สมุนไพรมีประโยชน์มากมายในด้านการดูแลสุขภาพ สมุนไพรจึงถูกทำมาในรูปแบบของผลิตภัณฑ์สมุนไพร อย่างที่เราเห็นกันตามสื่อโฆษณา รวมถึงวางขายทั่วไปตามร้านขายยาหรือร้านสะดวกซื้อ
ผลิตภัณฑ์สมุนไพรในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะแบบเม็ด หรือแบบผงสามารถหาซื้อได้ง่าย และมีหลายยี่ห้อให้เลือก แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าผลิตภัณฑ์ที่เราซื้อนั้นเป็นของจริงได้รับการรับรองจาก อย. แล้ว วันนี้เรามีเทคนิคการซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรให้ชัวร์ไม่เจอของปลอมมาฝาก
ตรวจสอบข้อมูลว่าตรงกับอย. หรือไม่
หากเราต้องการตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่เราซื้อนั้นเป็นของจริงหรือไม่โดยเช็กจากเว็บตรวจสอบการอนุญาตของ อย. https://porta.fda.moph.go.th/fda_search_all/main/search_center_main.aspx ซึ่งเว็บนี้เราสามารถเช็กได้ทั้งอาหาร ยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สมุนไพร
ตรวจสอบชื่อ สรรพคุณและผู้ผลิต
การตรวจสอบผลิตภัณฑ์สมุนไพรควรดูชื่อ สรรพคุณ และผู้ผลิต พร้อมกับเช็กในเว็บตรวจสอบการอนุญาตของ อย. ควบคู่กันไปด้วย หากมีคำถามสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สวยด่วน อย. 1556
เนื้อหาที่น่าสนใจ :
อภัยภูเบศร เผยแนวทางใช้ยาสมุนไพรร่วมกับยาแผนปัจจุบัน บรรเทาอาการแม่และเด็กที่ติดเชื้อโควิด
คนโบราณใช้รักษาโรค!!! 5 สมุนไพร ไทยใช้เป็นยาตั้งแต่รุ่นปู่ย่า
สังเกตข้อความสรรพคุณเกินจริง
เทคนิคง่ายๆ ในการสังเกตผลิตภัณฑ์สมุนไพรคือควรสังเกต คำ หรือ ข้อความที่โอ้อวดสรรพคุณหรือ ข้อความที่เป็นเท็จ เกินจริง เช่น รักษาหายขาด ขวดเดียวเอาอยู่ ไม่ต้องทนปวดทรมานอีกต่อไป ฯลฯ ถือเป็นการโฆษณาที่โอ้อวดสรรพคุณ
ควรระวังเรื่องการกินยาสมุนไพร ร่วมกับยาแผนปัจจุบัน
สิ่งที่เราควรระวังเป็นพิเศษเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สมุนไพร คือควรระวังการเรื่องการรับประทานยาสมุนไพร ร่วมกับยาแผนปัจจุบันบางชนิด เพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาได้ (Drug interaction) เช่น แปะก๊วย (Ginkgo biloba Linn) และ กระเทียม (Allium sativum Linn) เมื่อรับประทานร่วมกับยาวาร์ฟาริน (Warfarin) มีโอกาสเลือดออกไหลไม่หยุดและอาจเกิดอันตราย ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง
Cr. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา