svasdssvasds

วิกฤตอาหารโลก 44 ประเทศต้องการช่วยเหลือด่วน เกิดอะไรขึ้น?

วิกฤตอาหารโลก 44 ประเทศต้องการช่วยเหลือด่วน เกิดอะไรขึ้น?

วิกฤตอาหารโลก FAO ประกาศ 44 ประเทศต้องการความช่วยเหลือจากภายในการต่อสู้กับวิกฤตอาหารแล้ว แล้วในยุคข้าวยากหมากแพงแบบนี้ ไทยจะโดนด้วยไหม ไปดูกัน

เตรียมรับแรงกระแทกได้เลย วิกฤตอาหารกำลังมาจากทุกด้านแล้ว คุณพร้อมรับศึกนี้หรือยัง ตลาดการซื้อขายและเศรษฐกิจทั่วโลกกำลังปั่นป่วนรุนแรง สังเกตกันหรือไม่ว่าราคาอาหารหรือวัตถุดิบต่าง ๆ กำลังพุ่งสูงขึ้น ถึงแม้คนไทยบางคนมองว่า ประเทศไทยเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ มีการเกษตรที่ยั่งยืนก็จริง แต่หากมองในแง่ของเศรษฐกิจและเทียบกับดัชนีของโลกแล้ว มันจะยังยั่งยืนได้จริงเหรอ เรื่องนี้คงไม่อาจอยู่เฉยๆเหมือนไฟไม่รู้ร้อนต่อไปได้อีกแล้ว เพราะผลกระทบจากวิกฤตต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก กำลังกลายเป็นคลื่นน้ำยักษ์ที่กำลังพัดเข้าอ่าวไทยเร็ว ๆ นี้

เกิดวิกฤตอาหารแล้วจริง ๆ เหรอ ?

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า วิกฤตอาหารสำคัญอย่างไรและทำไมต้องรู้

วิกฤตอาหารโลก หรือ Global Food Crisis กำลังเป็นที่ถกเถียงหลายประเทศหลังจากเผชิญกับยุคข้าวยากหมากแพงไปซะทุกด้าน และราคาอาหารก็เพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์จนธนาคารโลกต้องออกมาเตือนว่า ทุกประเทศต้องเร่งหาทางรับมือกับวิกฤตเหล่านี้ได้แล้ว

ในการใช้ชีวิตในแต่ละวันของเรา เราใช้ไปเรื่อย ๆ บ่นไปบ้างกับราคาน้ำมันแพง อาหารแพง ค่าตั๋วโดยสารราคาสูงขึ้น ตลาดพลังงานปรับตัวครั้งใหญ่ และอีกมากมายที่มีราคาสูงขึ้นจากเดิมไปมาก แต่ค่าแรงของเราเท่าเดิม ปัญหานี้อยู่ในชีวิตประจำวันของเราทุกคน และส่วนหนึ่งซึ่งเป็นส่วนที่ใหญ่มาก ๆ คือมันเป็นไปตามกลไกตลาดและการบริหารจัดการของภาครัฐ

ราคาพืชผลต่างๆจะแพงขึ้น วิกฤตอาหารกำลังเกิดขึ้นแล้วจริง ๆ เพราะแม้แต่นักวิชาการทั่วโลก ข่าวต่างประเทศ บทความวิเคราะห์จากสื่อสำนักต่าง ๆ มากมาย ไปจนถึงธนาคารโลกก็ได้ออกมายืนยันแล้วว่า วิกฤตอาหารเกิดขึ้นแล้วจริง ๆ นะ เราต้องทำอะไรสักอย่างแล้วล่ะ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รายงานจาก FAO (องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ) ประจำเดือนมีนาคม 2022 ประเมินว่า 44 ประเทศกำลังต้องความช่วยเหลือด่วนในเรื่องของการเผชิญหน้ากับวิกฤตอาหาร อาทิ ราคาอาหารที่สูงขึ้นและการขาดแคลนวัตถุดิบ ทำไมมันเป็นอย่างนั้นล่ะ?

วิกฤตอาหารเกิดจากอะไร?

FAO ได้อธิบายว่า สาเหตุหลักของวิกฤตความมั่นคงด้านอาหารมาจาก 3 ปัจจัยหลักด้วยกันคือ

  • การแพร่ระบาดของโควิด-19
  • การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ/ภาวะโลกร้อน
  • สงครามรัสเซียยูเครน

การแพร่ระบาดของโควิด-19

แม้ว่าตอนนี้หลายประเทศจะเริ่มปรับตัวกับเจ้าโควิดตัวร้ายได้บ้างแล้ว แต่เราก็ต้องอยู่กับมันต่อไป และต้องยอมรับเลยว่า โควิด-19 ส่งผลร้ายต่อโลกเต็ม ๆ ไม่ว่าจะที่ผ่านมา ปัจจุบัน และอนาคต

โควิด-19 ได้พรากชีวิตของผู้คนหลายล้านคนภายในไม่กี่ปี สร้างปรากฎการณ์หายนะให้กับผู้คนทั้งโลก โควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกปั่นป่วน ทุกประเทศต้องหันไปทุ่มงบประมาณให้กับการแพทย์ ในการรักษา ผลิตวัคซีนและการรณรงค์ให้ความรู้เพื่อป้องกันเชื้อร้ายดังกล่าว

นอกจากนี้ยังมีส่วนที่ทำให้มนุษย์ทั่วโลกต้องปรับตัวไปสู่การใช้ชีวิตแบบ New Normal ด้วยการสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่ออกไปนอกบ้าน

ชีวิตเราได้ New Normal ตลอดไป

โควิด-19 ส่งผลต่อเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ทำให้การท่องเที่ยวและหลายๆอาชีพต้องยุติลง ทำหลายคนตกงาน ห้างร้านก็เงียบร้าง ธุรกิจหลายรายล่มลงแบบไม่เป็นท่า กว่าจะฟื้นขึ้นมาได้ก็ไม่ง่ายเลย

แม้ว่าตอนนี้เราจะมองว่ามันเป็นโรคท้องถิ่นหรือสามารถจัดการกับมันได้แล้ว แต่เราก็ต้องยอมรับว่ามันคือบันไดขั้นหนึ่งที่ทำให้เราต้องเผชิญกับวิกฤตความไม่มั่นคงด้านอาหาร (Food Insecurity) อย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะในช่วงการระบาดหนักนั้น ทำให้หลายประเทศขาดแคลนเงินหมุนเวียนภายใน จนต้องไปกู้ยืมจากธนาคารโลก แม้ตอนนี้เราจะผ่านมาได้ แต่หนี้ก็ยังคงต้องชดใช้กันต่อไป

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ/ภาวะโลกร้อน

ไม่ว่าจะในอดีตหรือในปัจจุบัน เราก็กำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างต่อเนื่องและมันก็ได้หนักขึ้นเรื่อง ๆ แล้ว ยกตัวอย่าง อินเดียเผชิญกับคลื่นความร้อนรุนแรงทำให้อุณหภูมิในบางพื้นที่สูง ส่งผลให้ผู้คนล้มตายและพืชทางการเกษตรเสียหายจากความร้อน

หรือแม้กระทั่งภัยพิบัติที่หลายประเทศแถบละตินอเมริกาได้เผชิญมาตลอด ก็ส่งผลให้ผู้คนอพยพหนีไป พืชการเกษตรเสียหาย สัตว์ล้มตายไปหลายพันตัว รวมไปถึงพื้นที่ป่าก็ลดลงเรื่อย ๆ ทุกปี โดยเฉพาะป่าแอมะซอน ปอดหลักของโลก จนจะกลายเป็นทุ่งหญ้าสะวันนาแห้งแล้งแล้ว

ความร้อนและภัยทางธรรมชาติส่งผลให้พืชผลทางการเกษตรเสียหาย คุณภาพและปริมาณลดน้อยลง จนสามารถเรียกได้ว่า ‘ตกต่ำถึงขีดสุด’ ได้แล้ว

แม้ว่าเมื่อปลายปี 2021 ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมสุดยอดด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก (COP26) จากผู้นำทั่วโลก ในการหาทางแก้ไขและร่างอนุสัญญาในการร่วมมือกันแก้ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ไม่ว่าจะเป็น ลดก๊าซคาร์บอนสุทธิให้เป็น 0 หรือการลดการตัดต้นไม้ สนับสนุนเพิ่มพื้นที่สีเขียว หรือสนับสนุนให้มีการใช้ยานพาหนะไฟฟ้ามากขึ้นเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นต้น

แต่การตระหนักหรือการรับรู้เรื่องของสิ่งแวดล้อมยังไม่เพียงพอที่จะให้คนทั่วโลกหันมาสนใจและมาร่วมมือกันแก้ไข ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องใหญ่ที่ไม่ค่อยมีใครตระหนักรู้มากนัก และมันจำเป็นต้องลงมือทำทันที เพราะ IPCC หรือองค์กรนานาชาติด้านสภาพอากาศก็ได้ออกมาเตือนแล้วว่า ถ้าโลกเดินทางไปแตะถึง 1.5 - 2 องซาเซลเซียส หลายเมืองใหญ่ทั่วโลกจะจมอยู่ใต้น้ำ จากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้น เราจะรอให้เป็นอย่างนั้นหรือ

การแปรปรวนของสภาพอากาศส่งผลต่อทุกสิ่งทุกอย่างบนโลก ไม่ใช่แค่เรื่องราคาอาหารแพง แต่เป็นเรื่องของอนาคตที่ยั่งยืนที่จะส่งต่อไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานด้วย

ไฟป่าในแอมะซอนทำให้เสียพื้นที่ป่าไปหลายเอเคอร์รวมไปถึงสูญเสียสัตว์ป่าเปนล้านๆตัว สงครามรัสเซียยูเครน

ยูเครนเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวสาลีประมาณ 6 ล้านตันคิดเป็น 30% ของตลาดโลกและข้าวโพด 16 ล้านตัน คิดเป็น 19% ของตลาดโลก และที่สำคัญคือน้ำมันพืชจากเมล็ดทานตะวัน คิดเป็น 80% ของตลาดโลก ซึ่งใหญ่ที่สุด ในขณะที่รัสเซียส่งออกข้าวสาลี 8 ล้านตัน และข้าวโพด 2.5 ล้านตัน การประเมินจากสถานการณ์ดังกล่าวยังไม่แน่นอน แต่การหยุดชะงักทางเศรษฐกิจของ 2 ประเทศนี้ส่งผลกระทบต่อประเทศคู่ค้าอย่างมีนัยสำคัญ

การประมาณการล่าสุดของ FAO ระบุว่า การผลิตธัญพืชเพิ่มขึ้นทั่วโลก 0.9% เมื่อเทียบกับปี 2021 ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการผลิตข้าวโพดเพื่อปศุสัตว์หรือนำไปเลี้ยงสัตว์ที่สูงขึ้น การใช้ธัญพืชคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากปี 2021 สู่ปี 2022 เพิ่มขึ้น 1.1% โดยได้แรงหนุนมาจากความต้องการบริโภคอาหารที่เพิ่มขึ้นและใช้ภาคส่วนอื่น ๆ เช่น ทำเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์

จากการประมาณการการผลิตและการใช้ธัญพืชของโลก ปริมาณธัญพืชในช่วงสิ้นสุดฤดูกาลในปี 2565 นั้นสูงขึ้นเหนือระดับที่เปิดขาย แต่ยังคงต่ำกว่าระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์จากปี 2561 สู่ปี 2562 การค้าธัญพืชทั่วโลกในปี 2021/2022 นั้นคาดว่าจะต่ำกว่าระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปี 2020/21 ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการค้าข้าวโพดทั่วโลกที่คาดว่าจะลดลง และสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบของการหยุดชะงักที่เกิดจากสงครามในยูเครน

สถานการณ์แต่ละทวีปทั่วโลก

นอกจาก FAO ยังประเมินว่า ในแต่ละประเทศได้รับผลกระทบส่วนใหญ่มาจากการโจมตีของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาส โดยแบ่งแยกออกเป็นดังนี้

พื้นที่ที่ต้องการความช่วยเหลือจากภายนอกในการแก้ไขวิกฤตความไม่มั่นคงด้านอาหาร Cr. FAO.org ทวีปแอฟริกา

33 ประเทศในแอฟริกา น่าเป็นห่วงสุด ประเทศแถบแอฟริกาโดยเฉพาะทางตอนเหนือและตอนใต้ มีสถิติการลดลงของพืชผลธัญพืชในปี 2020 อันเนื่องมาจากภัยแล้งและภัยพิบัติ โดยพืชผลในปี 2021 ประเทศแถบแอฟริกาตะวันออกและตะวันตก ที่เพิ่งเก็บเกี่ยวมาได้ไม่นานมีปริมาณลดลงอันเนื่องมาจากฝนไม่ตก ภาวะแล้งหนักและเกิดความขัดแย้งภายในประเทศ และในปีนี้ก็ยังเผชิญกับภัยแล้งสลับกับฝนตกหนักในบางพื้นที่ทำให้คนและสัตว์ล้มตายจากการปรับตัวไม่ทัน และยังขาดแคลนสวัสดิการขั้นพื้นฐานหลายอย่าง แม้กระทั่งอาหารและน้ำ ทำให้เกิดปัญหาสิทธิมนุษยชน

ประเทศส่วนใหญ่ในแอฟริกาส่วนใหญ่ เผชิญกับ สภาพอากาศที่แปรปรวนรุนแรง  ขาดแคลนผลผลิตทางการเกษตร รายได้ลดลง ราคาอาหารสูง คนจนเพิ่มจำนวนขึ้น ความขัดแย้งและปัญหาการเมืองที่วุ่นวาย

ทวีปเอเชีย

ประเทศในเอเชีย 9 ประเทศถูกประเมินว่ามีความจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากภายนอกในวิกฤตความไม่มั่นคงด้านอาหาร โดยส่วนใหญ่เผชิญหน้ากับสภาพอากาสที่แห้ง บางแห่งไร้ฝนและบางแห่งฝนตกชุ่มเกินไป ทำให้ข้าวหรือผลผลิตทางการเกษตรไม่ได้ตามเป้า แต่ไทยไม่ได้อยู่ในลิสต์รายชื่อเหล่านี้ ก็โชคดีไป แต่อย่าชะล่าใจเพราะวิกฤตนี้ก็เริ่มมาใกล้บ้านเราแล้ว

ประเทศในเอเชีย มีดังต่อไปนี้ อัฟกานิสถาน บังคลาเทศ เกาหลีเหนือ อิรัก เลบานอน เมียนมา ปากีสถาน ซีเรียและเยเมน ซึ่งส่วนใหญ่เผชิญหน้ากับปัญหาทางเศรษฐกิจ (การชะลอตัวของเศรษฐกิจ) ความขัดแย้ง ราคาอาหารสูง ฯลฯ

ละตินอเมริกาและแคริบเบียน

ประเทศแถบอเมริกาใต้ มี 2 ประเทศที่ถูกประเมินคือเฮติและเวเนซูเอลา แต่หากไม่นับผลกระทบจากสงครามรัสเซียยูเครนก็จะยังคงระดับความมั่นคงด้านอาหารไว้ได้อยู่ ในขณะเดียวกันอัตราการปลูกข้าวโพดยังคงสูงตลอดกาล เพื่อนำไปทำเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ จึงมีการแข่งขันสูง

ประเทศเวเนซูเอลามีปัญหาเรื่องวิกฤตเศรษฐกิจ ประเทศนี้มีผู้อพยพออกจากประเทศ 6.04 ล้านคน ส่วนใหญ่ลี้ไปอยู่ที่โคลอมเบีย เปรู เอกวาดอร์ และชิลี เวเนซูเอลามีความต้องการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมสำหรับผู้ลี้ภัยและแรงงานข้ามชาติ และในจำนวนเหล่านั้นต้องการความช่วยเหลือด้านอาหารประมาณ 3.5 ล้านคนในปีนี้

ส่วนประเทศเฮติ มีปัญหาเรื่องการลดลงของผลผลิตทางการเกษตร เผชิญกับภัยธรรมชาติบ่อยและความวุ่นวายทางการเมือง

ประเทศไทยจะเป็นยังไง?

ราคาของใช้อุปโภคบริโภคที่เพิ่มขึ้นนั้น สวนทางกับค่าครองชีพที่ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายด้วยงบประมาณที่มีจำกัด (ส่วนใหญ่เกิดในประเทศรายได้ปานกลางไปจนถึงรายได้ต่ำ) นี่จึงเป็นอีกปัญหาปากท้องที่เราต้องเร่งมือแก้ไขและสร้างความเข้าใจ ไปจนถึงการตระหนักรู้ถึงความสำคัญในการร่วมกันหาทางออก

วิกฤตอาหารโลก 44 ประเทศต้องการช่วยเหลือด่วน เกิดอะไรขึ้น? คนไทยเราคงรับรู้ได้แล้วในตอนนี้แล้วจากราคาสินค้าอุปโภคบริโภครอบตัวที่ปรับสูงขึ้น แต่รายรับเราเท่าเดิมและเราก็ไม่อาจคาดเดาได้ว่าวิกฤตนี้จะยาวนานไปถึงไหน รัฐจะจัดการอย่างไร และในอนาคตเราจะยังสามารถมีการเกษตรที่ยั่งยืนหรืออาหารให้รับประทานเพียงพอหรือไม่

วิกฤตความไม่มั่นคงด้านอาหาร มีศักยภาพเพียงพอที่จะผลักให้ประชากรทั่วโลกและประเทศกำลังพัฒนาลดขั้นกลายเป็นประเทศยากจนได้หรือกลายเป็นคนจนได้ ซึ่งก็มีตัวอย่างให้ได้เห็นแล้วกับสถิติเด็กที่ขาดแคลนอาหารกำลังเพิ่มขึ้น และการประท้วงต่อการจัดการรัฐที่ไม่สามารถควบคุมการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ได้

ธนาคารโลกได้ประกาศแผนรับมือไว้บางส่วนในการทุ่มงบประมาณเพิ่มในประเทศเศรษฐกิจใหม่และประเทศกำลังพัฒนารวมไปถึงประเทศยากจนในการอัดฉีดเงินเข้าสู่ภาคส่วนการเกษตรและทางเลือกอื่น ๆ เพื่อความมั่นคงทางอาหารและกรมชลประทาน ดังนั้น นวัตกรรมการเกษตรและผลผลิตทางการเกษตรที่สมบูรณ์จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะนำพาให้เรารอดพ้นวิกฤตนี้ไปได้

ที่มาข้อมูล

https://www.fao.org/3/cb8893en/cb8893en.pdf

https://www.fao.org/worldfoodsituation/csdb/en/

https://www.thansettakij.com/economy/526226

related