ประเสริฐ รมว.กระทรวงดิจิทัลฯ เผย ไทยลดหย่อนภาษีให้นายทุนที่ลงทุน-หนุนเรื่อง Smart City ในไทย สูงสุด 100% โดยให้ depa เป็นเจ้าภาพคุยกับ BOI
ประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเศรษฐกิจและสังคม (MDES) ระบุในปาฐกถาพิเศษ ผลักดันไทยสู่ Smart City งาน PostToday Thailand Smart City 2024 ณ ห้องแกรนด์ บอลรูม โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ ว่า นโยบายของรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน คือการพัฒนาเมืองให้ไปสู่เมืองอัจฉริยะ Smart City ด้วยข้อมูลต่าง ๆ เป็นการฟื้นฟู , แก้ไขปัญหา และเพิ่มขีดความสามารถของประเทศเพื่อให้คนไทยสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้ ให้ประชาชนอยู่อย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจดิจิทัล จึงมีโอกาสได้มอบหมายนโยบายนี้ไปสู่พนักงานในกระทรวง
นายประเสริฐ ระบุว่า การที่จะทำให้ประเทศไทยสามารถนำเทคโนโลยีไปพัฒนาเมืองสู่เมืองอัจฉริยะภาครัฐจะต้องผลักดัน 3 ประการ ที่ระบุภายในงานของเครือเนชั่น เป็นที่แรกแบบ Exclusive คือ
โดยเป็นไปตามมาตรการยกระดับอุตสาหกรรมด้านปรับปรุงประสิทธิภาพด้านดิจิทัล
ขณะที่ ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์. ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล DEPA ระบุว่า การที่นายทุนที่จะเข้ามาขอสิทธิ์ จะต้องมีแผนที่ชัดเจนว่าแต่ละปีที่ขอสิทธิ์ไปตลอดทั้งโครงกางต้องมีการรายงานผลที่ชัดเจน เช่น หากเสนอแผน 10 ปี แล้วในปีที่ 1 และแต่ละปีจะมีอะไรเกิดขึ้นให้ส่งผลต่อประชาชนบ้าง ? และองค์กรที่จะขอสิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้ ต้องขึ้นทะเบีน บัญชีบริการดิจิทัล ที่มีมาตรฐาน ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับ การขึ้น "บัญชีผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล" ของ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA)
รมว.กระทรวงดิจิทัลฯ ยอมรับว่า ปัญหาส่วนหนึ่ง คือ บุคลากรด้านเทคโนโลยีของประเทศไทยยังมีไม่มาก กระทรวงฯ จึงมีหน้าที่เพิ่มขีดความสามารถให้กับคนไทย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการนำเทคโนโลยี ไปพัฒนาเมืองอัจฉริยะ เพื่อยกระดับการให้บริการของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้จะยกระดับนักพัฒนาคุณภาพและบริการ ทั้งการขนส่งสภาพภูมิอากาศ
นอกจากนี้ การที่จะทำให้ประเทศไทยไปสู่เมืองอัจฉริยะได้จำเป็นที่จะต้องพัฒนาชุมชนให้สามารถใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในชุมชนได้ ซึ่งการมีข้อมูลจะทำให้สามารถออกแบบนโยบายและออกแบบผังเมืองให้ตรงกับประชาชนในแต่ละท้องที่ได้เพื่อยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของเมืองนั้นๆได้และยังตอบโจทย์ในชีวิตประจำวัน เช่น กรุงเทพมหานคร อาจจะต้องการเทคโนโลยีที่แก้ไขปัญหาน้ำท่วมและรถติดในบางพื้นที่ ขณะที่เชียงใหม่อาจจะต้องการเทคโนโลยีที่เข้ามาทำให้สามารถแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ได้ เป็นต้น
"หากมองไปในต่างประเทศอย่างเมืองซานฟรานซิสโกของสหรัฐอเมริกา มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อทำให้เมืองลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และรักษ์โลกมากยิ่งขึ้น เช่น การยกระดับขนส่งมวลชนภายในเมืองให้อัจฉริยะ ซึ่งหากชุมชนสามารถกลายเป็นจุดเริ่มต้นของเมืองอัจฉริยะได้ก็จะสามารถขยายไปสู่ในระดับที่ใหญ่ขึ้นได้ง่ายมากยิ่งขึ้น" ประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเศรษฐกิจและสังคม (MDES) ระบุ
นายประเสริฐ ระบุต่ออีกว่า "ซึ่งการที่จะประมวลผลข้อมูลจำนวนมากเหล่านี้และแปลงเป็นนโยบายเพื่อให้ตอบสนองต่อการใช้งานในชีวิตประจำวันก็จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อประมวลข้อมูลเหล่านั้น ให้แสดงออกมาได้อย่างชัดเจน และนอกจากนี้การนำเทคโนโลยี Blockchain เข้ามาใช้ในการกำหนดนโยบาย ก็จะทำให้สามารถสร้างความโปร่งใสให้กับเมืองได้"
"ส่วนตัวมองว่าเป้าหมายสุดท้ายของการสร้างเมืองอัจฉริยะ คือ สร้างความยั่งยืนให้กับประชาชนเพราะการพัฒนาเมืองไปสู่เมืองอัจฉริยะจำเป็นต้องทำอย่างต่อเนื่องไม่สามารถทำตามกระแสได้" นายประเสริฐ กล่าวทิ้งท้าย
อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง