดต้นทุนได้มากน้อยเพียงใด แต่หนึ่งในวิดีโอประชาสัมพันธ์ของบริษัท พบว่า มีพนักงานในโรงงานน้อยลงกว่าโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์รูปแบบเดิมที่มีพนักงาน 1 คนต่อ 1 เครื่องจักร

นายวิชาญ ระบุว่า สำหรับการเติบโตผ่านการขยายกำลังการผลิต ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา SCGP ประสบความสำเร็จในการขยายกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกในจังหวัดสมุทรสาครและสมุทรปราการ โดยมีกำลังการผลิตส่วนเพิ่ม 75,000 ตันต่อปี คิดเป็นร้อยละ 9 ของกำลังการผลิตเดิมในประเทศไทย ด้วยเทคโนโลยีการผลิตและการพิมพ์ที่ทันสมัย เช่น ระบบหุ่นยนต์ (Robotic) ระบบการทำงานอัตโนมัติ (Automation) และแอปพลิเคชันสำหรับการพิมพ์ ฐานการผลิตแห่งใหม่นี้ตั้งอยู่ใกล้กับฐานการผลิตสินค้าแช่แข็งส่งออก ทำให้สามารถรองรับและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้เพิ่มขึ้น และช่วยสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันด้านต้นทุนค่าขนส่ง

ในยุคที่ภูมิรัฐศาสตร์ หรือการเมืองโลกปั่นป่วน และโลกเดือด ทำให้ราคาของวัตถุดิบผันผวน การควบคุมต้นทุนให้ต่ำและมีประสิทธิภาพสูงสุดนับเป็นเรื่องที่ระดับบริหารต้องพิจารณา ซึ่งในธุรกิจบรรจุภัณฑ์เองก็เหมือนกับธุรกิจอื่น ๆ ที่ต้องควบคุมต้นทุน มองหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ และนวัตกรรมของวัตถุดิบที่รักษ์โลกไปพร้อมกัน

นายวิชาญ บอกว่า จริง ๆ แล้ว SCGP มีวิศวกรที่เรียนเรื่องการออกแบบและจัดการอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยเทคโนโลยีมาโดยตรง ซึ่งในช่วงแรกเราเริ่มจากนำอุปกรณ์เซ็นเซอร์ต่าง ๆ ไปติดตั้งกับเครื่องจักรที่มีอยู่ หลังจากนั้นจึงนำข้อมูลมาให้ทีมวิเคราะห์ว่าควรจะพัฒนาอย่างไร ใช้ระบบ AI เข้ามาบริหารจัดการพลังงานอย่างไร ไปจนถึงขั้นการจัดโรงงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

เป้าหมายในการต่อยอดนำเทคโนโลยีในโรงงานของ SCGP ที่ไทยไปใช้ในต่างประเทศ คือ การลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในวันที่โลกผันผวนหนัก นายวิชาญ บอกว่า แม้จะมีข้อมูลจากโรงงานในไทย ก็ต้องใช้วิศวกรในการปรับค่าต่าง ๆ ให้ตรงกับสภาพภูมิอากาศและความเป็นจริงในประเทศนั้น ๆ ด้วย

Digital Twin ในโรงงาน

ขณะเดียวกัน การบริหารจัดการโรงงานใหม่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะเครื่องจักรที่หนักเป็นตัน ๆ การหยุดสายการผลิต การย้ายเครื่องจักนับเป็นเรื่องใหญ่มากๆสำหรับโรงงาน ในปัจจุบันจึงมีการใช้ Digital Twin หรือภาพจำลองของโรงงานในคอมพิวเตอร์ที่สามารถจำอลงการทำงานจริงบนข้อมูลที่เก็บจากเครื่องจักรจริง ๆ ในโรงงานเรามาใช้งานได้ ซึ่ง บริษัทในเครือ SCG เองก็เป็นหนึ่งในนั้นที่ใช้เทคดนโลยีนี้ก่อนจัดโรงงานใหม่ เพราะ "พังในกระดาษ(Digital Twin)" ดีกว่าพังในชีวิตจริง

อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

related