งานวิจัยใหม่อังเอิญไปค้นพบว่า หนูตัวผู้กลัวกลิ่นกล้วย ได้กลิ่นแล้วเครียดเหมือนต้องเครียมตั้งรับการต่อสู้ แต่ทำไมมันถึงกลัวล่ะ บทความนี้มีคำตอบ
เอาล่ะใครกลัวหนูหรือบ้านมีหนูวิ่งลองไปทดลองดูหน่อยสิ ว่าได้ผลจริงไหม เมื่อเร็วๆนี้มีงานวิจัยตัวใหม่ที่บังเอิญพบระหว่างการทดลองว่า หนูตัวผู้ ดูเหมือนจะกลัวกลิ่นกล้วย ทำไมเป็นอย่างนั้นล่ะ?
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย McGill ในเมืองมอนทรีออล รัฐควิเบก ประเทศแคนาดา ได้บังเอิญไปพบการเรียนรู้เรื่องใหม่ที่คิดว่านักวิจัยหลายคนยังไม่ทราบ นั่นคือหนูตัวผู้อาจจะไม่ชอบกลิ่นของกล้วย เนื่องจากพอลองมานั่งคิดๆดูแล้ว ปกติ หนูตัวเมียที่กำลังตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมลูกนั้นจะมีกลไกการป้องกันตัวเองจากตัวผู้เพื่อไม่ให้มารบกวนเธอและลูกๆ โดยพวกเธอจะปล่อยสารเคมีตัวหนึ่งที่ชื่อว่า n-pentyl acetate ซึ่งสารเคมีตัวนี้อยู่ในปัสสาวะของตัวเมีย
เมื่อหนูตัวผู้ได้กลิ่นสารเคมีนี้เข้าไปจะเกิดความเครียด ต้องบอกก่อนว่า พฤติกรรมอันเป็นปกติของหนูเหล่านี้คือ เมื่อตัวเมียคลอด ลูกตัวผู้มักจะรุกรานตัวเมียและลูกๆ โดยเฉพาะหนูตัวผู้ที่บริสุทธิ์ที่ยังไม่เคยมีผสมพันธุ์จะมีปฏิกิริยาเป็นพิเศษ ดังนั้นเพื่อป้องกันผู้ล่ามิให้เข้ามาใกล้ ตามสัญชาตญาณของแม่ ตัวเมียที่ตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมลูกต้องอาศัยสารเคมี n-pentyl acetate เพื่อส่งข้อความไปบอกตัวผู้ว่า “ออกไปห่างๆลูกของฉันนะ ไม่อย่างนั้นเตรียมตัวเตรียมใจโดนฉันตบตีได้เลย ถ้าเธอแตะต้องลูกของฉัน” สารนี้จะทำหน้าที่ทันทีเมื่อตัวผู้ได้กลิ่น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
งานวิจัยชี้ ประชากรแมลงกำลังลดลงเกือบครึ่งหนึ่งทั่วโลก เกิดอะไรขึ้น?
งานวิจัยชี้ ทรายกำลังหมดโลก ถ้าโลกนี้ไม่มีทรายจะเกิดอะไรขึ้น?
รัฐนิวเจอร์ซีย์ประกาศแบนเครื่องสำอางที่ผ่านการทดสอบในสัตว์แล้ว!
เพื่อให้แนวคิดนี้ได้รับการยอมรับและทดสอบว่ามันเป็นเรื่องจริง เจฟฟรีย์ โมกิล (Jeffrey Mogil) ผู้เขียนอาวุโสของการศึกษาและศาสตราจารณ์ภาควิชาจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยแมคกิลล์มานั่งคิดว่า กล้วย เป็นผลไม้ที่มีสารเคมีดังกล่าว เป็นไปได้หรือไม่ที่หนูตัวผู้จะกลัวหรือไม่ชอบ เพื่อพิสูจน์ความคิดนั้น ทีมงานของโมกิลจึงได้ ซื้อน้ำมันกล้วยจากซูเปอร์มาเก็ตในท้องถิ่นและเติมของเหลวในสำลีก้อนแล้วนำไปใส่ในกรงหนูตัวผู้
ผลปรากฏว่า เมื่อได้กลิ่นสารดังกล่าวหนูตัวผู้เกิดอาการเครียด เช่นเดียวกับการทดลองให้พวกมันดมปัสสาวะของตัวเมียที่มีสารเดียวกัน ฮอร์โมนความเครียดที่พุ่งขึ้นนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับความเครียดที่รู้สึกว่าพวกมันกำลังเผชิญกับการต่อสู้บางอย่าง
ผู้เขียนรายงานการศึกษาว่า การสัมผัสกับปัสสาวะหรือน้ำมันกล้วยมีผลเหมือนยาแก้ปวดหรือบรรเทาอาการปวด ซึ่งลดความไวต่อความเจ็บปวดของตัวผู้ นักวิจัยได้เรียนรู้ว่าการต้านทานความเจ็บปวดในเพศผู้พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 5 นาทีหลังจากที่พวกมันได้กลิ่น n-pentyl acetate และลดลง 60 นาทีหลังดมกลิ่น
โมกิล กล่าวว่า “ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ เนื่องจากเราไม่ได้มองหาสิ่งพิเศษเหล่านี้ แต่มันบังเอิญไปพบเข้าซะนี่ ถือเป็นเรื่องดีนะ เรื่องนี้ทำให้พวกเขาต้องนำตัวเมียที่ตั้งครรภ์อยู่ในห้องทดลองของเขาออกมาทดสอบอีกรอบ และแน่นอนตัวผู้เริ่มทำตัวแปลกๆเช่นเดิม เมื่อเข้าใกล้พวกเธอ”
หนูและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำนวนมากที่ไม่ใช่มนุษย์อาศัยประสาทสัมผัสในการดมกลิ่นของพวกมัน กลิ่นปัสสาวะก็เป็นที่รู้จักกันดี แต่สิ่งที่เราพบในที่นี้คือสิ่งที่ไม่เคยอธิบายที่ไหนมาก่อนในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เราเคยเห็นเรื่องราวเกี่ยวกับการดมกลิ่นจำนวนมากถูกส่งจากตัวผู้ถึงตัวเมีย แต่มีตัวอย่างน้อยกว่าของตัวเมียที่ส่งให้ตัวผู้ แต่กรณีนี้ เพศไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเลย ตัวเมียกำลังบอกตัวผู้ให้อยู่ห่างๆไม่งั้นจะโดนดี ปฏิกิริยาเหมือนกับตอนที่มันได้กลิ่นกล้วยเลย
ผู้เขียนรายงานยังพบว่าระดับของยาแก้ปวดที่เกิดจากความเครียดนั้นสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในหนูตัวผู้ ซึ่งบ่งชี้ว่าตัวผู้ที่ไม่ได้เป็นพ่อนั้นเป็นภัยต่อทารกมีภัยมากกว่าตัวผู้ที่เป็นพ่อ นอกจากนี้การวิจัยยังเสริมเรื่องของการสื่อสารที่เรามองไม่เห็นของพวกมัน “สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกำลังส่งสัญญาณถึงกันและกันมากกว่าที่เราคาดไว้ในตอนแรก เราพบว่าการสื่อสารของพวกมันนั้นสมบูรณ์กว่าที่เรารู้จักพวกมันมาก”
เรื่องวิทยาศาสตร์จึงมีแต่เรื่องมหัศจรรย์ให้เราได้ค้นพบอยู่เสมอ และยังคงแสดงให้เห็นว่าโลกนี้ยังมีอีกหลายเรื่องที่เราต้องหาคำตอบและไขปริศนาต่อไป
ที่มาข้อมูล