บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทำจากถั่วหรั่ง ถั่วท้องถิ่นแอฟริกา แทนการใช้ข้าวสาลี ไอเดียสตาร์ทอัพใหม่จากสิงคโปร์ หวังเพิ่มความมั่นคงด้านอาหาร สร้างรายได้ให้เกษตรกรและช่วยโลกได้
การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศกำลังแปรปรวนทั่วโลก และไม่มีใครสามารถล่วงรู้อนาคตได้ว่า มันจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง แต่ที่แน่ๆ ที่สามารถคาดการณ์ได้คือ พืชผลจะเสียหายหากสภาพอากาศที่ไม่เหมือนเดิม พืชผลอาจจะไม่สมบูรณ์เหมือนแต่ก่อน การปลูกพืชหรือทำการเกษตรจะยากขึ้นแม้ว่าอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตรกำลังขยายการใช้ทรัพยากรไปอย่างไม่สิ้นสุด
ในเมื่ออนาคตที่ยังไม่เห็น ไม่รู้ว่าเป็นอย่างไรนั้น การเตรียมความพร้อมคือสิ่งที่พึงทำมากที่สุด โดยเฉพาะเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหารที่เป็นปัจจัยการอยู่รอดสำคัญของมนุษย์ มีพืชกินได้ 300,000 สายพันธุ์ แต่ในปี 2018 พืชผลเพียง 4 ชนิดคิดเป็นครึ่งหนึ่งของการผลิตทั่วโลก และ 3 ชนิด ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และข้าวสาลี ซึ่งคิดเป็น 86% ของการส่งออกทั้งหมด
Christoph Langwallner ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของ Whatlf Foods ต้องการเปลี่ยนแปลงสิ่งนั้น สตาร์ทอัพของเขาคือภารกิจที่จะกระจายระบบอาหารด้วยพืชผลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งคริสตอฟ กล่าวว่า สตาร์ทอัพจะสามารถฟื้นฟูที่ดินที่เสื่อมโทรม ลดการใช้น้ำที่ไม่จำเป็น ปรับปรุงอาหารของเราและเพิ่มความมั่นคงด้านอาหาร สิ่งที่มาแทนที่พืชผลเหล่านั้นคือ ถั่วหรั่ง (Bambara)
ถั่วหรั่ง เป็นพืชตระกูลถั่วชนิดหนึ่งที่ทนทาน ทนแล้งได้ เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับถั่วลิสง ถั่วลันเตาและถั่วประเภทอื่นๆ ถั่วหรั่งมีต้นกำเนิดมาจากแอฟริกาตะวันตก แต่ปัจจุบันปลูกอยู่ทั่วทั้งทวีปและในเอเชีย
พืชตระกูลถั่วทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ด้วยไนโตรเจน ซึ่งช่วยในการให้ปุ๋ยแก่พืชอื่นๆ นอกจากนี้ยังเป็น "อาหารที่สมบูรณ์" ที่มีโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไฟเบอร์สูง โดยให้กรดอะมิโน แร่ธาตุ และวิตามินที่จำเป็น ส่วนผสมดั้งเดิมในอาหารแอฟริกันพื้นเมือง พืชผลนี้มีการค้าขายและบริโภคในท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่ จนถึงปัจจุบันก็ยังมีขายและเป็นที่นิยม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
Swap & Go จับมือ 7-Eleven และ Swag EV ใช้มอไซค์ไฟฟ้าสลับแบตเตอรี่ ส่งเดลิเวอรี่
UNIQLO มุ่งสู่ความยั่งยืน เป็นมิตรกับโลก โดยผลิตยีนส์ใช้น้ำเพียง 1 ถ้วยชา
อียิปต์อาจเป็นเมืองแรกของโลกที่ประสบความสำเร็จเมืองคาร์บอนเป็นศูนย์
ข่าวดี! นักวิทย์ประดิษฐ์เอนไซม์ย่อยสลายพลาสติก สลายเร็วสุดแค่ 24 ชั่วโมง
Zoomlion พัฒนา รถขุด รถกระเช้าไฟฟ้า (AWP) ด้วยนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม
WhatIf Foods ซึ่งตั้งอยู่ในสิงคโปร์ แปรรูปถั่วหรั่งให้เป็นแป้ง "BamNut" อันเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งใช้ในการทำบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซุป และเครื่องดื่มอย่างสมูทตี้ด้วย คริสตอฟหวังที่จะสร้างตลาดใหม่สำหรับพืชผล และ "ทำให้ถั่วหรั่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบ"
บะหมี่เพื่อโลก
คริสตอฟ เคยร่วมงานกับบริษัทเทคโนโลยีอาหารมาก่อน เขาเห็นโอกาสที่จะแนะนำถั่วหรั่งที่ไม่คุ้นเคยผ่านผลิตภัณฑ์ที่คุ้นเคย นั่นคือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ในปี 2020 มีการบริโภคอาหารจานด่วนหรือฟาต์สฟูดมากกว่า 116 ล้านล้าน
Whatlf เปิดตัวบะหมี่ในสิงคโปร์ในปี 2020 โดยแทนที่กระบวนการทอดที่ใช้ในการผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบธรรมดาด้วยวิธีที่ดีต่อสุขภาพยิ่งขึ้น ซึ่งจะคล้ายๆกับการทอดด้วยลมร้อนแทน ด้วยเทคนิคที่เป็นเอกสิทธิ์เฉพาะนี้จะช่วยลดปริมาณไขมันในบะหมี่ของ Whatlf และหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันปาล์ม ซึ่งเป็นส่วนผสมที่เชื่อมโยงกับการตัดไม้ทำลายป่าและมลพิษในดินและน้ำ คริสตอฟกล่าวว่า บะหมี่นี้ยังมีเส้นใยและโปรตีนมากกว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่ทำจากข้าวสาลีทั่วไปด้วย
บะหมี่ของ WhatIf มีราคาสูงถึง $2.50 ต่อส่วน (86 บาท) มีราคาแพงกว่าผลิตภัณฑ์จากกลุ่มผู้แข็งแกร่งในอุตสาหกรรม เช่น Nissin และ Indomie แต่คริสตอฟ กำลังเดิมพันด้วยความเต็มใจจากผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะตลาด Millennial และ Gen-Z ที่จะยอมจ่ายแพงกว่าเพื่อซื้อผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน
ทรัพยากรที่จำกัด
แม้จะให้คุณค่าทางโภชนาการสูงและดีต่อดิน ถั่วหรั่งก็มีการปลูกในปริมาณที่น้อยมาก รายงานการผลิตประจำปีในแอฟริกามีเพียง 0.3 ล้านตัน ซึ่งเป็นปริมาณเล็กน้อยเมื่อเทียบกับข้าวสาลีที่ผลิตได้ 776.6 ล้านเมตริกตันทั่วโลกในปีที่แล้ว
นั่นเป็นเพราะว่าถั่วหรั่งไม่ได้ปลูกเป็นพืชหลัก วิกตอเรีย จิเดอานี (Victoria Jideani) ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์การอาหารแห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเคปเพนนินซูล่า (Cape Peninsula University) ในแอฟริกาใต้กล่าว เกษตรกรปลูกมันเพื่อช่วยให้ดินอุดมสมบูรณ์ และผลผลิตที่ได้จะถูกกินและขายในท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่
แต่การสร้างตลาดระหว่างประเทศสำหรับพืชผลอาจสร้างแรงจูงใจใหม่ๆ ให้กับเกษตรกร และสนับสนุนความมั่นคงด้านอาหารสำหรับคนรุ่นใหม่ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศคุกคามการผลิตพืชผลบางชนิด
จากข้อมูลขององค์การสหประชาชาติ พื้นที่เพาะปลูก 23 เฮกตาร์สูญเสียไปจากความแห้งแล้งและการทำให้เป็นทะเลทรายทุกๆนาที และจากการศึกษาพบว่าความแห้งแล้งส่งผลกระทบต่อดินเพื่อเกษตรกรรม 40% พื้นที่เพาะปลูกหลายแห่ง ซึ่งพืชผลหลักอย่างข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้เติบโตขึ้นก่อนหน้านี้ ‘จะไม่เจริญรุ่งเรืองอีกต่อไป’ ซึ่งมันลามกลายเป็นปัญหาใหญ่ในแอฟริกาที่พื้นที่เพาะปลูกจะลดลงถึง 60%
แต่ถั่วหรั่งสามารถทนต่อสภาพแล้งและเจริญเติบโตได้ในดินที่ยากต่อการเพาะปลูกหรือพื้นที่กึ่งแห้งแล้ง ในขณะเดียวกันก็เติบเต็มพื้นที่ที่เสื่อมโทรม ด้วยการเสนอพืชทางเลือกที่สามารถช่วยฟื้นฟูดินแห่งนี้ได้
บริษัทอย่าง WhatIf สามารถสร้างความต้องการทั่วโลกสำหรับพืชผลที่ "ไม่ได้ใช้ประโยชน์" นี้ ปฏิสัมพันธ์ที่เรามีกับ (เกษตรกร) บ่งชี้ว่าพวกเขากำลังมองหาตลาด” และคริสตอฟก็ไม่ได้อยู่คนเดียวในการสำรวจศักยภาพพืชผล Jideani และทีมของเธอกำลังทดลองผลิตภัณฑ์จากถั่วหรั่ง ซึ่งรวมถึงแครกเกอร์ เค้ก และเต้าหู้ เธอต้องการเห็นรัฐบาลสร้างแรงจูงใจในการผลิตถั่วหรั่ง "พืชผลใด ๆ ที่นำเสนอตัวเองว่าเป็นทางออกสำหรับอนาคตควรรีบคว้าไว้"
แนวทางที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง
จนถึงตอนนี้ คริสตอฟและผู้ร่วมก่อตั้ง Peter Cheetham ซึ่งเป็นวิศวกรชีวเคมี ได้ทุ่มเงินของตัวเองเพื่อบริหารบริษัท เช่นเดียวกับการระดมทุนจากเพื่อนฝูงและนักลงทุนเอกชน ซึ่งขณะนี้พวกเขากำลังมองหานักลงทุนสถาบันอื่นๆเพื่อช่วยขยายขนาดบริษัทให้ใหญ่และกว้างไกลกว่านี้
บริษัทกำลังทำงานเพื่อก้าวไปสู่ก้าวแรก การจัดหาถั่วหรั่ง 1,000 เมตริกตันจากแอฟริกาตะวันตก ที่ซึ่งคริสตอฟจะฟื้นฟูพื้นที่ได้มากถึง 1,000 เฮกตาร์ภายในสิ้นปี 2023 บริษัทกำลังทำงานโดยตรงกับเกษตรกร 1,600 คน ในกานาและการก่อสร้าง ความสัมพันธ์กับเกษตรกรในไนจีเรียและมาเลเซีย เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการขยายตัวในอนาคต แต่ทางบริษัทยังคงไม่สามารถเผยตัวเลขการขายให้ทราบได้
ผลิตภัณฑ์ของ WhatIf ผลิตอยู่ในโรงงานของบริษัทในมาเลเซียและออสเตรเลีย และกำลังจะวางจำหน่ายในสิงคโปร์ มาเลเซีย และออสเตรเลีย ในเดือนนี้ พวกเขากำลังเปิดตัวในสหรัฐอเมริกาบนร้านค้าออนไลน์ บริษัทยังดำเนินการผ่านการอนุมัติด้านกฎระเบียบในสหภาพยุโรป ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปลายปีนี้ด้วยเช่นกัน
ในอนาคต WhatIf ต้องการ "จำกัดการผลิต" ด้วยการสร้างโรงงานให้ใกล้กับอุปทานของถั่วหรั่งหรือใกล้ชิดกับผู้บริโภคมากขึ้น นอกจากนี้บริษัทกำลังขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์ โดยเพิ่งเปิดตัวนมแบมนัท (BamNut) และกำลังสำรวจการพัฒนาผลิตภัณฑ์นมจากพืชอื่นๆ เช่น โยเกิร์ตและชีส
ด้วยการใช้ "แนวทางที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง" คริสตอฟหวังว่าถั่วหรั่งจะช่วยให้เกษตรกรทั่วโลกฟื้นฟูดินแดนที่เสื่อมโทรม และกระจายโภชนาการของเราเพื่ออนาคตที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น
ที่มาข้อมูล
https://whatif-foods.com/blogs/news/whatif-noodles-are-made-this-way-the-whatif-way