เอเชีย ถือเป็นตลาดเกิดใหม่ของการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ซึ่งเติบโตอย่างรวดเร็วและเป็นที่ต้องการของตลาด แม้ว่าจะเกิดภาวะเงินเฟ้อ สงคราม โรคระบาด ก็ไม่สามารถจะต้านความต้องการได้ และแบรนด์ในเอเชียยังได้รับการยอมรับมากขึ้นเรื่อยๆ ในตลาดโลก
เป็นสัญญาณที่ดีเมื่อชาวโลกเปลี่ยนจากการใช้รถมอเตอร์ไซค์ รถยนต์ รถบัส รถเมล์ รถบรรทุก มาใช้ Electric Vehicle หรือ ยานยนต์ไฟฟ้า มากขึ้น แม้จะยังไม่มากพอที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้สภาพแวดล้อม สภาพอากาศของเราดีขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ตาม มี 4 สัญญาณชัดๆ รถพลังงานไฟฟ้า E2W & E4W ที่โลกต้องการ ผลิตในเอเชีย
สัญญาณที่ 1
การนำรถยนต์ 4 ล้อไฟฟ้า (E4W) ไปใช้อย่างแข็งแกร่งในประเทศจีน จากการที่เอเชียเร่งผลิตยานยนต์ไฟฟ้าจนเป็นตลาดเกิดใหม่
ดูจากรูปแบบการนำไปใช้งานแล้ว ตลาดยานยนต์ประเภทรถ 4 ล้อไฟฟ้า (E4W : electric four-wheelers) ในเอเชีย จะยังเติบโตอย่างแข็งแกร่ง และชัดเจนว่า จีนจะกลายเป็นเจ้าตลาด EV ที่ใหญ่ที่สุด ดูได้จากอัตราการยอมรับรถยนต์ไฟฟ้าในจีนที่จะสูงถึง 60% และจีนจะมียอดขาย EV คันใหม่ทั้งหมดมากกว่า 40% ภายในปี 2030
ในภูมิภาคเอเชียที่เป็นตลาดเกิดใหม่ การผลิต E4W จะได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยประเทศไทยและอินโดนีเซียเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ของภูมิภาคที่สำคัญอยู่แล้ว ซึ่งจะส่งผลให้การผลิต E4W เข้าไปชิงส่วนแบ่งตลาดนี้มีอัตราการเติบโตรวมกันที่ 45% ส่วนประเทศที่เป็นตลาดเกิดใหม่ในเอเชียคาดว่าจะสามารถผลิต E4W ได้มากกว่าปีละ 2 ล้านคัน ภายในปี 2030
สัญญาณที่ 2
ผู้บริโภคในตลาดเกิดใหม่อย่างเอเชียแห่ซื้อรถ 2 ล้อไฟฟ้า (E2W)
ตลาดเกิดใหม่ในเอเชียที่ปัจจุบันเป็นตัวแทนของตลาดไมโครโมบิลิตีที่ใหญ่ที่สุด คือ อินเดีย แซงหน้าจีนซึ่งเป็นเจ้าตลาดรถ 2 ล้อไฟฟ้า (E2W) ในปี 2017 ด้วยความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นและหน่วยงานกำกับดูแลที่เพิ่มแรงจูงใจให้ผู้บริโภคยอมรับ E2W มากขึ้นนี้ จะกลายเป็นรูปแบบการคมนาคมที่โดดเด่นในภูมิภาคนี้
หากเป็นไปตามฉากทัศน์ ภายในปี 2030 อินเดีย และ อินโดนีเซีย จะกลายเป็นตลาด E2W ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 และ 3 ของโลกรองจากจีน โดยจะเติบโตมากกว่าปีละ 60% และเมื่อแปลงเป็นอัตราการใช้ไฟฟ้าของรถ 2 ล้อ ภายในปี 2030 จะอยู่ที่ประมาณ 36% ในอินเดียและอาเซียน ซึ่งเมื่อเทียบกันแล้ว ไม่ถึง 1% ของการใช้พลังงานไฟฟ้าในปัจจุบัน
สัญญาณที่ 3
หน่วยงานที่กำกับดูแลกฎระเบียบ EV ในเอเชีย มีมากขึ้น
การเติบโตอย่างรวดเร็วของตลาด EV ที่ได้รับการสนับสนุนผ่านนโยบายที่แข็งแกร่ง 4 ด้าน ได้แก่ เป้าหมายการผลิต EV อย่างเป็นทางการ ข้อจำกัดในการผลิตและการขายรถเครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE : Internal Combustion Engine), สิ่งจูงใจให้ผู้บริโภคหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า และการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการชาร์จไฟฟ้า (EVCI : Electric Vehicle Charging Infrastructure)
ในภูมิภาคเอเชีย รัฐบาลแสดงความมุ่งมั่นต่อการใช้พลังงานไฟฟ้าในระดับที่ต่างกัน เช่น จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ กำหนดกรอบนโยบายที่ครอบคลุมเพื่อสนับสนุนการนำรถพลังงานไฟฟ้าไปใช้ ส่วนตลาด EV เกิดใหม่ในเอเชีย อย่างประเทศไทย ได้กำหนดนโยบายการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 3030 คัน โดยตั้งเป้าที่จะผลิตรถยนต์ภายในประเทศให้ถึง 30% ภายในปี 2030 ขณะที่
สัญญาณที่ 4
แบรนด์ EV ในเอเชียอยู่ในช่วงขาขึ้น
แบรนด์ EV ในเอเชียมีส่วนสำคัญต่อการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคในภูมิภาคนี้ และสำหรับ E4W จากจีนก็ยืนหนึ่งได้อย่างมั่นคง โดยในปี 2021 BYD rose ของจีนมีส่วนแบ่งการตลาด 5% ส่วน Hongguang Mini EV ที่ได้รับความนิยมและมีราคาเข้าถึงได้ของแบรนด์ Wuling Motors ภายใน 1 ปีหลังจากเปิดตัวก็สร้างยอดขายได้มากกว่า 400,000 คัน
ในช่วงปี 2017-2021 แบรนด์ EV ที่มียอดขายสูงสุด 20 อันดับ เป็นของเอเชียถึง 13 แบรนด์
สำหรับ E2W จะเห็นว่ามีนวัตกรรมเพิ่มขึ้นในตลาดอาเซียนและอินเดีย (จากเดิมที่ญี่ปุ่นเป็นผู้บุกเบิกหรือเจ้าแห่งนวัตกรรม) และนวัตกรรมที่เพิ่มขึ้นก็กลายเป็นแหล่งรายได้ของผู้ประกอบการท้องถิ่นในภูมิภาคดังกล่าว โดยระหว่างปี 2011-2021 มีการก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพ E2W มากกว่า 50 รายในภูมิภาคนี้ โดยแบรนด์ที่พบเห็นได้บ่อย เช่น Ola และ Ather Energy จากอินเดีย และ Beam จากสิงคโปร์
จำนวนผู้เล่นใหม่ที่ทะลักเข้ามาในตลาด EV ทำให้เกิดการแข่งขันอย่างรุนแรงและกระตุ้นให้ผู้เล่นที่ไม่ใช่ธุรกิจดั้งเดิม รุกเข้าตลาด EV ทั้งห่วงโซ่คุณค่า อย่างในประเทศไทย บริษัทผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซรายใหญ่ของไทยประกาศความร่วมมือหลายครั้งในปี 2021 เพื่อเดินหน้าเข้าสู่ระบบนิเวศ EV รวมถึงการร่วมทุนกับผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนเริ่มต้นธุรกิจ EV ในขณะเดียวกัน ก็เปิดตัวธุรกิจอีคอมเมิร์ซสำหรับตลาดรถยนต์ไฟฟ้าของตัวเองไปด้วย