วันสิ่งแวดล้อมโลกปีนี้ Springnews ชวนดูการเปลี่ยนแปลงด้านสถิติของสิ่งแวดล้อมโลก ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง จากข้อมูลดาวเทียมอวกาศของนาซา เพราะสิ่งแวดล้อมที่ดีต้องเป็นของคนทุกรุ่น
เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก Springnews ชวนดูการเปลี่ยนแปลงด้านสถิติของสิ่งแวดล้อมโลก ว่ามันเกิดอะไรขึ้นบ้าง โดยอ้างอิงข้อมูลดาวเทียมจาก NASA (องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ) แบ่งออกเป็นสถิติ 6 ด้าน ระดับค่าบอนไดออกไซด์, อุณหภูมิโลก, การหดตัวของแผ่นน้ำแข็งอาร์กติก, มวลแผ่นน้ำแข็งในแอนตาร์กติกาลดลง, ระดับน้ำทะเล และความร้อนในมหาสมุทร
ซึ่งนี่คือการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่มีหลักฐานอ้างอิงอย่างเด่นชัด เราคงปฏิเสธไม่ได้แล้วว่า การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมกำลังคืบคลานเข้ามาหามนุษย์ทีละนิดๆ และมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องร่วมมือกันในการป้องกันวิกฤตด้านสภาพอากาศและการเปลี่ยนแปลงของโลกที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต งั้นไปดูกันเลยว่าในแต่ละหัวข้อนั้นกล่าวไว้ว่าอย่างไรบ้าง
ระดับคาร์บอนไดออกไซด์พุ่งสูงขึ้น
คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นก๊าซกักเก็บความร้อน (เรือนกระจก) ซึ่งได้มาจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การตัดไม้ทำลายป่าและการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล ตลอดจนกระบวนการทางธรรมชาติ เช่น การหายใจและการระเบิดของภูเขาไฟ การวัดระดับคาร์บอนไดออกไซด์จัดทำโดยองค์กรนาซา ที่ตั้งเครื่องวัดที่หอดูดาวใน Mauna Loa บนหมู่เกาะฮาวาย โดยเมื่อไม่นานมานี้ได้ทุบสถิติการวัดค่าคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์แล้ว
ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของยุคอุตสาหกรรมในปี 1750 กิจกรรมของมนุษย์ได้เพิ่มความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศขึ้นประมาณ 50% ซึ่งเป็นการเพิ่มที่มากกว่าที่จะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติจนแทบจะเรียกได้ว่าผิดปกติที่สุดก็ว่าได้ จากกราฟด้านล่างจะเห็นได้ว่า ปริมาณ ppm (part per million) ของคาร์บอนไดออกไซด์นั้นสูงขึ้นทุกปี โดยมีการวัดตั้งแต่ปี 2005 จนถึงปัจจุบัน
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
พบ พืชที่เติบโตใหญ่ที่สุดในโลก นอกชายฝั่งออสเตรเลีย ใหญ่เท่า 20,000 สนามบอล
คลื่นความร้อนทำอากาศร้อนในอินเดีย แตะ 49 องศาเซลเซียสแล้ววันนี้
นักวิทย์ชี้ ปีนี้ระดับคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุดในประวัติศาสตร์โลกแล้ว
นักวิจัยชี้ อีก 5 ปีข้างหน้า มีโอกาส 50-50 ที่อุณหภูมิโลกจะสูงกว่า 1.5 องศา
แล้วคาร์บอนไดออกไซด์ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง?
สลักสำคัญของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นั้น ช่วยให้โลกอบอุ่นโดยการดูดซับพลังงานของดวงอาทิตย์และเปลี่ยนเส้นทางพลังงานกลับสู่พื้นผิวโลก แต่การเพิ่มปริมาณของคาร์บอนไม่ได้ส่งผลดีซะทีเดียว หากมีการสะสมก๊าซเหล่านี้มากเกินไป ความร้อนดังกล่าวจะละลายทุกสิ่งเช่น น้ำแข็งและทำให้น้ำในมหาสมุทรเพิ่มระดับ จนนำไปสู่การเกิดน้ำท่วม
พืช เปรียบเสมือนฮีโร่ของเรื่องนี้ เพราะมีหน้าที่ในการดูดซับก๊าซคาร์บอนที่มากเกินไปในชั้นบรรยากาศได้ นอกจากนี้คาร์บอนไดออกไซด์นั้นมีความจำเป็นจ่อความอยู่รอดของสัตว์ รวมไปถึงมนุษย์เองด้วย ออกซิเจนจะถูกส่งไปยังเนื้อเยื่อของร่างกายระหว่างการหายใจและปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาแทน ซึ่งนี่เป็นกลไกของร่างกายที่จะมีการแลกเปลี่ยนก๊าซ
คาร์บอนไดออกไซด์มากเกินไปสามารถฆ่าสัตว์ได้ หากคาร์บอนไดออกไซด์ถูกกักขังไว้ ก็สามารถลดปริมาณออกซิเจนที่เข้าสู่ร่างกายได้ การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่เข้าสู่ร่างกายอาจทำให้ไตวายหรือโคม่าได้
อุณหภูมิโลกสูงขึ้น ไม่ใช่เรื่องดี
นักวิทยาศาสตร์ออกมาป่าวประกาศว่า หากอุณหภูมิโลกเดินทางแตะถึง 1.5 องศาเซลเซียส เมืองใหญ่ๆหลายแห่งทั่วโลกจะจมน้ำ เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องโกหกแต่อย่างใด เพราะมันกำลังเกิดขึ้นจริงแล้ว
ตั้งแต่ปีค.ศ. 1980 โลกเริ่มร้อนขึ้นมากกว่าปีก่อนหน้า และมันก็ได้ดำเนินการเพิ่มระดับขึ้นมาเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยส่วนใหญ่มาจากกรีนเฮาส์ก๊าซในชั้นบรรยากาศ ผลของมันทำให้เราเริ่มมองเห็นความผิดปกติของสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงสุดขั้วได้ชัดเจนขึ้นจากทั่วทุกมุมโลก มีฝนมากกว่าหิมะ ณ ยอดเขาบนแผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์ ซึ่งถือเป็นปรากฎการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน สิ่งที่ไม่เคยเห็น ก็จะได้เห็นกันมากขึ้นเรื่อยๆ
โดยในปัจจุบันข้อมูลจากนาซ่าเผยว่า อุณหภูมปัจจุบันอยู่ที่ 0.85 องศาซียลเซียสแล้ว แต่แค่นี้ ก็สร้างการเปลี่ยนแปลงไปได้มากที่เดียว ยกตัวอย่างประเทศอินเดียที่ถูกคลื่นความร้อนโจมตีในปีนี้ แม้ว่าจะอยู่ในช่วงฤดูร้อนแต่มันก็ร้อนมากกว่าหลายปีที่ผ่านมา จนทำให้ผู้คนล้มตายจำนวนมาก
มองข้ามการขึ้นลงของตัวเลขไป และมองพุ่งตรงไปยังเป้าหมายการควบคุมของอุณหภูมิโลก อย่างที่ทราบกันดีว่าหลายฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ภาคเอกชนก็เริ่มที่จะออกนโยบายกันบ้างแล้ว หลังมีการแจ้งเตือนจาก IPCC ที่ส่งสัญญาณเตือนว่าโลกเริ่มก้าวเข้าสู่สภาพอากาศที่แปรปรวนจนยากจะย้อนกลับไปได้ หรือก็คือหายนะของมนุษยชาติ และอุณหภูมิโลกไม่ควรแตะถึง 1.5 – 3 องศาเซลเซียส เพราะหากโลกเดินทางถึงอุณหภูมิดังกล่าวจริงๆ ระดับน้ำในทะเลจะเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการละลายของเปลือกน้ำแข็ง ทั้งจากขั้วโลกใต้และขั้วโลกเหนือ
ภาพด้านล่างนี้จะแสดงการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิพื้นผิวโลกเฉลี่ยตั้งแต่ปี 1951-1980 และโลกได้ร้อนขึ้นเรื่อย ๆ อย่างฉุดไม่อยู่ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา และตั้งแต่ปี 2016-2020 ถืว่าเป็นปีที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ตั้งแต่เริ่มบันทึกมา
การหดตัวของแผ่นน้ำแข็งอาร์กติก
ทวีปแอนตาร์กติก หรือขั้วโลกใต้ แต่เดิมถือว่าเป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก ซึ่งใหญ่กว่าออสเตรเลียถึง 2 เท่า และเต็มไปด้วยน้ำแข็งหนาและความหนาวเย็นแบบติดลบ ถือเป็นดินแดนที่หนาวที่สุดบนโลกใบนี้ และมีความสำคัญอย่างมากในการรักษาสมดุลของโลก ทั้งในด้านของอุณหภูมิและการคงที่ของระดับน้ำทะเล แต่มาวันนี้ขั้วโลกใต้ได้เปลี่ยนไป ตั้งแต่มนุษย์ได้เริ่มบันทึกการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ขั้วโลกมา ในปี 2022 นี้ ขั้วโลกใต้ได้หดตัวมีขนาดเล็กลงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งถือว่าเป็นสัญญาณอันตรายอันเกี่ยวเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศหรือ Climate Change นั่นเอง
น้ำแข็งในทะเลอาร์กติกถึงระดับต่ำสุดในแต่ละเดือนกันยายน น้ำแข็งในทะเลอาร์กติกในเดือนกันยายน กำลังลดลงในอัตรา 13% ต่อทศวรรษ เทียบกับค่าเฉลี่ยปี 1981 ถึง 2010 กราฟนี้แสดงค่าต่ำสุดประจำปีของน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกทุกเดือนกันยายนตั้งแต่ปี 1979 ซึ่งได้มาจากการสังเกตการณ์ผ่านดาวเทียม จากการเปรียบเทียบวันนี้กับวันที่ 3 มีนาคม 2017 พบน้ำแข็งในทะเลหายไปประมาณ 2 เท่าของขนาดพื้นที่แคลิฟอร์เนีย
มวลแผ่นน้ำแข็งในแอนตาร์กติกาลดลง
แผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกกำลังสูญเสียน้ำแข็งบนบกจำนวนมากอันเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อนที่เกิดจากมนุษย์ ข้อมูลจากดาวเทียมติดตาม GRACE ของ NASA แสดงให้เห็นว่าแผ่นน้ำแข็งในทวีปแอนตาร์กติกา (แผนภูมิบน) และกรีนแลนด์ (แผนภูมิด้านล่าง) สูญเสียมวลไปตั้งแต่ปี 2002 ภารกิจของ GRACE ได้สรุปการดำเนินงานด้านวิทยาศาสตร์ในเดือนมิถุนายน 2017
โดยทวีปแอนตาร์กติกาเสียมวลไปทั้งสิ้น 150 พันล้านเมตริกตันต่อปี ตั้งแต่ปี 2002 และ กรีนแลนด์สูญเสียมวลไปทั้งสิ้น 275 พันล้านเมตริกตันต่อปีตั้งแต่ปี 2002 เช่นกัน
การติดตามของ GRACE เริ่มการเก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนมิถุนายน 2018 และขณะนี้กำลังดำเนินการบันทึกข้อมูลการเปลี่ยนแปลงมวลสำหรับแผ่นน้ำแข็งทั้งสอง บันทึกข้อมูลนี้รวมถึงการปรับปรุงการประมวลผลข้อมูลล่าสุดและมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเมื่อมีการเก็บรวบรวมข้อมูลมากขึ้น (โดยมีความล่าช้าถึงสองเดือน)
ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น
ระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มขึ้นอันเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อนที่เกิดจากมนุษย์ โดยอัตราล่าสุดไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในช่วง 2,500 ปีที่ผ่านมา การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลมีสาเหตุหลักจากปัจจัยสองประการที่เกี่ยวข้องกับภาวะโลกร้อน ได้แก่ การเติมน้ำจากน้ำแข็งละลายและธารน้ำแข็ง และการขยายตัวของน้ำทะเลในขณะที่อากาศอุ่นขึ้น ซึ่งมีการติดตามระดับน้ำทะเลด้วยดาวเทียมตั้งแต่ปี 1993 โดยจะเห็นได้ว่าตอนนี้ระดับน้ำได้เพิ่มขึ้นทั้งสิ้น 100.8 มิลลิเมตรแล้ว
ต่อเนื่องจากหัวข้ออุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น น้ำทะเลได้เพิ่มสูงขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากการละลายของแผ่นน้ำแข็งแถบขั้วโลกจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก และสาเหตุของการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกก็เชื่อมโยงกับการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกหรือคาร์บอนไดออกไซด์ที่ได้อธิบายก่อนหน้านั้น จะเห็นได้ว่าปัญหาทั้งหมดเกี่ยวพันและเชื่อมโยงกันอย่างปฏิเสธไม่ได้แล้ว
โดยกรุงเทพมหานคร เป็นหนึ่งในเมืองใหญ่ที่นักวิทยาศาสตร์ได้คาดว่าจะจมน้ำในอีกมีกี่ 10 ปีข้างหน้า แต่ไม่ใช่จมแบบมิดหัวหรอกนะ แต่ระดับน้ำจะเพิ่มขึ้นมาเหมือนน้ำท่วม ทำให้หากินไม่ได้และผู้คนจะต้องอพยพหนี หากอุณหภูมิโลกแตะถึง 1.5 องศาเซลเซียสล่ะก็ เตรียมเก็บของหนีน้ำได้เลย
ความร้อนในมหาสมุทรเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 90 ของภาวะโลกร้อนเกิดขึ้นในมหาสมุทร โดยทศวรรษที่ผ่านมาและปี 2021 เป็นปีที่ร้อนที่สุด ทำให้ความร้อนภายในของน้ำเพิ่มขึ้นตั้งแต่เริ่มมีการบันทึกสถิติสมัยใหม่ในปี 1955 ดังแสดงในแผนภูมิด้านล่าง (บริเวณที่แรเงาสีน้ำเงินแสดงถึงระยะขอบของความไม่แน่นอน 95%) แผนภูมินี้แสดงค่าประมาณรายปีสำหรับความลึกของมหาสมุทร 2,000 เมตรแรก
การค้นพบนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายงานประจำปีในวงกว้างซึ่งมีรายละเอียดว่ามาตรการหลัก 4 ประการของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้แก่ ความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจก , ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น , อุณหภูมิของมหาสมุทร และการทำให้เป็นกรดของมหาสมุทร ซึ่งทั้งหมดนี้ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปี 2021
ความร้อนที่รุนแรงดังกล่าวทำให้ระบบนิเวศทางทะเลที่สำคัญ เช่น แนวปะการัง ทุ่งหญ้าทะเล และป่าสาหร่ายเคลป์มีความเสี่ยงที่จะพังทลาย ภาวะโลกร้อนอย่างรวดเร็วทำให้จำนวนปลาทั่วโลกลดลงด้วย
องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ยังยืนยันด้วยว่าระดับ pH ในมหาสมุทรถึงจุดต่ำสุดในรอบอย่างน้อย 26,000 ปี เมื่อมหาสมุทรมีความเป็นกรดมากขึ้น ความสามารถในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศจะลดลง
ระดับน้ำทะเลยังแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปีที่แล้ว หลังจากเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4.5 มม. ทุกปีในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งมากกว่าสองเท่าของอัตราที่เห็นระหว่างปี 1993 ถึง 2002 และสาเหตุหลักมาจากการสูญเสียมวลน้ำแข็งอย่างรวดเร็วจากการละลายของแผ่นน้ำแข็ง ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นทำให้ผู้อยู่อาศัยชายฝั่งหลายร้อยล้านคนเสี่ยงต่อพายุและน้ำท่วมที่รุนแรงและบ่อยครั้งมากขึ้น
สรุปโดยผู้เขียน
ปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ ผู้อ่านจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่ามีความเชื่อมโยงและเกี่ยวข้องกัน ในด้านของการเป็นบ่อเกิดของปัญหาและผลลัพธ์ของวิกฤตที่กำลังจะเกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเหล่านี้เริ่มต้นขึ้นในยุคที่มนุษย์เราเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมมีการปล่อยก๊าซที่เป็นพิษสู่ชั้นบรรยากาศเรื่อยมา และไม่สามารถควบคุมได้ จนในปัจจุบัน โลกได้เดินทางไปไกลกว่านั้น แต่อัตราการปล่อยก๊าซก็ยังคงสูงขึ้น
แม้ว่าช่วงหลังมานี้จะมีสัญญาณที่ดีหลังจากประชุมสุดยอดด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (COP26) ที่จัดเมื่อปลายปีที่ผ่านมา หลายประเทศเริ่มเล็งเห็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสัญญาว่าจะช่วยเหลือทุกด้านเพื่อควบคุมอุณหภูมิโลก อย่างไรก็ตาม ต้องดูผลลัพธ์ที่ทางการตั้งเป้าไว้ว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงภายในปี 2030-2050 เราต้องมารอดูกันว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยแค่ไหน
และไม่จำเป็นที่เรา ซึ่งเป็นหนึ่งในประชากรจะนั่งเฝ้าดอยู่เฉยๆได้ เราต้องมีส่วนในการให้ความร่วมมมือและช่วยเหลือสิ่งแวดล้อมของโลกในปลอกภัยมากขึ้น เพราะอนาคตที่ดีควรถูกส่งต่อให้ลูกหลายของเราได้ดูแลไปอีกนานแสนนาน สุขสันต์วันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน
ที่มาข้อมูล
https://climate.nasa.gov/vital-signs/ice-sheets/
https://sciencing.com/examples-secondary-pollutants-5314906.html