ข่าวสิ่งแวดล้อมประจำเดือนมีนาคม 2565 เกิดอะไรขึ้นบ้าง ไม่ว่าจะเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติ ปรากฎการณ์แปลกประหลาด การค้นพบ หรือผลกระทบที่เกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมโดยน้ำมือมนุษย์
การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศรุนแรงขึ้น ขับเคลื่อนให้เกิดภัยพิบัติที่รุนแรงมากกว่าเท่าที่เคยเป็นมาในอดีตแบบทวีคูณ เดือนมีนาคมนี้แน่นอนว่าข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อมยังคงเกิดขึ้นอยู่ทั่วทุกมุมโลก และทุกวันจนแทบจะเป็นข่าวในกิจวัตรประจำวันไปโดยปริยาย ข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อมมีทั้งเรื่องที่น่ายินและเรื่องที่ไม่น่ายินดีปะปนกันไปเสมอ แต่ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนรายงานเพื่อเตือนภัยและต้องการให้เกิดการตระหนักรู้ในสังคมว่า ข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญกับสังคมมนุษย์มากขนาดไหน
ในเดือนมีนาคมนี้ Springnews ได้รวบรวมและคัดสรรข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นภายในเดือนมีนาคมประจำปี 2565 มาให้ได้ทราบกัน ว่าเดือนมีนาคมนี้เกิดอะไรขึ้นบ้าง? เดี๋ยว Springnews สรุปให้
อ่านรายละเอียดแต่ละหัวข้อได้ด้านล่างนี้ >>>
IPCC ฉบับใหม่เผย มนุษยชาติกำลังล่มสลายจากภาวะโลกร้อน ต้องลงมือทำเดี๋ยวนี้
เมื่อวันที่ 28 ก.พ.ที่ผ่านมา IPCC ได้เผยแพร่รายงานฉบับใหม่ ที่จะบ่งบอกว่าตอนนี้โลกไม่สามารถหวนกลับไปแก้ไขปัญหาที่สั่งสมมาได้แล้ว รายงานฉบับนี้เขียนโดยนักวิทยาศาสตร์ 270 คนจาก 67 ประเทศ รายงานฉบับนี้เป็นส่วนที่ 2 จากทั้งหมด 3 ส่วน ซึ่งเป็นรายงานการประเมินครั้งที่ 6 ของ IPCC
แถลงการณ์ฉบับใหม่นี้เผยว่า การเปลี่ยนของสภาพภูมิอากาศจะกระทบกับผู้คน 3.3-3.6 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคที่ถือว่า “มีความเสี่ยงสูง” แต่ผลกระทบของภาวะโลกร้อนมีการกระจายอย่างไม่เท่าเทียมกัน ผู้ที่มีความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากที่สุดมักจะถูกตัดขาดจากทรัพยากรที่สามารถช่วยให้พวกเขาปรับตัวหรือลดความเสี่ยงดังกล่าวได้
หลักฐานในรายงานฉบับนี้มาจากแหล่งข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มากกว่า 34,000 แห่งแสดงให้เห็นว่า พายุที่รุนแรง ภัยแล้ง น้ำท่วม คลื่นความร้อนและไฟป่า ทั้งหมดนี้ทวีความรุนแรงและถี่ขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงไปของสภาพอากาศอย่างไร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการผลิตอาหาร ขัดขวางการทำประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์ ทำให้เมืองและโครงสร้างพื้นฐานเสียหาย และทำลายสุขภาพของมนุษย์
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ >>> IPCC ฉบับใหม่เผย มนุษยชาติกำลังล่มสลายจากภาวะโลกร้อน ต้องลงมือทำเดี๋ยวนี้
กุ้งล็อบสเตอร์เกยหาด 500 ตันบนชายฝั่งแอฟริกาใต้
เมื่อวันพุธที่ 2 ก.พ.ที่ผ่านมา ชาวประมงท้องถิ่นใน เวสต์ โคสต์ (West Coast) จังหวัดเวสเทิร์น เคป ในแอฟริกาใต้ พบกองของกุ้งล็อบสเตอร์ขนาดใหญ่ จำนวนประมาณ 500 ตัน เกยตื้นขึ้นมาที่ชายหาด เนื่องมาจาก ปรากฎการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี
ปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีเพราะการเจริญเติบโตของสาหร่ายผิดปกติ หรือเรียกว่า 'Red Tide' หรืออีกชื่อหนึ่งคือ 'ขี้ปลาวาฬ' ที่น้ำจะเปลี่ยนสีไปตามสีของสาหร่ายในบริเวณนั้น แม้ว่าบางคนจะมองว่าสวยและแปลกตา แต่ปรากฏการณ์นี้อันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล
ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในทะเลและระบบนิเวศทางทะเลในระดับความรุนแรงต่างกัน การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้ ออกซิเจนในน้ำบริเวณนั้นลดลง มีผลให้สัตว์น้ำเริ่มอยู่ไม่ได้ และจะเริ่มหาทางรอด
ปรากฎการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี มีสาเหตุด้วยกัน 2 ส่วน คือ ส่วนหนึ่งมาจากกิจกรรมของมนุษย์ที่อยู่ตามบริเวณชายฝั่ง เช่น น้ำเสียจากบ้านเรือนและชุมชน กิจกรรมจากการทำเกษตร โรงงานอุตสาหกรรม และการขยายตัวของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ >>> กุ้งล็อบสเตอร์เกยหาด 500 ตันบนชายฝั่งแอฟริกาใต้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นกวางไข่เร็วขึ้น พฤติกรรมนกเปลี่ยนไปเพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ
ผู้เชี่ยวชาญกังวล มลพิษพลาสติกอาจทำให้มนุษย์ส่วนใหญ่มีบุตรยาก
NFTs เพื่อป่าแอมะซอน บริษัทในบราซิลผุดไอเดียขาย NFTs ระดมทุนฟื้นฟูแอมะซอน
ยูเนสโก ชี้ Great Barrier Reef ของออสเตรเลียถูกฟอกขาวจนเสี่ยงอันตราย
ไฟป่าเทกซัส ทำลายบ้านเรือน 86 หลังและสังหารรองนายอำเภอ 1 ราย
วาฬอายุมากที่สุดในโลกถูกโค่นลงแล้ว โดยประเพณีล่าวาฬของอะแลสกา
ในเดือนพฤษภาคม ปี 2007 นักล่าวาฬได้ทำการล่าวาฬตามประเพณีดั้งเดิมของชาวเอสกิโมในอะแลสกา ขณะตรวจสอบวาฬ พวกเขาก็ได้ไปพบกับฉมวกปริศนาที่ฝังอยู่ตรงกระดูกระหว่างคอและสะบักของวาฬ พวกเขาจึงใช้เลื่อยไฟฟ้าตัดเพื่อดึงฉมวกนั้นออกมา
จากการตรวจสอบพบว่า มันคือ หอกระเบิด ที่จดสิทธิบัตรในปีค.ศ. 1879 และถูกสร้างขึ้นในเมืองนิว เบดฟอร์ด (New Bedford) บนชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐแมสซาชูเซตส์ ช่วงปลายปีค.ศ. 1800 และการตรวจสอบอายุวาฬพบว่า มันมีอายุ 115-130 ปี กลายเป็นวาฬหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อายุยืนยาวมากที่สุดในโลกตอนนี้
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ >>> วาฬอายุมากที่สุดในโลกถูกโค่นลงแล้ว โดยประเพณีล่าวาฬของอะแลสกา
แอฟริกาใต้อนุมัติให้ล่าแรดดำ หลังพวกมันมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
นางบาร์บารา ครีซี (Barbara Creecy) รัฐมนตรีกระทรวงป่าไม้ ประมงและสิ่งแวดล้อมประจำแอฟริกา ได้ประกาศยืนยันจัดกิจกรรมสำหรับนักล่า ในการอนุญาตให้ล่าแรดดำ เสือดาว และช้างในแอฟริกาใต้ประจำปี 2022
ซึ่งโควตาสำหรับปีนี้ได้เลือกสัตว์ที่สามารถล่าได้ทั้งหมด 3 สายพันธุ์ คือ แรดดำ ช้างและเสือดาว โดยการล่าจะถูกกำกับและควบคุมดูแลโดยรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การล่าจะถูกจำกัดหรืออนุญาตให้ล่าได้ในพื้นที่ที่รัฐบาลเป็นคนกำหนด เพราะเห็นสมควรแล้วพื้นที่แห่งนั้น มีการขยายตัวของประชากรสัตว์คงที่หรือเพิ่มขึ้น
ทางรัฐบาลแอฟริกาใต้กล่าวว่า การล่านี้ถูกพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว ทั้งในแง่ของการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า ความหลากหลายทางชีวภาพ และในแง่ของการสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ >>> แอฟริกาใต้อนุมัติให้ล่าแรดดำ หลังพวกมันมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
ป่าแอมะซอนเดินทางถึงจุดเปลี่ยน จากป่าฝนผืนใหญ่สู่ทุ่งสะวันนาแห้งแล้ง
รายงาน Inside Climate News กล่าวว่า ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์เมื่อวันจันทร์ (7 มีนาคม) ในวารสาร Nature Climate Change ชี้ให้เห็นว่ามากกว่า 75% ของป่าฝนได้สูญเสีย ‘ความยืดหยุ่น’ อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ล่วงปี 2000 มา ซึ่งหมายความว่าบางส่วนของป่าฝนไม่สามารถฟื้นตัวได้ง่ายจากการรบกวน เช่น ภัยแล้งและไฟป่า ภูมิภาคต่างๆของป่าฝนที่แสดงให้เห็นถึงการสูญเสียความยืดหยุ่นอย่างลึกซึ้งที่สุดนั้น ตั้งอยู่ใกล้ฟาร์ม พื้นที่เมือง และพื้นที่ที่ใช้ในการตัดไม้
จากการตรวจสอบภาพถ่ายดาวเทียมที่ถ่ายระหว่างปี 1991-2016 นักวิจัยกำหนดระยะเวลาที่ป่าฝนจะสะท้อนกลับหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว นักวิจัยระบุว่า นับตั้งแต่ช่วงเปลี่ยนศตวรรษที่ 21 ป่าฝนใช้เวลานานขึ้นในการฟื้นฟูชีวมวล ซึ่งหมายถึงมวลของต้นไม้ที่มีชีวิตและพืชพรรณอื่นๆหลังภัยแล้งและไฟไหม้
การศึกษาใหม่นี้เพิ่มหลักฐานที่มีอยู่ว่าป่าฝนที่ใหญ่ที่สุดในโลกกำลังพุ่งเข้าหาจุดเปลี่ยน ซึ่งเกินกว่าที่ผืนป่าขนาดใหญ่แห่งนี้จะฟื้นฟูได้ทันและอาจตายได้ในทันที การศึกษานี้ไม่สามารถระบุได้ว่าเมื่อใดจะถึงจุดเปลี่ยน แต่ป่าอาจจะกลายเป็นแบบนั้นในอีกไม่กี่ทศวรรษ
อ่านเพิ่มเติมที่ >>> ป่าแอมะซอนเดินทางถึงจุดเปลี่ยน จากป่าฝนผืนใหญ่สู่ทุ่งสะวันนาแห้งแล้ง
เต่ากาลาปากอสกำลังจะกลายเป็นเต่าสายพันธุ์ใหม่
เมื่อไม่นานมานี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า เต่ายักษ์กว่า 8,000 ตัวบนเกาะกาลาปากอสของเอกวาดอร์ไม่ได้อยู่ในสายพันธุ์ที่มีอยู่บนโลกนี้ อย่างเชโลนอยด์ (Chelonoidis chathamensis) เต่าบกขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ที่ถูกนับเป็นเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
กรมอุทยานแห่งชาติกาลาปากอสได้แถลงผลการศึกษาชิ้นใหม่ที่สรุปว่า เต่ายักษ์ที่อยู่บนเกาะซานคริสโตบัล (San Cristobal) แถวกาลาปากอสนั้น ซึ่งก่อนหน้านี้ถูกระบุว่าเป็นเต่าสายพันธุ์เชโลนอยด์ แต่ความสอดคล้องทางพันธุกรรมกับสายพันธุ์นั้นต่างกัน
การค้นพบนี้เกิดจากการเปรียบเทียบทางพันธุกรรมของสัตว์กับตัวอย่างจากสปีชีส์ของเต่าที่มีการกำหนดสายพันธุ์ก่อนหน้าแล้ว หรือเรียกง่ายๆว่า พวกเขาเอาลักษณะทางพันธุกรรมเต่ากาลาปากอสมาเปรียบเทียบกับสายพันธุ์เต่าในปัจจุบันที่มีบนโลกแล้ว แต่มันไม่ตรงกับเต่าสายพันธุ์ไหนเลย ผลการศึกษานี้มาจากมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล มหาวิทยาลัยเยล และการอนุรักษ์กาลาปากอส
พวกเขาจึงคิดว่าเต่ากาลาปากอสเหล่านี้อาจเป็นสายพันธุ์เต่าที่เคยสูญพันธุ์ไปแล้ว แต่มันรอดตายมาได้
อ่านเพิ่มเติมที่ >>> เต่ากาลาปากอสกำลังจะกลายเป็นเต่าสายพันธุ์ใหม่
พบกุ้งเครย์ฟิช สัตว์เอเลี่ยน บริเวณน้ำตก จ.เพชรบูรณ์
เมื่อวันที่ 19 มีนาคม มีรายงานพบซากกุ้งเครย์ฟิช หรือกุ้งก้ามแดง บริเวณน้ำตกศรีดิษฐ์ อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ เกิดเสียงฮือฮาว่ามาได้อย่างไร เพราะบริเวณน้ำตกแถบนี้ไม่น่าจะพบกุ้งลักษณะนี้ในพื้นที่ได้ และเป็นสัตว์ต่างถิ่น หรือสปีชีส์เอเลี่ยน ที่ผิดแปลกในระบบนิเวศด้วย
รายงานจากไทยพีบีเอสระบุว่า กุ้งเครย์ฟิช เป็นสัตว์น้ำต่างถิ่น หรือเอเลี่ยนสปีชีส์ จะทำลายระบบนิเวศ แย่งที่อยู่อาศัย แย่งอาหาร และจับสัตว์น้ำตามธรรมชาติกินเป็นอาหาร ทำให้สัตว์น้ำท้องถิ่นลดน้อยลง หรือสูญพันธุ์ได้ หากพบควรทำลายทิ้ง หรือสามารถจับมาประกอบอาหารได้
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ >>>
https://news.thaipbs.or.th/content/313866
https://web.facebook.com/environman.th/photos/a.1757249537736819/4675581632570247/
ไฟป่าเทกซัส ทำลายบ้านเรือน 86 หลังและสังหารรองนายอำเภอ 1 ราย
วันที่เสาร์ที่ 19 มีนาคมที่ผ่านมา สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานสถานการณ์ไฟป่าในรัฐเทกซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้กวาดล้างบ้านเรือนจนเหลือแต่ซากไป 86 หลังและทำให้เมืองเล็กๆอย่างเมืองคาร์บอน (Carbon) ในเทกซัสเสียหายไปกว่า 85% ของพื้นที่ทั้งหมด
Dollas Morning News รายงานเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา เกิดไฟไหม้ 4 ครั้งทางตะวันตกของดัลลาส และเผาพื้นที่ในบริเวณนั้นไปทั้งหมด 54,000 เอเคอร์ และสังหารรองนายอำเภอที่กำลังช่วยเหลือผู้คนอพยพไป 1 ราย ไฟทั้ง 4 นี้ถูกขนานนามว่า ‘อีสต์แลนด์คอมเพล็กซ์’ ซึ่งได้เริ่มโหมกระหน่ำมาตั้งแต่วันพุธและวันพฤหัสบดีก่อนหน้าแล้วในเขตอีตส์แลนด์ ห่างจากเมืองดัลลาสไปทางตะวันตกราว 190 กม. ซึ่งเจ้าหน้าที่สามารถควบคุมไฟได้ประมาณ 30% เท่านั้น
มีการรายงานว่า วันเกิดเหตุ มีแรงลม 40 ไมล์ต่อชั่วโมง ทันใดนั้นก็เกิดไฟป่าและได้พัดลูกไฟไปตกยังหญ้าและพุ่มไม้แห้ง ทำให้ไฟเติบโตอย่างรวดเร็ว ไฟได้เผาพื้นที่ของเมืองคาร์บอนภายใน 3 ชั่วโมงเท่านั้น
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ >>> ไฟป่าเทกซัส ทำลายบ้านเรือน 86 หลังและสังหารรองนายอำเภอ 1 ราย
ยูเนสโก ชี้ Great Barrier Reef ของออสเตรเลียถูกฟอกขาวจนเสี่ยงอันตราย
Great Barrier Reef 1ใน7สิ่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาติของโลก แนวปะการังที่ใหญ่ที่สุดในโลก กำลังเดินทางไปถึงจุดเสี่ยง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลเป็นวงกว้าง จากปรากฎการปะการังฟอกขาวที่กระจายตัวเป็นวงกว้าง และกำลังจะตายลง โดยจะส่งผลโดยตรงกับสัตว์น้ำและสิ่งมีชีวิตใต้น้ำทั้งหมด
แนวปะการัง Great Barrier Reef ได้รับผลจากการฟอกขาวเนื่องจากความร้อนที่เพิ่มสูงขึ้น รายงานโดยหน่วยงานจัดแนวปะการังออสเตรเลียกล่าวเมื่อวันศุกร์ ก่อนการมาเยือนของเจ้าหน้าที่สหประชาชาติเพื่อเข้ามาตรวจสอบว่าแนวปะการังควรถูกระบุว่า “ตกอยู่ในอันตราย” หรือไม่
อุทยานทางทะเลส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากความร้อนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงฤดูร้อน โดยอุณหภูมิของน้ำในบางพื้นที่นั้นสูงกว่าค่าเฉลี่ย 2-4 องศาเซลเซียส
“ตรวจพบสารฟอกขาวทั่วทั้งอุทยานทางทะเล มีการแปรปรวนในหลายภูมิภาค ตั้งแต่ระดับเล็กน้อยไปจนถึงระดับรุนแรง” หน่วยงานระบุบนเว็บไซต์ พร้อมผลการสำรวจทางอากาศพบว่าปะการังทั้งโคนถูกฟอกขาวหลายพื้นที่ และบางที่มีรายงานว่าปะการังกำลังจะตาย
อ่านเพิ่มเติมที่ >>> ยูเนสโก ชี้ Great Barrier Reef ของออสเตรเลียถูกฟอกขาวจนเสี่ยงอันตราย
นกวางไข่เร็วขึ้น พฤติกรรมนกเปลี่ยนไปเพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและอาจเสี่ยงสูญพันธุ์ในอนาคต
จากการศึกษาใหม่พบว่า ภาวะโลกร้อนโดยเฉพาะในแถบอเมริกาเหนือ ทำให้นกจำนวนมากเริ่มวางไข่กันตั้งแต่เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสิ่งผิดปกติในธรรมชาติอย่างมากและจะส่งผลกระทบในอีกหลายๆด้าน พฤติกรรมที่เกิดขึ้นนี้เป็นหลักฐานที่บ่งชี้ว่า ภาวะโลกร้อนกำลังเปลี่ยนนิสัยของสัตว์ป่าแบบกลับหัวหลับหาง
รายงานวิจัยซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Animals Ecology จากจำนวนนก 72 สายพันธุ์ที่ถูกสำรวจรอบๆเมืองชิคาโก พบว่า ประมาณ 1 ใน 3 วางไข่เร็วกว่าที่เคยทำเมื่อ 100 ปีก่อน ประมาณ 25 วัน เรื่องราวผิดแปลกนี้บ่งบอกอะไรให้เราได้บ้างนะ?
นักวิทยาศาสตร์ได้นำบันทึกในอดีตของยุกวิกตอเรียที่มีงานอดิเรกในการเก็บไข่และบันทึกวันเวลาไว้กว่า 1,500 รายการ ไปเปรียบเทียบกับบันทึกสมัยใหม่อีกมากกว่า 3,000 รายการพร้อมข้อมูลสำหรับวิเคราะห์เปรียบเทียบ รวมไปถึงช่วงเวลาในการทำรังของนกด้วย
การค้นพบนี้สะท้อนผลลัพธ์ที่คล้ายคลึงกันจากการศึกษาในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาในสหราชอาณาจักร ซึ่งพบว่าการวางไข่เกิดขึ้นก่อนฤดูวางไข่เร็วขึ้นพร้อมกับรายงานเทียบเคียงของการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลเพาะปลูกที่เปลี่ยนไป
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ >>> นกวางไข่เร็วขึ้น พฤติกรรมนกเปลี่ยนไปเพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและอาจเสี่ยงสูญพันธุ์ในอนาคต