ถ้าให้พูดถึงเกม กลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมคนรุ่นใหม่ และกลายเป็นอาชีพสำหรับใครหลาย ๆ คน วันนี้เราจะพามาย้อนดูศึกสงครามเกมเถื่อน-แท้ ในยุคของคอมพิวเตอร์ตั้งแต่มี CD ไปจนถึงยุคที่เกมแท้ราคาไม่ถึง 10 บาท
ก่อนจะไปถึงว่าเกมเถื่อน-แท้เป็นอย่างไร ต้องถามก่อนว่า คุณเคยไปเดินตามห้างฯ แล้วซื้อเกมแบบแผ่นละ 150 บาท , แผนรวม 10 เกม 10 in 1 หรือ เล่นเกมแบบไม่ต้องมี CD สมัยเด็ก ๆ ไหม ?
เชื่อหรือไม่ว่าในยุค 10-15 ปีที่แล้ว ส่วนใหญ่แผนเหล่านั้นที่ใส่ซองใส่บาง ๆ ปกเกมพิมพ์ด้วยกระดาษพิมพ์อิ้งค์เจ็ท นั่นแหละ ปลอมแท้ 100% ซึ่งสิ่งเหล่านี้วนเวียนอยู่ในสังคมคอมพิวเตอร์ไทยมานานนับทศวรรษ
ถ้าให้นับเอาตั้งแต่เกมเถื่อนมีมาแรก ๆ คงเล่าไปให้อ่านยาวเป็นชั่วโมง แต่ถ้าเราจำกัดเอาสั้น ๆ เฉพาะยุคที่เริ่มมีแผ่น CD เราจะได้เห็นว่าพฤติกรรมคนเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหน ?
เกมเถื่อนมี Crack
ถ้าพูดถึงเกมเถื่อน เป็นหนึ่งในคู่ปรับที่ผู้พัฒนาเกมพยายามปราบมานานแสนนาน และเป็นการต่อสู้กันหนักพอ ๆ กับ กรดกับเบสต่อสู้กัน เริ่มตั้งแต่การทำ CD พิเศษ , การทำชุดรหัสเฉพาะของแต่ละแผ่น(CD-KEY) ไปจนถึงต้องใส่แผ่นไว้ตลอดเวลาขณะเล่น
ซึ่งการเกิดขึ้นของเกมเถื่อนในอดีต เกิดขึ้นจากสาเหตุหนึ่งคือเกมมีราคาสูงเกินกว่าที่คนจะยอมจ่ายเงินเพื่อมัน ด้วยสภาวะสังคมในอดีตที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเกมและลิขสิทธิ์ จึงทำให้คนนิยมเกมเถื่อนแพร่หลายมากขึ้น สั่งเกตุได้จากเกมแท้สมัยก่อน กล่องละ 1,099 บาท บ้าง 1,500 บาท บ้าง! แน่หละว่ากลุ่มเป้าหมายอย่างเด็ก ๆ ในสมัยก่อนก็ไม่ได้มีเงินที่จะเก็บเพื่อจ่ายเงินซื้อเกมแท้ได้ขนาดนั้น เกมปลอมแบบ 10 in 1 แผ่นละ 150-300 บาท จึงเป็นทางเลือกที่ดูจะจับต้องได้มากกว่า
ขณะที่อีกหนึ่งสาเหตุหนึ่ง คือ การที่มีช่องโหว่ของกำลังซื้อทำให้กลุ่มพ่อค้าที่ฉวยโอกาสจับมือกับเหล่ามือแฮก ค้นหาช่องโหว่ในการทำให้เกมสามารถเล่นได้โดยไม่ต้องซื้อแผ่นแท้ เพื่อหาช่องทางในการสร้างรายได้จากคนที่มีกำลังจ่ายน้อยแต่อยากเล่นเกม
ในอดีตก็มีตั้งแต่การแก้ไขตัวไฟล์เกม ที่เรียกว่าการ Crack , การสุ่มเลขเฉพาะ(CD-KEY)ของเกมนั้น ๆ ในขณะลงเกม หรือที่เรียกว่า โปรแกรม Key-Gen , การจำลองแผ่น CD เสมือนว่าแผ่นถูกใส่ไปในเครื่อง เป็นที่รู้จักในชื่อ ไฟล์ ISO
อ่านเรื่องราวอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
อินเทอร์เน็ตเข้ามาแก้เผ็ดทุกอย่าง
แม้ว่าในยุคถัดมา เกมเถื่อนจะถูกปล่อยให้โหลดบนโลกออนไลน์ แยกมาเป็นไฟล์เล็ก ๆ ไฟล์ละ 200MB บ้าง แต่ก็ยังมีความยากลำบากแฝงอยู่ทั้งไฟล์บางไฟล์พังบ้าง ลิงค์โหลดเกมเสียบ้าง มีมัลแวร์-ไวรัสบ้าง เกมมีบัคอัปเดตไม่ได้บ้าง ทำให้กลายเป็นปัญหาฝังลึกในหมู่คนเล่นเกมเถื่อน แต่ก็ยังถือว่าคุ้มเสี่ยง-เสียเวลาสำหรับคนไทยในยุคนั้นอยู่ดี
เมื่ออินเทอร์เน็ตเร็วขึ้นเกมเถื่อนเลยไม่คุ้มเสี่ยงอีกต่อไป
ในช่วง 6-8 ปีให้หลัง แพลตฟอร์มซื้อ-ขายเกม Steam ของค่ายเกม Valve Corporation กลายเป็นที่นิยมในหมูคนเล่นเกมมากขึ้น ตามมาด้วยแพลตฟอร์ม Origin ของ Electronic Arts ที่พยายามผลักดันการใช้งานตาม ๆ กันมา
ข้อได้เปรียบหลักของแพลตฟอร์มเหล่านี้ คือ สะดวก ปลอดภัย ออนไลน์เล่นกับเพื่อนได้ง่าย เกมอัปเดตเร็ว และถูก ซึ่งทำให้กลุ่มคนเล่นเกมหันมาเล่นเกมแท้มากขึ้นเรื่อย ๆ
คำว่าสะดวกในที่นี้คือ ลงเกมสะดวกมากขึ้น แค่กดซื้อแล้วก็กดโหลด กดไม่กี่ครั้ง รอโหลดก็เล่นได้เลย เหมือนเราโหลดแอปฯ ลงมือถือ ต่อมาคือ ปลอดภัย เพราะโหลดผ่านแพลตฟอร์ม ตัวแพลตฟอร์มกรองไวรัสให้แล้ว จึงสบายใจในการโหลด ประกอบกับตัวแพลตฟอร์มเป็นออนไลน์อยู่แล้ว จึงทำให้เราสามารถเพิ่มเพื่อนและชวนเพื่อนมาเล่นเกมกับเราได้เลย ต่างจากเกมเถื่อนในอดีตที่ต้องโหลดตัวกลางอย่าง Tunngle หรือ Hamachi มาใช้
แพลตฟอร์มออนไลน์เปิดพื้นที่สร้างสรรค์-ช่องทางสำหรับสายแต่งเกม
แน่นอนว่าทุก ๆ เกมก็ไม่ได้ทำออกมาถูกใจคนเล่นทั้งหมด หรือบางครั้งอาจขาดหลาย ๆ อย่าที่คนเล่นต้องการไป จึงเกิดสิ่งที่เรือยกว่า Mod หรือ Modify ซึ่งเป้นการปรับแต่งเกมตามที่ผู้เล่นสร้างขึ้น เช่น ตึกใบหยกในเกม Cities Sky Lines ที่คนไทยทำขึ้นเอง , รถถังลายกองทับไทยในเกม Company of Heroes 2 หรือ รถลายต่าง ๆ ในเกม Forza Horizon ซึ่งแน่นอนว่าผู้พัฒนาคงไม่ทำแน่ แต่การเปิดโอกาสให้ผู้เล่นได้พัฒนาเกมต่อในรูปแบบของตนเองก็เป็นอีกหนึ่งข้อได้เปรียบของเกมแท้ เพราะคนทำ Mod ส่วนใหญ่ก็อยู่บนแพลตฟอร์มแท้เหล่านี้ และวิธีการโหลดก็ง่ายแค่กดครั้งเดียว
ในแพลตฟอร์ม Steam เปิดให้สาย Mod ได้โหลดและอัปโหลดไฟล์ง่าย ๆ ในชื่อ Workshop
ถึงเวลาไถ่บาปเกมเถื่อนที่เคยเล่นในอดีต
ขณะที่เมื่อก่อนเกมแท้ราคาหลักพัน เกมแท้ปัจจุบันราคาก็ไม่ต่างกัน ต่สิ่งที่ต่างกันคือ ในอดีตร้านค้านำเข้าเกมมาเป็นกล่อง ๆ สต๊อกเกมมาเป็นแผ่น ๆ โอกาสที่จะมีการลดแลกแจกแถมจึงเป็นไปได้น้อยในประเทศไทย เพราะด้วยตลาดที่เล็ก การเข้ามาของแพลตฟอร์มซื้อ-ขายเกมออนไลน์ทำให้เรื่องสต๊อกของหมดลง และทำให้การลดราคาทำได้ง่ายขึ้น
ในช่วงฤดุร้อน ฤดูหนาวของประเทศฝั่งตะวันตก มักจะกลายเป็นเทศกาลที่คนรุ่นใหม่ต่างตั้งตารอเกมลดราคาที่มีตั้งแต่ราคา 69 บาท ไปจนถึง 300 บาท ให้ได้เข้าไปจับจองกัน ซึ่งเรียกว่า Summer Sale , Winter Sale นอกจากมียังมีสิ่งที่เรียกว่าการป้ายยาด้วย เช่น เปิดให้เล่นเกมฟรี 3 วัน แจกเกมฟรี เป็นต้น
ขณะเดียวกันค่านิยมของคนก็เปลี่ยนไป มองว่าคนเล่นเกมเถื่อนเป็นคนที่ทำลายอุตสาหกรรมนี้และทำลายเกมที่เขาชื่นชอบด้วย
คนซื้อเกมแท้ ผู้พัฒนามีเงินไปทำเกมดี ๆ
เรื่องหนึ่งที่ปฎิเสธไม่ได้คือ คนเล่นเกมเถื่อน เงินที่ซื้อของเถื่อนมา ไม่เข้าสตูดิโอและผู้พัฒนาเลยสักบาท แต่การมีแพลตฟอร์มออนไลน์ และพฤติกรรมของคนเปลี่ยน ทำให้เม็ดเงินกลับไปถึงมือผู้พัฒนามากขึ้น เกมใหม่ ๆ ที่ไม่ได้มาจากผู้พัฒนาดัง ๆ หรือที่เรียกว่า เกมอินดี้ ก็มีที่ยืนมากขึ้น เข้าถึงผู้คนมากขึ้น และทำให้อุตสาหกรรมนี้ไปต่อได้
สุดท้ายแล้วหลังจากนี้จะเป็นการแข่งขันกันของทั้งผู้พัฒนาเกมและแพลตฟอร์มขายเกมที่จะดึงดูดคนให้เขามาเล่นและใช้บริการแพลตฟอร์มของตนเองได้อย่างไรให้นานที่สุดและใช้จ่ายเงินมากที่สุดด้วย
สำหรับแพลตฟอร์มซื้อขายเกมลิขสิทธิ์ อาทิ Steam , Origin , Epic , Uplay , Battlenet และก็มีเว็บไซต์ซื้อขายเกมเก่าอย่าง Good old Game(GOG.com) และ CD-Keys.com สำหรับใครที่อยากได้เกมเหมาราคาถูกและได้ทำบุญด้วยก็มีเว็บชื่อ humblebundle.com ให้ไปจับจ่ายใช้สอยกัน