ข่าวดี! พบนกหัวขวานปากงาช้างที่เคยประกาศสูญพันธุ์ไปแล้ว กลับมาทำรังในป่าหลุยเซียนา สหรัฐอเมริกา สร้างความหวังคืนชีพสายพันธุ์ที่สาบสูญ หลังพบเห็นครั้งล่าสุดในปี 1944
ถ้าหากถามว่านกหัวขวานปากงาช้างนั้นหายากแค่ไหน ก็คงเปรียบได้กับการค้นหา Bigfoot หรือสัตว์ประหลาดล็อคเนสกระมัง สำหรับสายนักดูนกหรือคนที่ชื่นชอบนกคงจะยินดีกับข่าวนี้ไม่น้อย กับการค้นพบว่านกหัวขวานปากงาช้าง ซึ่งเคยประกาศสูญพันธุ์ไปแล้ว ได้ฟื้นคืนชีพกลับขึ้นมาอีกครั้ง สร้างความยินดีให้กับนักชีววิทยาไม่น้อย
เมื่อไม่นานมีนี้มีรายงานตีพิมพ์ผลงานวิจัยแต่ยังไม่สมบูรณ์ โดยมีเนื้อหาระบุว่าอยู่ในกระบวนการสังเกตและศึกษาพฤติกรรมอยู่ ว่าพบนกหัวขวานปากงาช้าง (ivory-billed woodpecker) บนผืนป่าของรัฐหลุยเซียนา สหรัฐอเมริกา ทั้ง ๆ ที่เมื่อปีที่ผ่านมานี้เอง สหรัฐฯเพิ่งประกาศว่าพวกมันเป็นสัตว์สูญพันธุ์ไปแล้ว หลังมีคนพบเห็นครั้งล่าสุดในปีค.ศ. 1944
ในอดีต นกหัวขวานปากงาช้างมักพบเห็นได้ทั่วไปในป่าสหรัฐฯ จากแคโรไลนาไปจนถึงเท็กซัส แต่จำนวนของพวกมันลดลงมาเรื่อย ๆ เนื่องด้วยการรบกวนจากกิจกรรมของมนุษย์และการล่า การค้นพบครั้งนี้เปรียบเสมือนความหวังที่จะนำพวกมันมาอนุรักษ์ให้สืบสายพันธุ์ต่อไปได้ โดยนักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบนั้นพยายามจะไม่บอกตำแหน่งที่อยู่ของพวกมันแบบชัดเจนลงในรายงานเพื่อจะได้ไม่มีใครตามไปล่าพวกมันได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นกวางไข่เร็วขึ้น พฤติกรรมนกเปลี่ยนไปเพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ
NFTs เพื่อป่าแอมะซอน บริษัทในบราซิลผุดไอเดียขาย NFTs ระดมทุนฟื้นฟูแอมะซอน
สัตว์สูญพันธุ์จำนวนมากในรอบ 100 ปี และจะเพิ่มขึ้นอีกด้วยน้ำมือมนุษย์
สำรวจสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ 10 สายพันธุ์แห่งปี 2021 ที่ต้องเร่งอนุรักษ์แล้ว!
นักวิทยาศาสตร์กลุ่มผู้ค้นพบได้ปีนเขาผ่านป่าชื้นของรัฐลุยเซียนาและไล่ตามเสียงของนกตัวใหญ่ตัวหนึ่งเขาไปในป่า ซึ่งหลังจากนั้นก็ได้ทราบว่ามันคือนกหัวขวานที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกาเหนือที่เราคิดว่ามันสูญพันธุ์ไปแล้ว แต่พวกมันยังคงอาศัยอยู่ที่นั่น
การศึกษาและการเฝ้าสังเกตใช้ทั้งกล้องส่องทางไกล กล้องจากโดรน ไฟล์บันทึกเสียง หลักฐานการเฝ้าสังเกตนี้ยืนยันได้ว่า สมาชิกของพวกมันนั้นเหลือน้อยเต็มทีและมีจำนวนไม่มากนัก แต่โชคดีที่กล้องถ่ายภาพนั้นจับภาพถ่ายได้เพียงพอที่จะบ่งบอกถึงขนาดตลอดจนอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของพวกมันได้ ซึ่งแม้จะแยกแยะได้ยาก แต่การวิเคราะห์พวกมันด้วยการเปรียบเทียบกับนกสายพันธุ์ใกล้เคียงแล้ว
พวกมันก็ยังคงเอกลักษณ์อันโดดเด่นไว้ได้อยู่ดี ยิ่งไปกว่านั้น วิดีโอที่บันทึกภาพการใช้ชีวิตของพวกมันไว้ก็ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถสังเกตการณ์อย่างละเอียดว่าพวกมันหาอาหารมาได้อย่างไร และมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างไร
Steve Latta ซึ่งเป็นผู้นำทีมวิจัยได้พบกับเจ้านกตัวนี้และมันก็ทำให้เขาหลงใหลพวกมันเป็นพิเศษ “มันบินขึ้นไปมุมหนึ่ง และผมก็จ้องพวกมันไม่คลาดสายตาประมาณ 6-8 วินาทีได้ ซึ่งมันก็ค่อนข้างนานเลยแหละสำหรับนกหัวขวาน และผมก็ต้องรู้สึกประหลาดใจ ผมสั่นไปหมดเลยและตระหนักดีว่าได้เห็นบางสิ่งที่พิเศษซึ่งน้อยคนนักที่จะมีโอกาสได้เห็น”
นักปักษีวิทยาหลายคนมีลางสังหรณ์ว่าป่าแอ่งน้ำทางตะวันออกเฉียงใต้มีนกขี้อายแบบนี้จำนวนมากแน่ ๆ เจฟฟรีย์ ฮิลล์ นักชีววิทยาที่พยายามสอดแนมนกในฟลอริดามาตลอดตั้งแต่ปี 2005 กล่าวว่า “ไม่มีใครถือกล้องและได้ภาพมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว เพราะมันเป็นนกหายากในแหล่งที่อยู่อาศัยอันยากลำบาก และพวกเขาคงไม่ต้องการให้คนไปชิดกับพวกมัน เพราะพวกมันถูกล่ามามากกว่า 150 ปีแล้ว”
“พวกนกมีตาดีกว่าพวกเรา พวกมันอยู่บนต้นไม้สูงและหนีผู้คนอย่างแข็งขันมาตลอด พวกมันไม่ใช่นักคิดที่ดีแต่พวกมันเป็นนักพัฒนากลยุทธ์ที่ค่อนข้างง่ายเพื่อหลีกเลี่ยงผู้คน”
เกร็ดความรู้เรื่องนกหัวขวานปากงาช้าง
นกหัวขวานปากงาช้าง : Ivory-billed Woodpecker
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Campephilus principalis
วงศ์ : นกหัวขวาน (Picidae)
ฉายา : หมอรักษาต้นไม้
พบเห็นครั้งสุดท้าย : ปีค.ศ.1944
สถานะ : สูญพันธุ์ (กำลังกลับมาอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์)
แหล่งที่อยู่อาศัย : ตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกาและคิวบา
จุดเด่นด้านสรีระ : ลำตัวสีดำ ขาสั้น เล็บแหลมคม หางเป็นรูปลิ่ม มีแถบสีขาวตั้งแต่ลำคอไปถึงปลายปีก มีแถบขนหัวด้านบนเป็นสีแดงสำหรับตัวผู้ ส่วนตัวเมียจะเป็นสีดำ จงอยปากแหลมและตรงไม่โค้งงอ เหมาะสำหรับการเจาะรูตามพฤติกรรมของพวกมัน
จุดเด่นด้านพฤติกรรม : ทำรังด้วยการเจาะรูต้นไม้เป็นโพรง มักอาศัยอยู่เพียงลำพัง ถ้ามีการบุกรุกจะร้องเสียงดัง ชอบทำรังบนต้นไม้ที่มีเนื้อไม้อ่อน เช่น ต้นมะพร้าวหรือต้นปาล์ม เสียงการเจาะจะเป็นเอกลักษณ์ ดัง “ป๊อก ๆ ๆ ๆ” ทั้งใช้ทำรังและหาอาหาร
อาหาร : กินหนอน แมลงและเนื้อไม้
ที่มาข้อมูล
https://www.adventure-journal.com/2022/04/the-extinct-ivory-billed-woodpecker-not-extinct-after-all/
https://www.allaboutbirds.org/guide/Ivory-billed_Woodpecker/overview#
https://www.biorxiv.org/content/10.1101/2022.04.06.487399v1.full.pdf