เทคโนโลยี มีบทบาทในชีวิตประจำวัน และมันทำให้เกิด ปรากฏการณ์ Digital Disruption มันมีการเปลี่ยนแปลงเกือบทั้งโลก รวมถึงศิลปะด้วย SPRiNG News ได้สัมภาษณ์ ดอยธิเบศร์ ดัชนี ศิลปิน ในประเด็น ที่มีการตั้งคำถามว่า เทคโนโลยี AI มีส่วนทำลายจิตวิญญาณของการสร้างงานศิลปะหรือไม่ ?
SPRiNG News ได้สัมภาษณ์ ดอยธิเบศร์ ดัชนี ศิลปิน และเป็น CEO/Director: Baandam Museum ในประเด็น ที่มีการตั้งคำถามว่า เทคโนโลยี หรือ ปัญญาประดิษฐ์ AI มีส่วนทำลายจิตวิณญาณของการสร้างงานศิลปะหรือไม่ ? เพราะโลกทุกวันนี้ มีประเด็นว่า ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เหล่านี้กำลังจากทำลายศิลปิน หรือ อาชีพนักวาดหลาย ๆ คน หากพวกมันสามารถสร้างงานศิลป์ได้สวยงามและรวดเร็ว และเรียกได้ว่าแทนที่การทำงานของศิลปินได้เลย
.
โดยหากจะ อธิบายถึงคำว่า AI (Artificial Intelligence) ให้เข้าใจง่ายที่สุด มันคือ ปัญญาประดิษฐ์ที่เกิดจากการประมวลผลของเครื่องจักร โดยเฉพาะประเภทระบบคอมพิวเตอร์ ทุกวันนี้ AI กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของเรา และยังถูกนำไปใช้ในด้านต่างๆ รวมถึงนำไปใช้ในการผลิตงานศิลปะดิจิทัลที่กำลังติดกระแสอยู่ในขณะนี้อีกด้วย ทว่าการสร้างสรรค์ผลงานแบบใหม่ที่ว่าก็มีข้อถกเถียงกันในหลายประเด็น และมันทดแทนฝีมืองานศิลปินจริงๆ ได้หรือไม่ ?
โดย ดอยธิเบศร์ ดัชนี ทายาทเพียงคนเดียวของอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี แสดงความคิดเห็น กับ SPRiNG News ว่า ความจริงแล้ว เทคโนโลยี มันสามารถมาทดแทนได้บางส่วน แต่มันไม่ได้ทั้งหมด 100 เปอร์เซนต์ เพราะว่าจิตวิญญาณของ งานศิลปะ มันก็ยังเป็นงานที่เกิดออกมาจากมือ หัวใจ และ สมอง จากศิลปิน ยังไงก็ยังมีเอกลักษณ์ของตัวเองอยู่ แต่จำเป็นต้องเอา เทคโนโลยีมารับใช้ให้ได้ ในการสร้างงานศิลปะ
"เรื่องศิลปะกับเทคโนโลยี มันอาจเหมือนคนละเรื่อง แต่มันคือเรื่องเดียวกันอยู่ ถ้ามองย้อนกลับไป งานศิลปะที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก ยังเป็นงาน traditional เดิม มันเป็นเรื่องที่มีชื่อเสียงจนถึงปัจจุบัน"
แต่พอช่วงปรากฏการณ์ Digital Disruption มันมีการเปลี่ยนแปลงเกือบทั้งโลก รวมถึงศิลปะด้วย ซึ่งเราต้องยอมรับว่า ศิลปินรุ่นเก่ากำลังจะตาย ขณะเดียวกันศิลปินรุ่นใหม่ กำลังจะเกิด มันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายในวงการศิลปะ
แต่ในขณะเดียวกัน ที่ผ่านมา ผมลุกขึ้นมาทำงาน Thailand Digital Arts Festival , หรือเป็นงานที่เอา อิโมจิ ทำ ผมเป็นคนแรกที่เอาเทคโนโลยี เข้ามาทำงานศิลปะ เต็มรูป
ผมไม่ได้รู้สึกแปลกใหม่อะไร ในการเอา AI มาทำงาน เรารู้กันมานานอยู่แล้ว ปัญญาประดิษฐ์ มันมาแทนมนุษย์ได้จริงไหม ? มันก็ได้ แต่มันไม่ได้ทั้งหมด เพราะว่าจิตวิญญาณของ งานศิลปะ มันก็ยังเป็นงานที่เกิดออกมาจากมือ หัวใจ และ สมอง 3 ส่วนนี้ ที่เรียกว่าเป็นความงาม คราวนี้ ในความงามของคนรุ่นใหม่ จะไม่ได้รู้สึกแบบนั้น คนรู้ใหม่อาจจะรู้แบบว่า 'ผมไม่ได้สนใจงาน traditional ที่ต้องใช้มือวาด ไม่ได้สนใจงานที่ติดข้างฝา แต่ผมสนใจงาน NFT ผมสนใจ AR ผมไม่ได้แคร์เรื่องพวกนั้น' แต่ในขณะเดียวกัน งาน ปิกัสโซ่ งานแบบระดับโลก ก็ยังยขายเป็นหมื่นล้าน ดังนั้น เราจึงไม่แปลกใจว่า ตรงนี้ มันมาแทนที่ได้ไหม
ผมเชื่อว่า คงมาได้ ..แต่คงเป็นเทรนด์ เป็นกระแส แต่ถึงจุดๆหนึ่ง ในความเป็นมนุษย์ของเรา ต้องการความจับต้องได้ ... มันก็คงเข้ามาตอบโจทย์กับคนรุ่นใหม่ ผมเชื่อว่าโลกต้องควบคู่กันไปในโลกของดิจิทัลกับกายภาพ มันต้องไปคู่กัน ...อีกหน่อยงานศิลปะมันจะล่มสลายแล้ว แต่อย่าลืมว่า วันนี้ โลกความจริงก็ยังอยู่ ผมเป็นคนรวมเอาโลก physical มารวมกับดิจิทัล แล้วมันก็ไปได้
" ถึงแม้ NFT หรือ คริปโต มันจะล่มสลายๆ ต่อให้งานของ AI มันล้ำเลิศขนาดไหน มันก็ไม่มีอารมณ์ความรู้สึก ความสะเทือนเคลื่อนไหว เหมือนกับมนุษย์เป็นคนสร้าง"
• AI จะเป็นปัญหาหรือไม่ ในการสร้างงานศิลปะ ?
"ผมเชื่อว่าทุกอย่างมี 2 ขั้ว ศิลปินไม่ว่าจะรุ่นเก่าหรือรุ่นใหม่ สิ่งที่ต้องทำคือต้องปรับตัว ให้เข้ากับโลก ให้เรียนรู้เทคโนโลยี แล้วเอาเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือ ในการสร้างงานศิลปะ แทนที่มันจะเป็นโทษ ...ผมขอยกตัวอย่าง สมมุติ อาจารย์ถวัลย์ ก็วาดรูปจากมือ แต่สมมุติ อาจารย์ถวัลย์ลุกขึ้นมานำ AI ล่ะ ใช้ AI ร่วมกันสร้างงานกับมือมษุย์ อย่างศิลปินรุ่นใหม่ๆ ผมก็เห็นศิลปินออกมาทำงานกัน
อย่าคิดว่า มัน (เทคโนโลยี) เป็นปัญหา...เราต้องคิดว่ามันเป็นโอกาส ... แต่อย่าลืมว่า ศิลปะมันคือเรื่องของจิตวิญญาณ เราต้องหัดเอา เทคโนโลยี มารับใช้เรา
มันไม่ได้เป็นปัญหาหรอก มันจะเป็นปํญหาก็เมื่อคุณไม่รู้จักเขา(เทคโนโลยี) คุณต้องเปิดโลก เปิดรับ แล้วเอาประสบการณ์ตรงนี้ มารับใช้ในการสร้างงานศิลปะ มันก็จะสามารถส่งเสริมศิลปิน รุ่นใหม่ๆ ให้เติบโตมากขึ้น
ดอยธิเบศร์เน้นย้ำว่า ทุกวันนี้ ในโลกที่ทุกอย่างเชื่อมโยงกับดิจิทัล และคงไม่อาจปฏิเสธเทคโนโลยีได้ "เราปฏิเสธเทคโนโลยีไม่ได้ เราต้องเอาเทคโนโลโยีมารับใช้เราเท่านั้นเอง"