svasdssvasds

ทำไม “หนังที่สร้างจากเรื่องจริง” ไม่ได้จริง 100% ทั้งๆที่มันดูจริงมาก ๆ

ทำไม “หนังที่สร้างจากเรื่องจริง” ไม่ได้จริง 100% ทั้งๆที่มันดูจริงมาก ๆ

เรามักชินกับหนังที่บอกว่า สร้างจากเรื่องจริง (Based on True Story) ในทุกช่วงของหนังเรื่องนั้นสุดมัน สุดบีบคั้นหัวใจ สุดดราม่า พร้อมกับคำพูดกินใจ แต่รู้หรือไม่ว่าหนังเหล่านั้นแล้วไม่ได้จริง 100%

หลังจากภาพยนตร์อินเดีย เรื่อง คังคุไบ Gangubai Kathiawadi ฟีเวอร์จนติดอันดับหนึ่งใน Netflix จุดหนึ่งที่น่าสนใจคือก่อนเริ่มเรื่องมีข้อความที่เขียนว่า “...ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ใช่ชีวะประวัติ...เนื้อหาต่าง ๆ ไม่ควรถูกนำมาพิจารณาว่าเป็นประวัติของตัวละครนั้น ๆ และเหตุการณ์ต่าง ๆ ถูกปรับเพื่อให้มีความสนุกและดราม่าในตัวภาพยนตร์....” นั่นหมายถึงว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ แม้มีเค้าโครงมาจากเรื่องจริง แต่ก็ไม่ใช่เรื่องจริงเสียทั้งหมด

ข้อความปฎิเสธเหล่านี้เราสามารถเห็นได้ทั่วไปในภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ มันเรียกว่า Disclaimer หรือ ข้อความปฎิเสธความรับผิดชอบ นั่นแปลว่า ต่อให้ภาพยนตร์ใช้ชื่อคนที่มีตัวตนอยู่จริง ทำหนังจากประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง แต่ถ้ามีข้อความ Disclaimer นี้ ผู้เขียน-ผู้กำกับก็สามารถแต่งเติมเรื่องราวต่าง ๆ เข้าไปได้ เพราะในบางเรื่องมันแค่เป็นเรื่องบังเอินที่ผู้สร้างหนัง ใช้ชื่อ-เหตุการณืที่เกิดขึ้นจริงมาใส่ในเรื่อง

ข้อความนี้ไม่ได้มีแค่ในหนังชีวิตแต่หนังซูปเปอร์ฮีโร่ก็มี

ข้อความ Disclaimer นี้ปรากฎอยู่ทั่วไปในภาพยนตร์แต่มักอยู่ในเครดิตภาพยนตร์ช่วงเกือบท้ายสุด โดยมักเขียนว่า “ภาพยนตร์เรื่องนี้เกิดจากการแต่งขึ้น ไม่ใช้เรื่องจริงแต่อย่างใด” ในภาพยนตร์บางเรื่อง อย่าง “2012 วันสิ้นโลก” ก็ยังมีเขียนไว้ว่า ถ้าเหตุการณ์ในเรื่องบังเอินไปสอดคล้องกับเรื่องจริง ก็แค่เป็นเรื่องบังเอิน” หรือแม้กระทั่งในภาพยนตร์เรื่อง Man of Steel ก็มีข้อความ Disclaimer ปรากฏอยู่

ทำไมต้องมีข้อความ Disclaimer นี้ ?

พอเรามานั่ง ๆ นึกดู ทำไมต้องมีข้อความเหล่านี้ ? พวกผู้สร้างหนังคิดว่าเราดูไม่ออกเหรอว่าพวกนี้คือเรื่องแต่ง ?

แต่ความจริงแล้วเวลาที่เราสื่อสารเรื่องราวต่าง ๆ ออกมาเป็นภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์บางเรื่องก็ดูจริงจนคนคิดว่าเป็นเรื่องจริงซึ่งนั่นทำให้คนอาจสับสนว่าใช่เรื่องจริงหรือไม่ ? และบางครั้งคนก็เข้าใจผิดว่าเรื่องที่ชมในภาพยนตร์เป็นเรื่องจริง

อ่านเรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

จุดเริ่มต้นของข้อความนี้เริ่มต้นจากภาพยนตร์ เรื่อง Rusputin and the Empress ฉายในปี 1932 ที่เล่าเรื่องของ “กรีกอรี รัสปูติน (Grigory Rasputin)” ชายผู้ที่ถูกเชื่อว่าเป็นผู้มีพลังพิเศษ รักษาโรคชะงักงัน ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญกับราชวงศ์โรมานอฟ ของรัฐเซีย และในเรื่องมีการเล่าถึงการลอบสังหารเอาไว้อย่างออกรสออกชาติ

ทว่าต่อมาราวปี 1933 เจ้าชายเฟลิกซ์ หนึ่งในคนที่ถูกกล่าาวถึงในเรื่อง ยื่นฟ้องบริษัททำหนังที่สร้างภาพยนตร์แห่งหนึ่งในสหรัฐ ที่สร้างหนังเรื่อง Rusputin and the Empress ในข้อหาละเมิดความเป็นส่วนตัว โดยบางข้อมูลบอกว่าสาเหตุ คือ เนื้อหาเข้าฉากว่าพระภรรยาของเจ้าชายเป็นหนึ่งในผู้ได้ทดลองจักรกลสวาทรัสปูตินจนเคลิบเคลิ้ม

ทำให้เจ้าชายเฟลิกซ์เลือกที่จะฟ้องร้องเพราะเป็นข้อกล่าวหาที่ไม่เป็นความจริง ซึ่งสุดท้ายบริษัทต้องจ่ายเงินชดเชยราว 127,XXX ดอลลาร์ ซึ่งถ้าเทียบอัตราเงินเฟ้อจะเป็นเงิน 2.8 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน หรือ ประมาณ 100 ล้านบาท

หลังจากเหตุการณ์นี้โรงภาพยนตร์เริ่มเตือนเกี่ยวกับนิยายเรื่องนี้ว่า “เรื่องบังเอิญทั้งหมดเป็นเรื่องบังเอิญ” ซึ่งดูเหมือนจะเป็นที่มาของการจำกัดกรอบความรับผิดชอบของภาพยนตร์เรื่องอื่น ๆ ที่ตามมา ในกรณีที่อาจจะใกล้เคียงกัน