SHORT CUT
ผู้บริหาร ทรู คอร์ป เผย สนใจดิจิทัลแบงก์กิ้งกำลังดูอยู่ว่าจะทำในแง่ไหนบ้าง แต่ยังไม่ตัดสินใจ หากจะทำก็คงเป็นการร่วมมือกับพาร์ทเนอร์มากกว่าลงทุนเองทั้งหมด
คุณมนัสส์ มานะวุฒิเวช ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เรื่องของดิจิทัลแบงก์กิงนั้น เรากำลังอยู่ในกระบวนการพิจารณา ซึ่งทางทรู เราเน้นหนักไปในเรื่องของการเป็นพาร์ทเนอร์มากกว่า แต่ทางเราก็ยังไม่สรุปว่าจะไม่ทำเช่นกัน แต่ขอทำร่วมกับพาร์ทเนอร์ดีกว่า อาจจะไม่ได้เป็นคนทำเองทั้งหมด ก็เลยยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะทำอย่างไร หรือบริการออกมาในรูปแบบไหน
อย่างไรก็ตาม ในปี 2024 นี้ เราจะเดินหน้าเรื่องของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมที่ล้ำสมัยและระบบนิเวศที่ครบวงจร ภายใต้ 3 กลยุทธ์ คือ
คุณ มนัสส์ กล่าวเพิ่มเติมว่า แผนลงทุนของทรูในปีนี้ อยู่ที่ 3 หมื่นล้าน แบ่งเป็น เรื่องของการพัฒนาธุรกิจในเครือ 1.2 หมื่นล้านบาท อีก 1.8 หมื่นล้านบาทจะเป็นเรื่องของการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเอไอต่างๆ
ทั้งนี้ เราเชื่อมั่นว่าจะสามารถทำกำไรในปี 2567 นี้ และเติบโตต่อเนื่องอย่างมั่นคงแข็งแกร่ง พร้อมส่งมอบคุณค่าเพื่ออนาคตที่ดีกว่าสำหรับทุกภาคส่วน เนื่องจากมีการให้บริการแบบไร้รอยต่อทุกช่องทางและเรามีตัวเลขลูกค้าที่เพิ่มขึ้นทั้งกลุ่ม Perpaid, Postpaid รวมทั้งกลุ่มสมาร์ทลีฟวิ่ง ทำให้เกิดการใช้งานที่หลากหลาย
นอกจากนี้ การที่เรามุ่งมั่นจะเป็น Telco Technology ทำให้เราต้องพัฒนาความสามารถในเรื่องของ AI, Blockchain, Cloud, Data และ Edge ซึ่งเป็นการทำงานที่ตอบโจทย์ทุกภาคส่วน ซึ่งบริษัทมีการใช้ AI อยู่แล้ว และเพิ่มในส่วนของ GenAI เข้ามาเพื่อให้รูปแบบการทำงานที่ดีขึ้น เช่น เข้ามาเติมเต็มในส่วนของคอลล์เซ็นเตอร์ ในการตอบคำถามให้เร็วขึ้น และพัฒนาความสามารถด้านการช่วยเหลือลูกค้าอย่าง "น้องมะลิ" ที่จะแก้ไขปัญหาบนออนไลน์ในการตอบคำถามอย่างรวดเร็ว
ชารัด เมห์โรทรา รองประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เราได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมดิจิทัลให้ล้ำสมัย มีคุณภาพสูง พร้อมยกระดับประสบการณ์การใช้งาน 5G ด้วยการอัพเกรดเทคโนโลยีเครือข่ายให้เทียบมาตรฐานชั้นนำของโลก และตอบโจทย์ความคาดหวังของลูกค้า ด้วยอุปกรณ์เครือข่ายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถลดการปล่อยก๊าซ CO2
ทรูได้พัฒนาเครือข่ายให้ทันสมัย (Network Modernization) แล้วมากกว่า 2,400 เสาทั่วประเทศ และมีแผนจะเพิ่มเป็น 10,000 เสา ในปี 2567 อีกทั้งยังผสานโครงข่ายเตรียมพร้อมเป็นเครือข่ายเดียว (One Integrated Network) รวมถึงการใช้ประโยชน์คลื่นความถี่ทุกย่านอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ลูกค้าได้ใช้งานบนเครือข่ายที่ครอบคลุมมากขึ้นและเร็วยิ่งขึ้น เราตั้งใจพัฒนา BNIC - Business Network Intelligence Center โดยใช้เทคโนโลยี AI เพื่อออกแบบบริการและนำเสนอสิทธิประโยชน์ที่เฉพาะเจาะจงตรงไลฟ์สไตล์ลูกค้าแต่ละบุคคลได้มากขึ้น
โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงลึก คาดการณ์ และวางแผนการบริหารจัดการอย่างรอบด้าน ทั้งเรื่องการขยายเครือข่ายและเพิ่มสัญญาณแบบเจาะลึกเฉพาะพื้นที่ทั่วประเทศ และการให้บริการลูกค้าด้วยการมีปฏิสัมพันธ์แบบเฉพาะบุคคล (Hyper-personalize Services) สามารถให้บริการเชิงรุก ตลอดจนเข้าใจความต้องการของลูกค้าได้อย่างลึกซึ้ง เพื่อส่งมอบบริการแบบไร้รอยต่อในทุกช่องทาง (Omnichannel) ทั้งยังสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า อาทิ การให้บริการลูกค้า โดยวางแผนนำเทคโนโลยี AI วิเคราะห์ข้อมูล ช่วยให้ทีมงานบริการลูกค้าสามารถแนะนำบริการที่ตรงใจลูกค้ามากยิ่งขึ้น
อีกทั้งยังจะยกระดับผู้ช่วยอัจฉริยะ Mari AI โฉมใหม่ ที่พัฒนาขึ้นจากการผนวกเทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่มีลักษณะคล้ายมนุษย์ (Humanoid) เข้ากับเทคโนโลยี AI สามารถให้ข้อมูลและแนะนำบริการได้อย่างรวดเร็วแบบอัตโนมัติ รวมถึงการพัฒนาแอปพลิเคชันเป็นหนึ่งเดียว (One Application) ที่จะครอบคลุมทั้งข้อมูลและบริการหลังการขายต่างๆ
ประเทศ ตันกุรานันท์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านเทคโนโลยี บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เรื่องของเสาสัญญาณนั้น เมื่อมีการรวมกันสองเครือข่ายก็จะมีการเปิดโรมมิ่งเสาสัญญาณให้ทำงานร่วมกันได้ดีขึ้น โดยเฉพาะเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่มีคลื่นความถี่หลากหลายมากที่สุดในไทย จึงจำเป็นต้องมีการดูแลอย่างรอบด้าน
โดยมีการตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย คือ หน้าที่พื้นฐานสำคัญของ BNIC ซึ่งต้องมอนิเตอร์การใช้งานของเครือข่ายต่อเนื่อง เช่น การรับส่งข้อมูลเครือข่าย การใช้แบนด์วิธ ความสมบูรณ์ของระบบ การเชื่อมต่ออุปกรณ์ เครื่องมือตรวจสอบขั้นสูงให้ข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับประสิทธิภาพของส่วนภายในเครือข่ายที่ใช้งานต่างๆ เพื่อส่งมอบบริการที่ดีขึ้น
ส่วนเรื่องของการที่กสทช.เตรียมเปิดประมูลคลื่นเก่าของ NT นั้น ทีมบริหารระบุว่า มีความสนใจแต่ขอดูเงื่อนไขและรายละเอียดต่างๆ จากทางกสทช.ก่อน เพื่อประเมินความสามารถว่าสามารถทำงานภายใต้กรอบเงื่อนไขและรายละเอียดต่างๆ ได้ทันหรือไม่ แต่ถามว่าสนใจอยากได้คลื่นเพิ่มหรือไม่ ทางทรูกล่าวยอมรับว่ามีความสนใจแน่นอน
อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม