svasdssvasds

รวมข่าวสิ่งแวดล้อมประจำเดือนมิถุนายน เกิดอะไรขึ้นบ้าง?

รวมข่าวสิ่งแวดล้อมประจำเดือนมิถุนายน เกิดอะไรขึ้นบ้าง?

อัพเดตสถานการณ์สิ่งแวดล้อมจากทุกมุมโลก Springnews ชวนตระหนักรู้ภัยด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นทุบวันและกำลังทวีความรุนแรงขึ้น

โลกกำลังป่วยจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ปรากฎการณ์แปลก ๆ เริ่มเกิดถี่ขึ้นและรุนแรงขึ้น โดยมีสาเหตุมาจากภาวะโลกร้อนที่ส่งผลให้โลกรวน และปัญหาทั้งหมด ส่วนหนึ่งมาจากน้ำมือมนุษย์ Springnews จึงชวนผู้อ่านมาอัพเดตสถานการณ์ลและข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อมทุกเดือน ว่าในแต่ละเดือนเกิดอะไรขึ้นบ้าง รวมข่าวสิ่งแวดล้อมประจำเดือนมิถุนายน เกิดอะไรขึ้นบ้าง?

พบอาณาเขตหญ้าทะเลที่เติบโตใหญ่ที่สุดนอกชายฝั่งออสเตรเลีย

มีการค้นพบหญ้าทะเลขนาด 200 ตารางกิโลเมตร เทียบเท่าสนามฟุตบอล 20,000 สนามเรียงต่อกัน แผ่อาณาเขตยาว 180 กิโลเมตร ในบริเวณอ่าวชาร์คเบย์ นอกชายฝั่งเมืองเพิร์ธ ทางตะวันตกของออสเตรเลีย

นอกจากนี้ บีบีซี ยังรายงานว่า หญ้าทะเลเหล่านี้ เติบโตจนกินพื้นที่กว้างขนาดนี้ เกิดมาจากเมล็ดพันธุ์เพียงเมล็ดเดียวเท่านั้น ซึ่งจุดเริ่มต้นของมันเริ่มขึ้นเมื่อ 4,500 ปีก่อน และกว่าจะโตมาได้ขนาดนี้ พวกมันใช้กว่า 4000 กว่าปีเลยทีเดียว

หญ้าทะเลมีความสำคัญต่อโลกมาก ในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ที่ไม่ดีออกไป ซึ่งเป็นอีกหนึ่งฮีโร่ช่วยโลกเลยก็ว่าได้

อ่านเพิ่มเติม >>> https://www.springnews.co.th/news/825317

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วิกฤตแล้งรุนแรงในอิรัก ทำเมืองโบราณอายุ 3,400 ปีโผล่

ปีนี้ภัยแล้งโจมตีอิรักหนัก จนทำให้น้ำในอ่างเก็บน้ำแห้งเหือดจนเมืองโบราณจากยุคสำริดอายุ 3,400 ปีโผล่ขึ้นมา สร้างความตื่นเต้นให้กับนักโบราณคดีในการเร่งขุดค้นเมืองก่อนที่น้ำจะกลับมาเต็มอีก

อิรักเป็นหนึ่งในประเทศบนโลกที่โดนผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมากที่สุด โดยเฉพาะทางตอนใต้ของประเทศที่ประสบปัญหาภัยแล้งรุนแรงมาเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว เพื่อปกป้องพืชผลทางการเกษตรจึงมีการดูดน้ำจากอ่างเก็บน้ำไปใช้ และทำให้น้ำในอ่างเริ่มแห้ง นำไปสู่การปรากฏของเมืองโบราณที่ชื่อว่า เคมูเน เมื่อประมาณ 1,500 ปีก่อนคริสตกาล

อ่านประวัติเมืองต่อได้ที่ >>> https://www.springnews.co.th/spring-life/825356

รวมข่าวสิ่งแวดล้อมประจำเดือนมิถุนายน เกิดอะไรขึ้นบ้าง?

 

ออสเตรเลียพบก๊าซมีเทนรั่วไหลจากเหมืองถ่านหินเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า

มีรายงานฉบับใหม่วิเคราะห์ว่า ออสเตรเลียอาจมีการคำนวณการปล่อยก๊าซมีเทนผิด และใรความเป็นจริงอาจมีการปล่อยก๊าซมีเทนมากกว่าปกติถึง 2 เท่า เกินค่าปริมาณที่ทางการกำหนดไว้

ประเทศออสเตรเลียอยู่ในอันดับ 2 สำหรับการส่งออกถ่านหิน และเป็นหนึ่งในผู้ปล่อยก๊าซมีเทนอันดับต้น ๆ ของโลก แต่ก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ไม่ได้ลงนามในคำปฏิญาณลดการปล่อยก๊าซมีเทน

พวกเขาคิดว่า อาจมีการนับพลาดไป 10 เท่สของปริมาณที่ปล่อยอยู่ ซึ่งปี 2020 ออสเตรเลียปล่อยก๊าซมีเทน 1.8 ล้านตัน แต่พอคำนวณใหม่พบว่ามันมากกว่านั้น 2 เท่า

อ่านข่าว >>> https://www.springnews.co.th/news/825695

นิวซีแลนด์จ่อเก็บภาษีก๊าซมีเทนที่ปล่อยจากวัว-แกะ

มลพิษจากปศุสัตว์ เช่น การเลี้ยงวัวหรือการเลี้ยงแกะ เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้โลกของเราร้อน เนื่องมาจาก ตด การขับถ่าย หรือการเรอ ของสัตว์ใหญ่เหล่านี้ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซมีเทนปริมาณมาก และโลกของเรามีประชากรวัว 10 ล้านตัวและแกะอีก 26 ล้านตัว

รัฐบาลนิวซีแลนด์เป็นหนึ่งในประเทศโมเดลในการจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ดี ที่ผ่านมา รัฐบาลนิวซีแลนด์เดินหน้านโยบายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่หลังการเลือกตั้งที่นางจาซินดา อาร์เดิร์น ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรี โดยนางจาซินด้า อาร์เดนกล่าวตั้งแต่รับตำแหน่งใหม่ๆว่า เกษตรกรของนิวซีแลนด์จะต้องเข้าร่วมโครงการซื้อ-ขายก๊าซเรือนกระจก นับตั้งแต่ต้นปี 2022

อ่านต่อ >>> https://www.springnews.co.th/news/825730

พบไมโครพลาสติกปนเปื้อนในหิมะตกใหม่ในแอนตาร์ติกา

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่าเหตุการณ์ที่น่าจะเป็นผลร้าย ต่อสิ่งแวดล้อมกับการเปลี่ยนแปลงของโลก หรือ climate change เมื่อล่าสุด งานวิจัยเผยแพร่ในวารสารไครโยสเฟียร์ จัดทำโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคนเธอร์บิวรี ประเทศนิวซีแลนด์ เก็บตัวอย่างหิมะตกใหม่จาก 19 พื้นที่ในทวีปแอนตาร์กติกา บริเวณขั้วโลกใต้ พบว่ามีไมโครพลาสติกผสมอยู่เป็นครั้งแรก และนี่นับว่า เป็นสัญญาณโลกเดินทางมาถึงจุดอันตรายแล้ว

โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคนเธอร์บิวรี ประเทศนิวซีแลนด์ พบไมโครพลาสติกเฉลี่ยราว 29 ชิ้นในหิมะละลายแล้วปริมาตร 1 ลิตร ขณะที่พลาสติกที่พบมีมากถึง 13 ชนิด แต่ไมโครพลาสติกที่พบมากที่สุดคือโพลีเอธิลีนเทอพาธาเลต หรือ เพต (PET) พลาสติกที่ใช้ผลิตขวดน้ำและเสื้อผ้า ซึ่งพบในตัวอย่างมากถึง 79 เปอร์เซ็นต์ จากตัวอย่างที่พบ

อ่านต่อ >>> https://www.springnews.co.th/news/825764

ซอสพริกศรีราชาในสหรัฐฯขาดแคลนเนื่องจากภัยแล้งทำพิษ

ซอสพริกศรีราชาเป็นแบรนด์ซอสเผ็ดร้อนที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา แต่ภายหลังได้ประกาศว่ากำลังทยอยหยุดการผลิตซอส เนื่องมาจากภัยแล้งในประเทศส่งออกพริกรุนแรงขึ้น จนทำให้พริกซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักขาดแคลน

Huy Fong Foods เป็นผู้ผลิตซอสศรีราชารายใหญ่ที่สุดในโลกในตลาดซอสร้อนเอเชีย ตั้งอยู่ในแคลิฟอร์เนีย ได้ประกาศแจ้งลูกค้ารายย่อยให้ทราบถึงการผลิตที่ไม่เพียงพอ ซึ่งก็สร้างความโกลาหลไม่น้อย

ซอสศรีราชาบนชั้นวางในซุปเปอร์มาเก็ตเริ่มไม่มีให้เห็น แต่ในทางกลับกันมีผู้ไปพบการซื้อขายออนไลน์จำนวนมาก ทำให้มีการวิพาร์กวิจารณ์กันถึงเรื่องการกักตุนซอสที่ดูรุนแรงเหมือนในช่วงที่มีการกักตุนกระดาษชำระ เจลทำความสะอาดมือ หรือสินค้าที่ขาดแคลนตลาด เพราะมีผู้กวาดซื้อสินค้าไปหมดและไปอัพราคาเพิ่มภายหลัง

อ่านเพิ่มเติม >>> https://www.springnews.co.th/news/825779

เพนกวินน้อยตายเกลื่อนหาดนิวซีแลนด์กว่า 500 ตัวภายใน 3 เดือน

มีรายงานพบเพนกวินพันธุ์ที่เล็กที่สุดในโลกอย่าง kororā ถูกพัดเกยตื้นที่ชายหาดทั่วนิวซีแลนด์กว่า 500 ตัวแล้วภายใน 2-3 เดือนที่ผ่านมา สิ่งใดกันที่ปลิดชีพเพนกวินน้อยเหล่านี้?

นกเพนกวินที่ตัวเล็กที่สุดในโลก จัดอยู่ในกลุ่มของ (Eudyptula monor) เป็นสัตว์ท้องถิ่นที่รู้จักกันในชื่อ kororā (เพนกวินน้อยหรือเพนกวินนางฟ้า) ตามรายงานของ The Guardian เพนกวินน้อยที่ตายแล้วถูกพัดเกยตื้นไปตามชายหาดบริเวณเกาะตอนเหนือของนิวซีแลนด์ตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม

ไม่อาจมีใครรับรู้ได้เลยว่า สิ่งใดกันที่ปลิดชีพเพนกวินน้อยเหล่านี้ แต่นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญหลายคนก็ได้สังเกตจากซากที่เหลืออยู่ของพวกมันและพบว่า เพนกวินที่ตายส่วนใหญ่มีน้ำหนักน้อยมากอย่างเห็นได้ชัด ตามปกติแล้วเพนกวินควรมีน้ำหนักระห่าง 0.8 ถึง 1 กิโลกรัมเป็นอย่างต่ำ แต่บางตัวกับมีน้ำหนักน้อยกว่าตัวเลขดังกล่าวถึงครึ่งหนึ่ง

พวกเขาจึงสันนิษฐานว่า พวกมันขาดสารอาหารและหิวโหยจนตาย

อ่านต่อ >>> https://www.springnews.co.th/news/826089

ธารน้ำแข็งขนาดใหญ่ในขั้วโลกใต้ละลายเร็วสุดในรอบ 5,500 ปี

Nature Geoscience ได้ตีพิมพ์ชัดเจนว่า “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังทำให้ ธารน้ำแข็งทเวตส์ (Thwaites Glacier) ในแอนตาร์กติกา ที่มีขนาดเท่ากับสหราชอาณาจักร มีอัตราการละลายที่เร็วที่สุดในรอบ 5,500 ปี” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงสภาวะความเปลี่ยนแปลงของโลก

ธารน้ำแข็งทเวตส์ ยังเรียกกันอีกชื่อว่า “ธารน้ำแข็งวันสิ้นโลก” หรือภาษาอังกฤษว่า Doomdays Glacier  เพราะเป็นธารน้ำแข็งที่ละลายเร็วที่สุดในแอนตาร์กติกานับตั้งแต่ช่วงปี 1980 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ธารน้ำแข็งทเวตส์ได้ละลายไปแล้วถึง 595 พันล้านตัน และมีส่วนในการเพิ่มระดับน้ำทะเลขึ้นมาอีก 4%

อ่านต่อ >>> https://www.springnews.co.th/news/826178

กัมพูชาพบปลากระเบนน้ำโขงยักษ์ ทุบสถิติปลาน้ำจืดที่ตัวใหญ่ที่สุดในโลก

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานการพบ ปลากระเบนยักษ์ หรือปลากระเบนน้ำโขงขนาดใหญ่มีน้ำหนักถึง 300 กิโลกรัม ยาว 3.9 เมตร แซงหน้าปลาบึกไทยที่ครองแชมป์ 20 ปีไปได้ฉิวเฉียด ห่างกันเพียง 7 กิโลกรัมกรัมเท่านั้น

ระเบนยักษ์ตัวนี้ ถูกตั้งชื่อว่า “โบรามี” (Boramy) ในภาษาเขมร ที่แปลว่า พระจันทร์เต็มดวง  ซึ่งชาวประมงพื้นบ้านจับเอาไว้ได้ในช่วงค่ำของวันที่ 13 มิ.ย 2022 ที่ผ่านมา ก่อนพระจันทร์เต็มดวงแค่ 1 คืน

การค้นพบครั้งนี้ ถือว่า น่าเหลือเชื่อมากๆ เพราะ แม่น้ำโขงเผชิญกับผลกระทบร้ายแรงต่อระบบนิเวศ จากแถลงการณ์ฉบับหนึ่งของทีมสำรวจ ซึ่งระบุเพิ่มเติมว่า มีรายงานแผนการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำหลายแห่งกั้นแม่น้ำโขงในส่วนที่ไหลผ่านกัมพูชา ผู้เชี่ยวชาญยังเน้นย้ำถึงความวิตกกังวลอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในแม่น้ำสายนี้ ซึ่งรวมทั้งการจับปลาผิดกฎหมาย และขยะพลาสติก

อ่านต่อ >>> https://www.springnews.co.th/news/826200

ญี่ปุ่นเผชิญอากาศร้อนจัด จนคนเป็นลมแดดเพียบ รัฐแนะประชาชนประหยัดไฟฟ้า

ญี่ปุ่นเผชิญคลื่นความร้อนในฤดูร้อน ทำให้อุณหภูมิพุ่งขึ้นสูงถึง 40.2 องศาในเดือนมิถุนายน ณ เมืองแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกของญี่ปุ่นกลายเป็นการทุบสถิติอุณหภูมิที่สูงที่สุดสำหรับเดือนมิถุนายนไปเลย

คลื่นความร้อนนี้ ทางหน่วยงานกรมอุติวิทยาคาดการณ์ว่าจะยังคงมีอยู่ตลอดฤดูร้อนนี้ รัฐจึงขอความร่วมมือประชาชนภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจต่าง ๆ ช่วยกันประหยัดพลังงานไฟฟ้าเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาไฟฟ้าขัดข้องที่อาจเกิดขึ้นยาวไปจนถึงเดือนกันยายน

สถานีตรวจวัดอากาศบันทึกอุณหภูมิได้ 40.2 องศาเซลเซียส ในบ่ายวันเสาร์ที่ผ่านมาในเมืองอิเซซากิ จังหวัดกุนมะ ห่างจากกรุงโตเกียวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 85 กิโลเมตร ตามรายงานขอวหน่วยงาน โดยตัวเลขดังกล่าวทำลายสถิติเดิมของวันที่ร้อนที่สุดในเดือนมิถุนายนของญี่ปุ่น โดยจากเดิมวัดได้ที่ 39.8 องศาเซลเซียสเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2011

เจ้าหน้าที่ JMA กล่าวว่า “แอนติไซโคลนที่รุนแรงในมหาสมุทรแปซิฟิก ประกอบกับสภาพอากาศที่ไม่มีเมฆ ทำให้เกิดความร้อนนี้ขึ้น”

อ่านต่อ >>> https://www.springnews.co.th/news/826394

related