เพนกวินจักรพรรดิ กำลังเสี่ยงสูญพันธุ์จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ส่งผลกระทบโดยตรงกับวงจรการสืบพันธุ์ การวางไข่และการอยู่อาศัย รวมถึงการลดลงของแหล่งอาหารหลัก
เพนกวินจักรพรรดิตัวใหญ่อ้วนกลมที่เดินเตาะแตะ เตร็ดเตร่ยู่บนแผ่นน้ำแข็งอันเยือกเย็นของทวีปแอนตาร์กติกาและว่ายไปมาในทะเลอันเย็นยะเยือก พวกมันถูกผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันแอนตาร์กติกแห่งอาร์เจนตินา (IAA) ประเมินว่ามีโอกาสเสี่ยงสูญพันธุ์ในอนาคต อย่างมากในอีก 30-40 ปีข้างหน้า อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
แม้ว่าการหายตัวไปของเพนกวินปีละหลายๆตัวอาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของพวกเรามากนัก แต่พวกมันก็มีหน้าที่ทางอ้อมในการรักษาสมดุลของระบบนิเวศทางทะเล และถือว่าเป็นผู้พิทักษ์แผ่นน้ำแข็งที่มนุษย์น้อยคนนักจะย่างกรายเข้าไปหาหรือไปอยู่อาศัยด้วย แต่ทว่าในปัจจุบันมนุษย์ได้เริ่มย่างกรายเข้าไปแล้ว และก่อกำเนิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลายอย่างบนพื้นที่ของพวกมัน
เพนกวินจักรพรรดิ เป็นนกเพนกวินที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็น 1 ใน 2 สายพันธุ์ของนกเพนกวินที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอนตาร์กติกา พวกมันมักให้กำเนิดลูกน้อยในฤดูหนาว และต้องการน้ำแข็งจำนวนมากตั้งแต่เดือนเมษายนถึงธันวาคมเพื่อทำรังให้ลูกของพวกมันที่กำลังจะลืมตาดูโลก
เพนกวินเหล่านี้ ไม่ได้มีหน้าที่แค่สร้างความน่ารักในสวนสัตว์เท่านั้น พวกมันเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศที่สำคัญของขั้วโลก และเป็นห่วงโซ่อาหารที่หลากหลายของสิ่งมีชีวิตขั้วโลกด้วย แล้วการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศจะทำให้พวกมันสูญพันธุ์ได้อย่างไร?
เนื้อหาที่คล้ายกัน
20 ปีที่ผ่านมา กรีนแลนด์สูญเสียแผ่นน้ำแข็งมากพอที่จะทำให้น้ำท่วมสหรัฐฯ
น่ารัก เพนกวินเพศเดียวกันช่วยกันดูแลไข่จนฟักออกมาสมบูรณ์ แถมกินเก่ง
เพนกวินหลงทาง จากแอนตาร์กติกา โผล่ ชายฝั่ง นิวซีแลนด์ ระยะทาง กว่า 3,000 กม.
การศึกษาใหม่พบ เมื่อปลากะตักผสมพันธุ์ จะทำให้ระบบนิเวศดีขึ้น
การเปลี่ยนแปลงในอนาคตมีอยู่ 2 ทางเลือกคือ ทะเลกลายเป็นน้ำแข็งไปจนหมด กับ ละลายก่อนเวลาอันควร สิ่งเหล่านี้ไม่ว่าทางใดทางหนึ่งจะส่งผลกระทบต่อวงจรการสืบพันธุ์ของเพนกวินแน่นอน
นักชีววิทยา มาร์เซลา ลิเบอร์เตลลี (Marcela Libertelli) ผู้ศึกษาเพนกวิน 15,000 ตัวใน 2 อาณานิคมในแอนตาร์กติกาที่ IAA กล่าวว่า หากน้ำไปถึงนกเพนกวินแรกเกิดซึ่งไม่พร้อมที่จะว่ายน้ำและไม่มีขนนกกันน้ำ พวกมันก็จะตายจากความหนาวเย็นและจมน้ำตาย
สิ่งนี้เกิดขึ้นที่อาณานิคม Halley Bay ในทะเล Weddell ซึ่งเป็นอาณานิคมของเพนกวินจักรพรรดิที่ใหญ่เป็นอันดับสอง สถานที่ซึ่งลูกเพนกวินทั้งหมดเสียชีวิตเป็นระยะเวลาสามปี
ทุกเดือนสิงหาคม ในช่วงกลางฤดูหนาวของซีกโลกใต้ มาร์เซลา และนักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ ที่ฐาน Marambio ของอาร์เจนตินาในแอนตาร์กติกาจะเดินทาง 65 กม. (40 ไมล์) ในแต่ละวันโดยมอเตอร์ไซค์สำหรับพื้นน้ำแข็งในอุณหภูมิต่ำถึง -40 องศาเซลเซียส (-40°F) เพื่อไปยังอาณานิคมเพนกวินจักรพรรดิที่ใกล้ที่สุด
หน้าที่ของพวกเขาคือ นับ ชั่งน้ำหนัก และวัดตัวลูกเพนกวิน รวบรวมพอกัดทางภูมิศาสตร์ และเก็บตัวอย่างเลือด และต้องทำการวิเคราะห์สภาพอากาศอยู่เสมอ การค้นพบของนักวิทยาศาสตร์ชี้ให้เห็นถึงอนาคตอันเลวร้ายของสายพันธุ์นี้ หากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่บรรเทาลง
ในด้านของสภาพภูมิอากาศ การคาดการณ์ชี้ให้เห็นว่า อาณานิคมที่อยู่ระหว่างละติจูด 60 ถึง 60 องศาใต้ จะหายไปในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า หรือก็คือในอีก 30-40 ปีข้างหน้า มาร์เซลาบอกกับนักข่าวรอยเตอร์
ลักษณะเฉพาะของเพนกวินจักรพรรดิ ซึ่งรวมถึงวงจรการสืบพันธุ์ที่ยาวนานที่สุดในบรรดานกเพนกวิน คือหลังจากที่ลูกเพนกวินเกิดมาในรูปแบบของไข่ ผู้ปกครองตัวหนึ่งจะทำหน้าที่อุ้มไข่ไว้ระหว่างขาเพื่อให้ความอบอุ่นจนกระทั่งพวกมันพัฒนาเป็นขนนกและฟักออกมาดูโลกภายนอก
"การหายตัวไปของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดเป็นโศกนาฏกรรมสำหรับโลก ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ พืชหรือสัตว์ ไม่สำคัญ มันเป็นการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ" มาร์เซลา
การหายตัวไปของเพนกวินจักรพรรดิอาจส่งผลกระทบอย่างมากทั่วทั้งทวีปแอนตาร์กติกา ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่รุนแรง ห่วงโซ่อาหารมีสมาชิกน้อยลงและมีความเชื่อมโยงน้อยลง
เมื่อต้นเดือนเมษายน องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกเตือนว่า อุณหภูมิสูงขึ้นมาก ประกอบกับปริมาณน้ำฝนที่ไม่ปกติและน้ำแข็งละลายในทวีปแอนตาร์กติกาจึง มีแนวโน้มที่น่าเป็นห่วง เนื่องจากแผ่นน้ำแข็งในทวีปแอนตาร์กติกหมดลงตั้งแต่อย่างน้อยปี 1999 แล้ว
อีกทั้งการเพิ่มขึ้นของการท่องเที่ยวและการตกปลาในแอนตาร์กติกาทำให้อนาคตของเพนกวินจักรพรรดิตกอยู่ในความเสี่ยงโดยส่งผลกระทบต่อเคย ซึ่งเป็นหนึ่งในแหล่งอาหารหลักของเพนกวินและสายพันธุ์อื่นๆ และเรือท่องเที่ยวมักส่งผลเสียต่อทวีปแอนตาร์กติกา เช่นเดียวกับการประมงด้วย สิ่งสำคัญคือต้องมีการควบคุมมากขึ้นและเราต้องคิดถึงอนาคตให้มากกว่านี้
ที่มาข้อมูล
https://www.reuters.com/business/environment/emperor-penguin-serious-risk-extinction-due-climate-change-2022-05-06/