svasdssvasds

นกแก้วมาคอว์สปิกซ์บินกลับเข้าป่าแล้ว หลังหายตัวไป 20 ปี

นกแก้วมาคอว์สปิกซ์บินกลับเข้าป่าแล้ว หลังหายตัวไป 20 ปี

กลับมาแล้ว นกแก้ว Spix's Macaw สีน้ำเงินหรือนกแก้วมาคอว์ที่หายออกจากป่า จนมีประกาศสูญพันธุ์ไปแล้วเมื่อ 20 ปีก่อน จนตอนนี้มันได้กลับเข้าป่าอีกครั้ง เพื่อฟื้นฟูประชากร

เป็นเวลากว่า 20 ปีที่นกแก้วสปิกซ์มาคอว์ (Spix’s Macaw) ตัวสุดท้ายถูกพบเห็นในป่า และองค์กรบางแห่งก็ประกาศว่าพวกมันสูญพันธุ์และหายออกไปจากถิ่นป่าเดิมอย่างบราซิลตลอดกาล เรื่องราวของมันถูกเลือนหายไปตามกาลเวลา จนเราได้รู้จักพวกมันมากยิ่งขึ้นจากภาพยนต์แอนิเมชัน Rio (2011) การผจญภัยของ บลู นกมาคอว์เพศผู้ตัวสุดท้ายของบราซิลที่ต้องเผชิญกับการค้าสัตว์ผิดกฎหมายและมลพิษหลายด้านจากมนุษย์ เพื่อที่จะได้พบกับ จีเวล (Jewel) นกมาคอว์ตัวเมียสายพันธุ์เดียวกันตัวสุดท้าย เรื่องนี้สะท้อนให้เราได้เห็นว่ามาอคว์ถูกคุกคามอย่างไร แม้ตอนจบจะดูดีมีความสุข แต่ในเรื่องความเป็นจริงกลับไม่เป็นอย่างนั้น

Rio (2011)

นกแก้วมาคอว์สปิกซ์ (Spix การค้นพบมาคอว์สปิกซ์ (Spix's Macaw)

นกมาคอว์ Spix ได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่นักชีววิทยาชาวเยอรมัน Johann Baptist Ritter von Spix ผู้รวบรวมตัวอย่างชนิดพันธุ์นกครั้งแรกในปี 1819

ในขณะนั้นพวกมันถูกขนานนามว่าเป็นนกที่หายากและความสวยงามที่มาพร้อมความลึกลับ แน่นอนการบรรยายเช่นนี้นำไปสู่ผู้คลั่งไคล้นก ผู้คนที่ได้ยลโฉมของพวกมันนั้นจะกลายเป็นช่วงนาทีทองทันที แม้ว่าพวกมันจะพบตัวยากในธรรมชาติก็ตาม แน่นอน พวกมันก็เริ่มกลายเป็นเหยื่อมากขึ้นในศตวรรษที่ 19 ในขณะที่การทำฟาร์มแผ่ขยายไปทั่วอเมริกใต้ บ้านเกิดของนกแก้ว

ทันทีที่จำนวนของพวกมันลดลงอย่างรวดเร็ว มันส่งผลร้ายมากกว่าเดิม แทนที่จะมีการอนุรักษ์เพิ่มขึ้น แต่ยิ่งใกล้สูญพันธุ์นักสะสมยิ่งต้องการพวกมันมากขึ้นเท่านั้น นักชีววิทยา ทอม ไวท์ (Tom White) จาก US Fish and Wildlife Service และที่ปรึกษาด้านเทคนิคของโครงการกู้ภัยกล่าวว่า “พวกมันกลายเป็นของหายากและด้วยเหตุนี้บุคคลที่ไร้ยางอายจึงตัดสินใจที่จะพยายามนำบางส่วนที่เหลืออยู่ในป่าไปเป็นคอลเลกชันส่วนตัวของตัวเอง”

ย้อนไปยังเรื่องราวชีวิตของมาคอว์ตัวสุดท้าย

จากการตรวจดีเอ็นเอในขนที่ลอกคราบไว้ของมาคอว์ตัวสุดท้าย ปี 1990 นักวิจัยในสหราชอาณาจักรยืนยันว่า นกป่าตัวสุดท้ายเป็นเพศผู้และเป็นเพียงตัวเดียวที่พบ มันอาศัยอยู่ในป่าใกล้กับเมืองเล็ก ๆ ที่เต็มไปด้วยฝุ่นควันทางตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิล

ในขณะนั้นเป็นที่ทราบกันดีว่า มีนกน้อยกว่า 30 ตัวถูกเก็บไว้ในสวนสัตว์ทั่วโลก และมีการตัดสินใจที่จะปล่อยตัวเมียเพียงตัวเดียวด้วยความหวังว่านกจะจับคู่กันและให้กำเนิดลูกหลาน ตัวมียได้รับการปล่อยตัวใกล้ๆกับที่ตัวผู้อาศัยอยู่ และดูเหมือนเป็นสัญญาณที่ดีที่พวกมันสามารถปรับตัวเข้าหากันได้

นกมาคอว์ตัวเมียปรับตัวอย่างรวดเร็ว กินอาหารจากป่าและหลีกเลี่ยงการโจมตีของเหยี่ยม เธอแข็งแกร่งขึ้นทุกวัน บินได้ไกลขึ้น และหลังจากนั้นเพียง 2 เดือน เธอก็จับคู่กับตัวผู้ แต่ 2 สัปดาห์ให้หลังเธอก็หายตัวไปอย่างลึกลับ และไม่กี่ปีต่อมามาคอว์ตัวผู้ก็หายตัวไปเช่นกัน

หลายปีต่อมา ชายในท้องที่กล่าวว่า เขาพบนกตัวนั้นตายอยู่ที่ใต้สายไฟ ซึ่งถ้านั่นเป็นเรื่องจริง ก็ถือว่านี่เป็นเรื่องนี่เลวร้ายอย่างเหลือเชื่อ ซึ่งนักอนุรักษ์ไม่เคยได้ยินมาก่อนว่านกแก้วจะชนกับสายไฟ หรือในความเป็นจริงเธออาจจะถูกลักลอบจากกลุ่มล่าสัตว์ เรื่องนี้ไม่มีใครรู้

ไปย้อนดูความน่ารักสดใสของเจ้าบลูได้ใน Disney+ hotstar มีทั้ง 2 ภาคเลย

ภัยคุกคามของนก

การหายตัวไปของมาคอว์มีหลายปัจจัย ซึ่งส่วนใหญ่มาจากผีมือมนุษย์ อาทิ

  • การลักลอบล่าและค้าสัตว์
  • มลพิษทางอากาศ
  • การขยายตัวของเมืองและฟาร์ม
  • การทำปศุสัตว์ที่กินพื้นที่ป่าจนทำให้ถื่นที่อยู่แคบลง
  • การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

การกลับมาอีกครั้งของสายพันธุ์ลึกลับและสวยงาม

มาวันนี้ พวกมันได้กลับมายังบ้านของพวกมันอีกครั้ง จากการอนุรักษ์ในโครงการช่วยเหลือระดับนานาชาติที่น่าทึ่ง แต่ยังคงต้องเฝ้าระวังจากภัยหลายด้านที่เรายังมองไม่เห็น การกลับมาครั้งนี้สร้างความหวั่นใจและดีใจในคราเดียวกันให้กับนักอนุรักษ์ เราทั้งดีใจที่พวกมันกลับมาเพื่อยืนยันและแสดงให้เราเห็นว่าพวกมันไม่ได้หายไป

แต่ในอีกแง่มุมหนึ่งในความกังวลใจของนักอนุรักษ์ พวกเขาเชื่อว่าการคุกคามของพวกมันมันยังมีอยู่  รวมไปถึงความปลอดภัยของพื้นที่ที่ยังคงมลพิษบางอย่างเอาไว้ จึงเกรงว่าพวกมันอาจจะหายตัวไปได้ทุกเมื่อ

ภารกิจกู้ชีพมาคอว์

ภารกิจนี้ได้ทำการเพาะพันธุ์พวกมันขึ้นมาอีกครั้งจากความพยายามตั้งแต่ปี 2016 ที่อ้างอิงการเพาะพันธุ์จากนกมาคอว์ตัวสุดท้าย จนนำไปสู่ความสำเร็จที่ขยายพันธุ์ของพวกมันได้ โดยต่อมาในปี 2018 มิเชล เทเมอร์ ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของบราซิล ได้ลงนามในพระราชกฤษฎีกาที่จัดตั้งศูนย์พักพิงสัตว์ป่ามาคอว์ในรัฐบาเฮียทางตะวันออกเฉียงเหนือ ขณะที่โครงการเพาะพันธุ์จะใช้นกแก้วจากของสะสมส่วนตัวได้จัดตั้งขึ้นตามศูนย์ต่างๆ ทั่วโลก โดยผู้ดูแลหลักของโครงการนี้คือ องค์กรในเยอรมนีที่ชื่อว่า Association for the Conservation of Threatened Parrotsฃ

ก่อนหน้านี้มันถูกเพาะเลี้ยงที่เบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี และได้ปล่อยบางตัวที่แข็งแรงสู่ป่าบราซิลเมื่อเดือนที่ผ่านมา และพวกมันยังมีชีวิตรอด

ในความเป็นจริงนกมาคอว์ไม่ได้หายไปไหนเลย เพียงแค่ถูกกระจายจำนวนเล็ก ๆ ไปยังกรงของสวนสัตว์ในหลาย ๆ แห่งทั่วโลก แต่ที่หายสาบสูญไปนั้นเป็นนกตามธรรมชาติที่อาศัยในป่าบราซิลตัวสุดท้ายที่หายไป และเราไม่ได้เห็นพวกมันอีกเลย

พันธุศาสตร์สมัยใหม่คือฮีโร่

เมื่อคุณพยายามสร้างจำนวนสัตว์จากประชากรที่รอดชีวิตจำนวนน้อยมาก การผสมพันธุ์อาจเป็นปัญหาที่แท้จริง อย่างไรก็ตาม เทคนิคที่ใช้ในการตรวจสอบสถานะทางพันธุกรรมของนกเหล่านี้มีความซับซ้อนมาก และอนุญาตให้พ่อพันธุ์แม่พันธุ์จับคู่นกได้อย่างระมัดระวัง

การเพาะพันธุ์นกแก้วหลายร้อยตัวในกรงขังไม่ใช่เรื่องง่าย การผสมเทียมช่วยให้เราผลิตลูกนกได้ง่ายขึ้น ซึ่ง ไวท์กล่าวว่า นกมาคอว์ของ Spix ที่เรามีตอนนี้เป็นผลสุดท้ายของการผสมพันธุ์แบบเชลยศึกและนั่นจะทำให้ทักษะการเอาชีวิตรอดตามสัญชาตญาณของพวกเขาหายไปหรือก็หมายความว่า เราจะไม่บังคับพวกมันในการผสมพันธุ์ เพราะการบังคับผสมเทียมจะทำให้สายพันุ์ผิดเพี้ยนได้ ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมของพวกมันที่อาจดูเหมือนไม่เป็นไปตามธรรมชาติหรือสัญชาตญาณ

จะเป็นอย่างไรต่อไป

ขณะนี้นกแต่ละตัวติดแท็กด้วยเครื่องส่งวิทยุกำลังได้รับการตรวจสอบอย่างรอบคอบ ซึ่งไวท์คาดว่าจะมีการปล่อยตัวนกมาคอว์สปิกซ์อีก 12 ตัวในเดือนธันวาคมหากทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยดี

นกที่ปล่อยออกไปอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ นอกจากนี้เพื่อให้แน่ใจความยั่งยืน จะมีการติดตั้งโพรงหลายแห่ง ทั้งแบบธรรมชาติและแบบประดิษฐ์ในพื้นที่เพื่อกระตุ้นให้นกเริ่มผสมพันธุ์ในปีหน้าและท้ายที่สุดก็หวังว่าพวกมันจะขยายพันธุ์และสามารถดำรงในป่าต่อไปได้ยาวนานมากขึ้น

ดังนั้น ถ้าไม่อยากให้พวกมันหายไปอีก สังคมจึงจำเป็นที่จะต้องจับตามองและเผยแพร่เรื่องราวคุณค่าของพวกมันออกไป การอนุรักษ์ไม่เพียงแค่คงความเป็นอยู่ของสัตว์ชนิดนั้น ๆ ไว้เท่านั้น แต่ยังสามารถคงความสมบูรณ์ของธรรมชาติที่เป็นถิ่นที่อยู่ดั้งเดิมของพวกมันไว้ได้ด้วย

ที่มาข้อมูล

https://www.theguardian.com/environment/2022/jul/10/extinct-parrots-make-a-flying-comeback-in-brazil?

https://www.science.org/content/article/two-decades-vanished-stunning-spixs-macaw-returns-forest-home

https://petmaya.com/spixs-macaw-extinction

https://www.spixs-macaw.org/

https://www.birdlife.org/news/2018/09/05/spixs-macaw-heads-list-first-bird-extinctions-confirmed-this-decade/

related