svasdssvasds

โควิดออสเตรเลีย คะแนนนิยมนายกร่วง เพราะล็อกดาวน์ใช้อำนาจเกินขอบเขต?

โควิดออสเตรเลีย คะแนนนิยมนายกร่วง เพราะล็อกดาวน์ใช้อำนาจเกินขอบเขต?

ประชาชนออสเตรเลีย เริ่มมีคำถาม กับการทำงานของนายกรัฐมนตรี สก็อตต์ มอริสัน กับประเด็นการล็อกดาวน์ที่ยาวนานและบ่อยเกินไป จนส่งผลให้เศรษฐกิจพัง โดย มาตการที่เข้มงวดจนเกินไป ทั้งที่ ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในรอบ 7 วันที่ผ่านมา เฉลี่ยติดเชื้อวันละ 300 เสียชีวิตวันละ 3 คน

ประชาชนออสเตรเลีย เริ่มมีคำถาม กับการทำงานของสก็อตต์ มอริสัน นายกรัฐมนตรีกับประเด็นการล็อกดาวน์ที่ยาวนานและบ่อยเกินไป  จนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตอันเป็นปกติของประชาชนที่พึ่งมีทุกคน
.
โดย มาตรการการจัดการโควิด-19 ของออสเตรเลีย สร้างความเดือดร้อนในวงกว้าง ประชาชนมากกว่า 15 ล้านคนต้องได้รับความเดือดร้อน จากประชากรทั้งประเทศที่มี 25 ล้านคน โดย ปัจจุบัน ออสเตรเลีย ฉีดวัคซีนโควิด-19 เกือบ 14 ล้านโดสแล้ว คิดเป็น  27.3 เปอร์เซนต์ของจำนวนประชากรทั้งหมด
.
ผลสำรวจเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา  ซึ่งจัดทำโดยนิวส์โพล ระบุว่า คะแนนนิยมของนายสก็อตต์ มอร์ริสัน นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ปรับลดลงแตะ 47% ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่ที่ โรคโควิด-19 เริ่มแพร่ระบาดในออสเตรเลีย

สาเหตุที่ผลสำรวจความนิยมของสก็อตต์ มอริสันดิ่งลง เนื่องจากประชาชนไม่พอใจมาตรการล็อกดาวน์ที่ประกาศหลายครั้งหลายหน ขณะเดียวกันรัฐบาลยังฉีดวัคซีนป้องกันโควิดให้ประชาชนได้ล่าช้าด้วย ซึ่งแม้ครั้งหนึ่งสก็อตต์ มอริสัน เคยออกมาขอโทษประชาชนแล้ว แต่นั่นก็ยังไม่เพียงพอ และไม่ดีพอที่จะยับยั้งความโกรธแค้นของประชาชนที่เจอผลกระทบจากล็อกดาวน์ที่บ่อยและยาวนาน

scot morison

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สก็อตต์ มอร์ริสัน  นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ถูกวิพากษ์วิจารณ์ โดนสาดคำโจมตี อย่างหนักจากโครงการฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่ล่าช้า ซึ่งผู้วิจารณ์มองว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้ออสเตรเลียล็อกดาวน์บ่อยครั้ง เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลต้า

ทั้งนี้ รัฐวิคตอเรีย รัฐใหญ่ของออสเตรเลีย เข้าสู่การล็อกดาวน์เป็นครั้งที่ 6 แล้ว เมื่อสัปดาห์ก่อน หลังสิ้นสุดการล็อกดาวน์ครั้งก่อนไม่กี่สัปดาห์ ขณะที่เจ้าหน้าที่ในรัฐพยายามเร่งสกัดการระบาดของเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลต้า โดยมาตรการล็อกดาวน์รอบปัจจุบันกำลังจะสิ้นสุดในวันที่ 12 ส.ค.นี้อีกครั้งและมีแนวโน้มสูงจะขยายออกไปอีก

ขณะเดียวกัน ออสเตรเลียได้พยายามควบคุมสถานการณ์การระบาดของโควิดสายพันธุ์เดลต้า ซึ่งนำไปสู่การล็อกดาวน์เมืองใหญ่หลายแห่ง อาทิ ซิดนีย์ บริสเบน และอดิเลด เมื่อเร็วๆ นี้  ขณะที่รัฐวิกตอเรีย ก็เพิ่งเข้าสู่มาตรการล็อกดาวน์ “แบบเร่งด่วน” เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ และนับเป็นการล็อกดาวน์ครั้งที่ 6 ของรัฐนี้แล้ว และรัฐก็เตรียมบังคับใช้มาตรการปิดพื้นที่ หรือล็อกดาวน์ ในนครเมลเบิร์น ต่ออีก 7 วัน หรือ 1 สัปดาห์อีกด้วย
.
มาตการที่เข้มและโหด แบบนี้ ส่งผลจนประชาชนเดือนร้อนมาก ทั้งที่ในความเป็นจริง มีการตั้งคำถามจากฝ่ายการเมือง และภาคประชาชนว่า รัฐภายใต้ นายกรัฐมนตรีสก็อตต์ มอริสัน ใช้อำนาจเกินขอบเขตหรือไม่ ? เพราะหากลองมองที่ตัวเลข ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในรอบ 7 วันที่ผ่านมา ออสเตรเลีย มีผู้ติดเชื้อแค่ 2,180 ขณะที่มียอดผู้เสียชีวิต 7 วันหลังสุด รวมกัน 18 คน จากการรายงาน www.worldometers.info/coronavirus/#main_table

officeraus

แต่ในทางกลับกัน มาตรการล็อกดาวน์ของออสเตรเลียนั้นโหดมาก อาทิ ออกไปซื้อของที่จำเป็นได้ แต่ให้ออกมาทำกิจกรรมนอกบ้านได้เพียง 2 ชั่วโมง ในรัศมีไม่เกิน 5 กม. ใส่หน้ากากตลอดเวลาทั้งในและนอกอาคาร เป็นต้น
.
มาตรการที่โหดและเข้มในการจัดการโควิด-19 ของออสเตรเลีย ดูเหมือนจะไม่ได้คำนึงความยากลำบากยากแค้นในการใช้ชีวิตของประชาชนเลย เพราะ เฉลี่ยแล้ว ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา โควิด-19 ทำคนออสซี่ ตายวันละ 3 คน ติดเชื้อประมาณ 300 คนต่อวัน แต่มาตรการล็อกดาวน์นั้นโหดร้ายเกินไป และนั่นจะส่งผลให้ ปัญหาเศรษฐกิจตามมาอย่างมากมาย
.
มาตการล็อกดาวน์ของออสเตรเลียโหดร้าย เข้มงวด ทำให้ประชาชนมีการตั้งคำถามว่า เมื่อรัฐใช้อำนาจมากขนาดนี้ และมาใช้อำนาจด้วยข้ออ้างเพื่อไม่ให้มีการระบาดของโรค เป็นเรื่องเกินกว่าเหตุหรือไม่ ใช้อำนาจที่มีเกินไปหรือไป ? ...ในช่วงที่ผ่านมา เริ่มมีการปะทะกันบ้างประปรายระหว่าง เจ้าหน้าที่รัฐของออสเตรเลีย กับ ประชาชนที่เริ่มไม่เห็นด้วย และทนไม่ได้แล้วกับการล็อกดาวน์  แต่สถานการณ์ในออสเตรเลียยังไม่รุนแรงเท่ากับฝั่งยุโรปอย่างในฝรั่งเศสและอิตาลี ที่ภาคประชาชนออกมาท้วงสิทธิ์ในการใช้ชีวิตตามปกติ อันพึ่งมี

การต่อสู้ของประชาชนที่เดือดร้อนจากการล็อกดาวน์ในออสเตรเลีย มันคือการต่อสู้ของสิทธิที่จะใช้ชีวิตในวิถีมนุษย์  และนี่คือปรัชญาแนวคิดที่สูงไปกว่าการมองแค่การบังคับให้คนอยู่กับบ้าน และนี่คือการต่อสู้เพื่อเอาวิถีชีวิตมนุษย์คืนมา
.
...และไม่ว่าจะรัฐบาลใด ก็ไม่ควรใช้ อำนาจเกินขอบเขต โดยอ้างเรื่องโรคระบาดและสุขภาพประชาชน.
 

related