รู้หรือเปล่า การทำประมงเกินขนาดเริ่มมาจากความต้องการน้ำมันตะเกียง พร้อมทำความเข้าใจทำไมสัตว์น้ำวัยอ่อนถึงสำคัญ วิกฤตอาหารทะเลไทยกำลังมาถึงจริงเหรอ?
อาหารทะเล เป็นประเภทอาหารที่หลายคนเลิฟมาก ทั้งอร่อยและเริ่มมีดาษดื่นตามท้องตลาด แต่คุณรู้ไหมว่า อาหารทะเลกำลังเกิดวิกฤตขาดแคลนเพราะการจับปลาในปริมาณที่มากเกินไปและปัญหาการจับสัตว์น้ำวัยอ่อนที่ยังไม่ควรนำมาบริโภค บทความนี้ Spring ชวนทำความเข้าใจทำไมปลาทะเลกำลังวิกฤต และชวนย้อนอดีตส่องจุดเริ่มต้นของการจับปลามากเกินไปว่าเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่?
วิกฤตอาหารทะเล
วิกฤตความมั่นคงทางอาหาร เชื่อหรือไม่ว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้เปรียบในด้านกาารมีอยู่ของทรัพยากรอาหารที่อุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะสัตว์น้ำมากมายที่ใช้สอยได้อย่างไม่อั้น แต่ก็ต้องมีความพอดีกันบ้างนะ หากเราผลาญทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะสิ่งมีชีวิตที่แม้มีจำนวนมหาศาล วันหนึ่งมันอาจจะไม่มีให้เราบริโภคก็ได้
เคยคิดไหมว่า 'ยังไงปลาคงไม่หมดทะเลหรอก' เพราะมันเป็นสิ่งมีชีวิตที่ขยายพันธุ์ได้รวดเร็วและท้องทะเลนั้นก็กว้างใหญ่ จนไม่ผิดเลยที่จะเชื่อว่า ปลาในทะเลไม่มีวันหมดโลก แต่คุณเชื่อมั่นในความสามารถของมนุษย์ไหมล่ะ
มนุษย์เราก้าวหน้าไปทุกวันด้วยการใช้สอยทรัพยากรที่ธรรมชาติสร้างไว้ แม้ว่าจะทดแทนคืนไปบ้างแล้ว แต่นั่นยังไม่ได้ครึ่งหนึ่งของทรัพยากรที่ใช้ไปทั้งหมดเลย และรู้ใช่ไหมว่ากว่าธรรมชาติของเราจะสร้างสรรค์สิ่งต่างๆขึ้นมาได้นั้น ใช้เวลาเท่าไหร่? 10ปี? 20ปี? 100ปี? ทรัพยากรบางอย่างก็มีอายุยาวนานกว่านั้นเป็นล้านเท่าเลยแหละ
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
เช็กที่นี่ สัตว์น้ำวัยอ่อน ต้องมีขนาดเท่าไหร่ถึงบริโภคได้นะ?
สำรวจสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ 10 สายพันธุ์แห่งปี 2021 ที่ต้องเร่งอนุรักษ์แล้ว!
ประมงพื้นบ้านล่องเรือบุกเจ้าพระยา รณรงค์งดจับ-ซื้อ-ขายสัตว์น้ำวัยอ่อน
มนุษย์เรารู้ตัวนะ ว่ากำลังทำอะไรอยู่ แต่เพราะมันไม่ได้กระทบจวนตัวมากนักน่ะสิ เราเลยไม่ทำอะไร หรือทำแล้วแต่มันยังไม่มากพอ หลายประเทศจึงมีมาตรการในการกำหนดปริมารการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างจำกัด เพื่อไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์
แต่นั่นไม่ใช่ทั้งหมดที่เกิดขึ้นทั่วโลก ประเทศส่วนใหญ่ยังคงดำเนินอุตสาหกรรมประมงเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ ซึ่งตรงนี้เองที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล หากมองตามกลไกตลาดก็ดูไม่ผิดแปลกอะไร เพราะความต้องการอาหารจากท้องทะเลนั้นมีมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ในด้านของการบริโภคอาหารทะเล
แล้วการจับสัตว์น้ำในปริมาณมากนี้ เริ่มเมื่อไหร่?
ต่างประเทศ
การประมงเริ่มมีมาตั้งแต่ยุคสมัยโบราณที่เริ่มทำความรู้จักกับการล่าสัตว์เพื่อเอาเนื้อ ข้อมูลจาก National Geographic และ kids.britannica ได้เผยแพร่บทความในด้านประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกาในด้านของการประมงพาณิชย์ไว้ว่า การทำประมงเกินขนาดเริ่มรุนแรงขึ้นในช่วงต้นศตวรรษ 1800 เมื่อมนุษย์เราแสวงหาน้ำมันตะเกียง และทราบมาว่า น้ำมันที่สกัดจากวาฬสามารถช่วยได้มนุษย์จึงเริ่มประเพณีออกล่าประชากรวาฬในบริเวณรอบๆ Stellwegen Bank นอกชายฝั่งเคป คอด ในสหรัฐอเมริกา
ในช่วงนั้น ปลาค็อดแอตแลนติก ปลาเฮอริ่งและปลาซาร์ดีนของแคลิฟอร์เนีย ก็ถูกเก็บเกี่ยวขึ้นมาจำนวนมากจนทำให้พวกมันเกือบใกล้สูญพันธุ์ไปแล้วครั้งหนึ่งในช่วงกลางศตวรรษที่ 1900
ซึ่งการเก็บเกี่ยวในทะเลเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากภาวะขาดแคลนอาหารในะดับภูมิภาค และหลังจากเก็บได้เยอะ ผู้ล่าก็เล็งเห็นว่ายิ่งปริมาณเยอะยิ่งคุ้มค่ากับการออกเรือไปล่ามากขึ้น จึงเกิดวิกฤต overfishing ดังกล่าว แต่พวกเขาไม่อาจรู้ได้เลยว่านั่นจะทำให้ห่วงโซ่อาหารของมนุษย์สั่นครอนเข้าไปอีก และความมั่นคงอาหารเริ่มไม่แน่ไม่นอนมากขึ้นในปลายศตวรรษที่ 2
ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกต้องการทำให้มั่นใจมากขึ้นว่าประเทศของตนมีอาหารที่มีโปรตีนสูงเพียงพอและสามารถหาซื้อได้ทั่วไป การอุดหนุนและเอื้ออำนวยให้เกิดอุตสาหกรรมการทำประมงเชิงพาณิชย์จึงเริ่มต้นขึ้น
อุตสาหกรรมประมงพาณิชย์แพร่หลายอย่างรวดเร็วในการครอบครองน่านน้ำ และก็แทนที่ประมงท้องถิ่นไปอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน และสัตว์น้ำก็กลายเป็นแหล่งอาหารยอดนิยมพอ ๆกับสัตว์บกอย่างหมูและไก่ตลอดมา
ประเทศไทย
ประเทศไทยมีชายฝั่งทะเลใน 23 ชายฝั่ง เมื่อปี พ.ศ.2504 เรืออวนลากมีประสิทธิภาพในการจับสัตว์น้ำในอ่าวไทยได้ชั่วโมงละ 298 กิโลกรัม แต่ต่อมา ในปี พ.ศ.2555 ลดลงเหลือชั่วโมงละ 18.2 กิโลกรัมเท่านั้น ซึ่งปริมาณปลาที่จับได้ยังเป็นลูกปลาเศรษฐกิจที่ยังไม่โตเต็มวัยถึงร้อยละ 34.47
และปัจจุบันอัตราการจับปลาที่มีปริมาณสูงนั้น ไม่ได้หมายความว่าปริมาณประชากรปลาในทะเลไทยมีมากขึ้นแต่อย่างใด แต่เป็นเพราะใช้วิธีการทำประมงแบบลายล้างต่างหากที่ทำให้อาหารซีฟู้ดแพร่หลายไปยังหลายพื้นที่ทั่วประเทศในปริมาณมาก
การประมงเกินขนาด (Overfishing)
เทคโนโลยีได้ปฏิวัติวิธีการตกปลาสมัยใหม่ ปัจจุบัน เรือหลายลำมีอุปกรณ์ลากอวนขนาดใหญ่ ระบบนำทางด้วยดาวเทียม เครื่องทำความเย็น และอุปกรณ์แปรรูปบนดาดฟ้า ทำให้สามารถหาปลาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จับปลาได้จำนวนมากอย่างรวดเร็ว และอยู่ในทะเลได้นานขึ้น ประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น ความต้องการอาหารทะเลที่เพิ่มขึ้น และเงินอุดหนุนจากรัฐบาลทำให้ชาวประมงจับปลาได้มากขึ้น ซึ่งมักจะอยู่เหนือระดับที่ยั่งยืน
จนทำให้เกิดปัญหาการทำประมงเกินขนาด หรือ Overfishing และการที่อวนกวาดทุกอย่างใต้น้ำในขณะที่เรือผ่านนั้นก็ได้กวาดต้อนสัตว์น้ำที่เราไม่ต้องการมาด้วย เช่น กระเบน ฉลาม โลมา และสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ เช่น เต่า เป็นต้น
ปัญหาการจับสัตว์น้ำวัยอ่อนคือผลพลอยได้ของประมงพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่ใช้อวนลาก ทำให้ลูกปลาเศรษฐกิจที่ยังไม่โตเต็มที่ติดมาด้วย แต่พวกมันก็ไม่ได้หนีรอดไปไหนได้ เพราะลูกปลาเหล่านี้มีอุตสาหกรรมรองรับ เช่น น้ำปลาไปบดเป็นอาหารสัตว์ขายทางช่องทางออนไลน์หรือแม้กระทั่งจับไปบริโภคปรุงสุกเป็นผลลอยได้ของอาหารแต่ละเมนูไป
สิ่งเหล่านี้เองที่ทำให้อาหารทะเลของโลกสั่นครอน เพราะการจับสัตว์น้ำวัยอ่อนหรือลูกปลา ทำให้พวกมันมีโอกาสเติบโตและขยายสายพันธุ์ต่อได้ลดน้อยลงไป และยิ่งไปกว่านั้นระบบนิเวศโดยรอบจะเสื่อมคุณภาพลงไปเรื่อย ๆ เนื่องจากขาดแคลนสิ่งมีชีวิตที่ควรจะมี
แล้วจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเราจับปลามากเกินไป?
วิธีแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน
การจะทำประมงให้มีความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั้น ต้องมีการจัดการที่เข้มแข็งและเด็ดเดี่ยว และรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหานี้ในการตรวจตรา กำหนด และคุมเข้มกฎหมาย เพื่อป้องกันการทำประมงที่ผิดกฎหมาย
หมั่นประเมินและตรวจเช็คราคาอาหารทะเล ติดตามเก็บข้อมูลระบบนิเวศ ประชากร ขนาดรูปร่างลักษณะ และการเดินเรือทั้งพื้นบ้านและพาณิชย์
เว้นช่วงให้ระบบนิเวศฟื้นฟูตัวเอง จำกัดพื้นที่และปริมาณการจับปลาอย่างพอดีและยุติธรรม ในส่วนของภาคประชาชนก็ช่วยกันเป็นหูเป็นตา ศึกษาข้อมูล หากพบเจอการจับสัตว์น้ำวัยอ่อนก็ขอให้เลี่ยงหรือแจ้งศูนย์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทันที หรือหากพบการประมงผิดกฎหมายก็แจ้งตำรวจให้ประสานงานได้เลย
ที่มาข้อมูล
https://www.greenpeace.org/static/planet4-thailand-stateless/2021/07/
https://www.seafoodwatch.org/seafood-basics/sustainable-solutions/avoid-overfishing
https://www.nationalgeographic.com/environment/article/critical-issues-overfishing
https://www.worldwildlife.org/threats/overfishing
https://kids.britannica.com/students/article/overfishing/631895
https://www.abc.net.au/science/articles/2009/05/25/2579788.htm