svasdssvasds

วิกฤตภัยแล้งรุนแรงทำเมืองโบราณอายุ 3,400 ปีโผล่กลางแม่น้ำในอิรัก

วิกฤตภัยแล้งรุนแรงทำเมืองโบราณอายุ 3,400 ปีโผล่กลางแม่น้ำในอิรัก

เมืองโบราณจากยุคสำริดอายุ 3,400 โผล่กลางแม่น้ำไทกริสในอิรัก หลังอ่างเก็บน้ำถูกดูดน้ำไปใช้ทำการเกษตรจนน้ำแห้งทั้งอ่าง จึงเป็นโอกาสทองของนักโบราณคดีในการขุดหาปริศนา

ภัยแล้งปีนี้โจมตีอิรักหนัก ทำให้น้ำในอ่างเก็บน้ำแห้งเหือดจนเมืองโบราณจากยุคสำริดอายุ 3,400 โผล่พ้นน้ำขึ้นมาเหนืออ่างเก็บน้ำ นักโบราณคดีต้องเร่งขุดค้นก่อนที่น้ำจะกลับมาเต็มอีกครั้ง

อิรักเป็นหนึ่งในประเทศบนโลกที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมากที่สุด โดยเฉพาะทางตอนใต้ของประเทศประสบปัญหาภัยแล้งรุนแรงเป็นเวลาหลายเดือน เพื่อป้องกันไม่ให้พืชผลแห้ง น้ำปริมาณมากได้ถูกดูดมาจากอ่างเก็บน้ำ Mosul ซึ่งเป็นแหล่งกักเก็บน้ำที่สำคัญที่สุดของอิรักตั้งแต่เดือนธันวาคม สิ่งนี้นำไปสู่การปรากฎขึ้นอีกครั้งของเมืองยุคสำริดที่จมอยู่ใต้น้ำเมื่อหลายสิบปีก่อนโดยไม่มีการสอบสวนทางโบราณคดีมาก่อน ตั้งอยู่ใน คามูเน ในเขต Kurdistan

การเผชิญหน้ากับภัยแล้งในฤดูร้อนที่รุนแรงของอิรัก ทำพืชผลทางเกษตรเสี่ยงแห้งเหี่ยวในหลายพื้นที่ นั่นจึงเป็นเหตุผลให้เกษตรกรหันมาดูดน้ำจากอ่างเก็บน้ำบนแม่น้ำไทกริส (Tigris River) ทางตอนแหนือของอิรักไปใช้ทำการเกษตร ส่งผลให้อ่างเก็บน้ำมีปริมาณน้ำลดลงเรื่อย ๆ จนตอนนี้ เมืองโบราณจากยุคสำริดของชาวอัสซีเรียที่จมอยู่ใต้น้ำได้กลับมาโผล่พ้นน้ำอีกครั้งแล้ว นี่จึงเหมือนเป็นโอกาสทองของนักโบราณคดีในการขุดค้นเมืองแห่งนี้

เมืองจากยุคสำริด ที่ทางโบราณคดีเรียกเมืองแห่งนี้ว่า เคมูเน (Kemune) เป็นอนุสรณ์สถานของจักรวรรดิ ‘มิตตานี’ (Mitanni Empire) หรือบางที่สะกดว่า จักรวรรดิ ‘มิทานิ’ เป็นอาณาจักรโบราณที่ปกครองบางส่วนของเมโสโปเตเมียตอนเหนือ เมื่อประมาณ 1,500 ปีก่อนคริสตกาลจนถึง 1350 ปีก่อนคริสตกาล ในความเป็นจริง นักวิจัยรู้จักซากเมืองนี้มานานแล้ว แต่ความยากคือนักโบราณคดีจะสามารถตรวจสอบได้เฉพาะฤดูแล้งเท่านั้น

อาณาเขตของอาณาจักรมิตตานี ปี 1500-1300 ก่อนคริสตกาล Cr. Worldhistory

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นักโบราณคดีขุดค้นเมืองเคมูนาในปี 2018 และได้ค้นพบวังที่สูญหาย ซึ่งผนังแต่ละห้องสูง 7 เมตร ที่ตกแต่งด้วยจิตรกรรมฝาผนังทาสี นักวิจัยได้จัดทำแผนที่ของเมืองส่วนใหญ่ ซึ่งรวมไปถึงศูนย์กลางอุตสาหกรรมและห้องเก็บของหลายชิ้นที่น่าจะมีสินค้าจากทั่วทั้งภูมิภาค ตามคำแถลงที่เผยแพร่โดยมหาวิทยาลัย ทูบิงเงนในเยอรมนี (the University of Tübingen in Germany)

Hasan Qasim นักโบราณคดีที่ทำงานในไซต์ดังกล่าวและประธานองค์กรโบราณคดีเคอร์ดิสถาน กล่าวว่า “ผลการขุดค้นแสดงให้เห็นว่าไซต์ดังกล่าวเป็นศูนย์กลางที่สำคัญในจักรวรรดิมิตตานี”

Ivana Puljiz ศาสตราจารย์รุ่นเยาว์ที่ศึกษาและขุดค้นกลุ่มโบราณคดีใกล้ตะวันออกที่มหาวิทยาลัยไฟรบูร์ก (Freiburg) ในเยอรมนี กล่าวว่า คามูเน เป็นศูนย์กลางเมืองที่เลื่องลือของจักรวรรดิมิตตานี แผ่นดินไหวน่าจะทำลายเมืองส่วนใหญ่เมื่อราว ๆ 1350 ปีก่อนคริสตกาล แต่ซากปรักหักพังบางส่วนยังคงอยู่ภายใต้กำแพงที่พังทลาย มนุษย์จมอยู่ใต้พื้นที่จากน้ำท่วมระหว่างการก่อสร้างเขื่อน Mosul ในช่วงปี 1980 นักโบราณคดีรู้เรื่องเคมูน ในขณะนั้นด้วย แต่พวกเขาไม่ได้ทำการตรวจสอบไซต์ดังกล่าว

นักวิจัยได้ค้นพบเมือง คามูเน ครั้งแรกในปี 2010 แต่ก็ไม่สามารถขุดค้นได้จนกว่าระดับน้ำจะลดต่ำเพียงพอ ในช่วงฤดูแล้งครั้งใหญ่ปี 2018 พวกเขาได้โอกาสครั้งที่ 2 ในการวิเคราะห์เมือง จนในปี 2022 นี้ก็มีโอกาสอีกครั้ง เพราะอิรักมีความจำเป็นต้องใช้น้ำในอ่างเก็บน้ำเพื่อนำไปปกป้องพืชผลทางการเกษตรจากภัยแร้งรุนแรง อิรักเป็นปะเทศที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศมากที่สุดในปีนี้ ดังนั้นระดับน้ำจึงต่ำพอที่จะไปสำรวจได้

นักโบราณคดีชาวเคิร์ดและชาวเยอรมันได้รวมตัวกันเป็นทีมภายในไม่กี่วันหลังจากตัดสินใจที่จะสืบสวน คามูเน และทำงานอย่างรวดเร็วที่ไซต์ในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ โดยไม่แน่ใจว่าน้ำจะกลับมาเมื่อไร ท่ามกลางซากปรักหักพังของมิตตานี ทีมงานได้ค้นพบแผ่นดิน (ลักษณะการใช้งานเหมือนกระดาษ) มากกว่า 100 แผ่นจากยุคอัสซีเรียตอนกลาง (ประมาณ 1365 ปีก่อนคริสตกาล)

แผ่นบันทึกที่ทำจากดิน ไว้เขียนบันทึก Cr.Worldhistory

หลังจากที่จักรวรรดิมิตตานีสิ้นสุดลง ชาวอัสซีเรียได้สร้างการตั้งถิ่นฐานใหม่ที่เคมูเน และแผ่นดินของพวกเขาก็มีการเขียนเล่าเรื่องที่อาจเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของอาณาจักรนี้ “เรายังไม่รู้ว่าข้อความนั้นเขียนว่าอย่างไร แต่เราหวังว่าพวกเขาจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเริ่มต้นการปกครองของอัสซีเรียในภูมิภาคนี้” Puljiz กล่าว

อ่างเก็บน้ำมีปริมาณน้ำสูงขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ พวกเขาได้วางแผ่นพลาสติกบนอาคารและปูแผ่นด้วยกรวดเพื่อป้องกันเมืองจากการเสื่อมสภาพเพิ่มเติม ตอนนี้ Kemune อยู่ใต้น้ำโดยสมบูรณ์อีกครั้งและนักวิจัยไม่รู้ว่าพวกเขาจะสามารถกลับมาได้เมื่อใด

เกร็ดความรู้เล็กน้อยเกี่ยวกับ อาณาจักรมิตตานี Mittani

อาณาจักร มิทานิหรือมิตตานีเคยเป็นส่วนหนึ่งของอัสซีเรียและเคยรุ่งเรืองมาก่อน ครั้งหนึ่งพื้นที่แห่งนี้ได้เคยทอดยาวจากอิรักตอนเหนือในปัจจุบัน ลงไปทางซีเรียและเข้าไปยังตุรกี และเป็นหนึ่งในประเทศที่เคยยิ่งใหญ่ที่สุดในเวลานั้น แต่ตอนนี้เมืองแห่งนี้ได้ถูกลืมไปมากแล้ว

นอกจากนี้หลักฐานสำคัญที่หลงเหลือในเมืองแห่งนี้คือแผ่นข้อความที่ทำจากดิน มีบันทึกที่เกี่ยวกับประชาชนเพียงไม่กี่คนเท่านั้น แต่มีการค้นพบบันทึกการติดต่อระหว่างกษัตริย์แห่งมิทานีกับกษัตริย์อัสซีเรีย และอียิปต์ (จดหมายอามานาร์) ตลอดจนมีการค้นพบคู่มือการฝึกม้าที่เก่าแก่ที่สุดในโลกด้วย อาณาจักรแห่งนี้มีความเจริญรุ่งเรืองในช่วงระหว่างปี 1500 ถึง 1240 ก่อนคริสตกาล ซึ่งอาณาจักรมิตตานีมีอิทธพลมากพอที่จะรวมอาณาจักรขอบงตนไปเป็นส่วนหนึ่งของมหาอำนาจอย่างอียิปต์ อาณาจักรฮัตติ บาบิโลเนีย และอัสซีเรีย

จดหมายอามานาร์ Cr. Worldhistory

อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 ก่อนคริสตกาลเป็นต้นมา การรุกรานอาณาจักรของชาวอัสซีเรียทำให้อาราจักรมิตตานีอ่อนแอลง เมื่อกษัตริย์อัสซูร์-อูบัลลิตที่ 1 แห่งอัสซีเรีย ผนวกแผ่นดินสำคัญๆเข้าด้วยกัน ความขัดแย้งในการสืบบัลลังก์ของราชวงศ์มิทานีได้เพิ่มความยากลำบากให้กับราชอาณาจักร และการขาดความสามัคคีนี้ทำให้มิทานีตกเป็นเหยื่อของชาวฮิตไทต์ได้ง่ายภายใต้กษัตริย์ซัปปิลูลิอุมาที่ 1 ค.ศ.1344-1322 ก่อนคริสตศักราช ซึ่งเนรเทศประชากรกลุ่มใหญ่และแทนที่พวกเขาด้วยชาวฮิตไทต์

กษัตริย์อาดัด นิรานีที่ 1 อัสซีเรีย ได้เข้ายึดพื้นที่และได้เนรเทศกลุ่มประชาชนออกไปอีกครั้ง โดยแทนที่ด้วยอาสาสมัครชาวอัสซีเรีย ต่อมาลูกชายและผู้สืบทอดของเขา ชาลมาเนเซอรืที่ 1 พิชิตมิตตานีได้ในปี 1250 ก่อนคริสตกาล และเอาชนะพวกฮิตไทต์ได้ และปี 1245 ก่อนคริสตกาลอาณาจักรมิตตามิก็เสื่อมโทรมลงมากและได้กลาเป็นส่วนหนึ่งของอาจักรอัสซีเรีย

สามารถศึกษาต่อได้ที่ >>> https://www.worldhistory.org/Mitanni/

ที่มาข้อมูล

https://www.livescience.com/ancient-city-in-iraq-emerges-after-drought

https://uni-tuebingen.de/en/university/news-and-publications/press-releases/press-releases/article/a-3400-year-old-city-emerges-from-the-tigris-river/

https://www.worldhistory.org/Mitanni/

related