svasdssvasds

นักวิจัยชี้ อีก 5 ปีข้างหน้า มีโอกาส 50-50 ที่อุณหภูมิโลกจะสูงกว่า 1.5 องศา

นักวิจัยชี้ อีก 5 ปีข้างหน้า มีโอกาส 50-50 ที่อุณหภูมิโลกจะสูงกว่า 1.5 องศา

ปี 2022-2026 อาจจะเป็นช่วงปีที่โลกมีอุณหภูมิร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ หากคาร์บอนไดออกไซด์ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อุณหภูมิโลกก็จะสามารถแตะเกิน 1.5 องศาได้ 1.5 สำคัญยังไง?

ปัญหาภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศกำลังรุนแรงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จากวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น ไฟป่า สึนามิ น้ำท่วม ดินถล่ม คลื่นความร้อนรุนแรงและอีกมากมาย และอีกเป้าหมายสำคัญที่หลายประเทศต้องร่วมมือกันทำตามให้ได้คือการควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส

นักวิจัยจากศูนย์วิจัย UK Met Office กล่าวว่า ขณะนี้มีโอกาสประมาณ 50-50 ที่โลกจะร้อนขึ้นมากกว่า 1.5 องศาเซลเซียสในอีก 5 ปีข้างหน้า การเพิ่มขึ้นดังกล่าวจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว แต่นักวิจัยกังวลเกี่ยวกับทิศทางโดยรวมของอุณหภูมิ เกือบจะแน่ใจได้แล้วว่า 2022-2026 จะเป็นปีที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์

The Met Office เป็นศูนย์บริการข้อมูลจากอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติของสหราชอาณาจักร เนื่องจากระดับก๊าซที่ร้อนขึ้นในชั้นบรรยากาศได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา อุณหภูมิโลกได้ตอบสนองด้วยการเพิ่มขึ้นทีละขั้นจะการสะสมมลพิษดังกล่าว

ข้อมูลดัชนีอุณหภูมิโลกที่บ่งชี้ว่าสูงขึ้น Cr.globalwarmingindex.org

ย้อนไปในปี 2015 ถือเป็นปีที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงกว่าระดับอุณหภูมิที่บันทึกไว้ก่อนยุคอุตสาหกรรมหรือช่วงปลางศตวรรษที่ 19 ประมาณ 1 องศาเซลเซียส และปี 2015 นั่นถือเป็นปีที่บรรดาผู้นำทางการเมืองลงนามในข้อตกลงด้านสภาพอากาศของกรุงปารีส ซึ่งให้คำมั่นสัญญาว่าโลกจะต้องรักษาอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียส (ซึ่งถือเป็นเพดานที่สูงที่สุดที่ตั้งไว้) และต้องรักษาอุณหภูมิไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียสเป็นอย่างต่ำแต่กถือว่าเป็นขอบเขตที่สุ่มเสี่ยงและอันตรายพอกัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

และในงานประชุมผู้นำเพื่อการหารือการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ COP26 ในกรุงกลาสโกว์ เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว รัฐบาลได้เน้นย้ำคำมั่นที่จะรักษาอุณหภูมิไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียสและการอัพเดตสถานการณ์สุ่มเสี่ยงด้านอื่นๆด้วย มีการอธิบายในงานว่า ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา อุณหภูมิโลกอยู่ที่ประมาณ 1 องศาเซลเซียส โดยปี 2016 และ 2020 ถือเป็นปีที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์

ภัยพิบัติกำลังรุนแรงขึ้นทั่วโลก นักวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า โลกที่ร้อนขึ้นราว 1 องศาเซลเซียสกำลังทำให้เราต้องเผชิญกับผลกระทบที่ร้ายแรงขึ้น เช่น ไฟป่าที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในอเมริกาเหนือเมื่อปีที่แล้ว หรือคลื่นความร้อนรุนแรงที่กำลังกระทบอินเดียและปากีสถาน และแน่นอนอุณหภูมิที่กำลังเพิ่มขึ้นในอีก 5 ปีข้างหน้าอาจจะกลายเป็นอุณหภูมิที่สูงที่สุดแบบที่โลกนี้ไม่เคยมีมาก่อน

การศึกษานี้ได้เผยให้เห็นว่า อุณหภูมิระหว่าง 2022 ถึง 2026 จะอยู่ระหว่างอุณหภูมิ 1.1-1.7 องศาเซลเซียส สูงกว่าระดับอุณหภูมิก่อนยุคอุตสาหกรรมแน่นอน นักวิจัยคาดการณ์ว่าช่วงระยะเวลาดังกล่าว โอกาสที่โลกจะแตะอุณหภูมิ 1.5 องศาเซลเซียสมีโอกาสเกิดขึ้นประมาณ 48% หรือคร่าวๆคือ 50-50

ดร.ลีออน เฮอร์แมนสัน (Dr Leon Hermanson) จากสำนักงาน Met Office ผู้เขียนหลักของรายงานกล่าวว่า สิ่งพื้นฐานที่เปลี่ยนแปลงไปคือระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศที่ค่อยๆคืบคลานเข้ามา

“ผมคิดว่าผู้คนค่อนข้างกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและมันน่าเป็นห่วง มันแสดงให้เห็นว่าเรายังคงให้ความอบอุ่นแก่โลกมากเกินไปและเราเข้าใกล้ธรณีประตูแรกที่กำหนดไว้ในข้อตกลงปารีส และเราจำเป็นต้องทำต่อไป ทุกสิ่งที่เราสามารถทำได้เพื่อลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล”

ศาสตราจารย์ Petteri Taalas จาก WMO กล่าวว่าตราบใดที่เราปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาเรื่อยๆ อุณหภูมิก็จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง “นอกจากนี้ มหาสมุทรของเราจะยังคงอุ่นขึ้นและเป็นกรดมากขึ้น น้ำแข็งในทะเลและธารน้ำแข็งจะยังคงละลาย ระดับน้ำทะเลจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสภาพอากาศของเราจะรุนแรงขึ้น”

นักวิจัยชี้ อีก 5 ปีข้างหน้า มีโอกาส 50-50 ที่อุณหภูมิโลกจะสูงกว่า 1.5 องศา จากการศึกษาพบว่า พื้นที่ในแถบอาร์กติกมีแนวโน้มที่จะรู้สึกถึงผลกระทบของภาวะโลกร้อนมากกว่าในช่วง 5 ปีข้างหน้า เมื่อเทียบกับส่วนอื่นๆ ของโลก ความแตกต่างของอุณหภูมิจากค่าเฉลี่ยระยะยาวจะมากเป็นสามเท่าในพื้นที่เหล่านี้ นอกจากนี้นักวิจัยยังเชื่อว่าอีก 1 ปีข้างหน้าจะทำลายสถิติปี 2016 และ 2020 ที่ว่าเป็นปีที่ร้อนที่สุด

อาจจะเป็นปีแห่งเอลนีโญก็ได้

สิ่งเหล่านั้น เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและอุตุนิยมวิทยาที่เกี่ยวข้องกับภาวะโลกร้อนที่ไม่ปกติของน้ำผิวดินในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศทั่วโลก

“ปีที่โลกของเราแตะเกิน 1.5 องศาเซลเซียสชั่วคราว อาจจะเป็นปีแห่งเอลนีโญ มันอยู่เหนือการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ เหมือนกับกระแสน้ำวน และน่าจะเป็นปีที่มีสถิติใหม่ของปีแห่งเอลนีโญ เหมือนปี 2016" ดร.เฮอร์มันสันจากสำนักงาน Met กล่าว

ที่มาข้อมูล

https://www.bbc.com/news/science-environment-61383391

https://www.globalwarmingindex.org/

related