เปิดชื่อเมือง 5 อันดับ Smart City ประจำปี 2022 เซี่ยงไฮ้ และ โซล นำขบวนสามเมืองในเอเชีย ปักกิ่งตามมาที่อันดับสี่ เอเชียมาแรง ครองไปแล้วสามอันดับ
เมืองที่ได้ขึ้นว่าเป็น สมาร์ทซิตี้ 2022 นอกจากคำนึงถึงเทคโนโลยีที่ช่วยให้ชีวิตประชากร ผู้อยู่อาศัย สะดวกสบาย ปลอดภัย แล้วนั้นยังไม่พอต้องใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมและหัวใจผู้คนด้วยเช่นกัน
จากรายงาน การจัดอันดับของ Juniper Research องค์กรที่บริการด้านการวิจัยและการวิเคราะห์แก่ภาคการสื่อสารไฮเทคทั่วโลก ที่ทำการสำรวจเจาะลึกข้อมูลประเทศต่างๆ รอบโลก โดยใช้เกณฑ์ ในการให้คะแนนดังนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"ชัชชาติ" มองปัญหากรุงเทพ ไม่ใช่เรื่องของไสยศาสตร์ ที่นโยบายจะแก้ไขไม่ได้
District 2020 สมาร์ทซิตี้แห่งใหม่ของ UAE ที่เริ่มจากอีเวนต์ EXPO 2020 Dubai
Citizen Cloud ของ เซี่ยงไฮ้ ได้รับการยกย่องจากงานวิจัยว่าเป็นแพลตฟอร์มที่มีระบบจัดการข้อมูลสาธารณะในระบบดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเข้าถึงบริการด้านต่างๆ ได้กว่า 1 พันรายการผ่านระบบ Cloud โดยทางรัฐบาลออกมาระบุว่า ชาวเมืองกว่า 10 ล้านคนใช้ระบบนี้เพื่อเข้าถึงบริการต่างๆ เช่น การจดทะเบียนการเกิดและการแต่งงาน ในด้านของวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว การศึกษา ประกันสังคม การขนส่ง การรักษาพยาบาลและสุขภาพ ตลอดจนบริการด้านกฎหมายและการดูแลผู้สูงอายุ
ทั้งนี้ยังสามารถเก็บเอกสารสำคัญๆ เข้าสู่ระบบ Cloud เช่น ทะเบียนสมรส บัตรประจำตัว ใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ใบขับขี่และอื่นๆ
โดยประเทศในเอเชียสามารถนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับการชีวิตประจำวันได้อย่างแนบเนียนและรวดเร็ว ทำให้ไต่อันดับขึ้นมาอยู่บนลิสต์ห้าอันดับแรกได้ถึง 3 เมือง
รายชื่อ เมืองอัจฉริยะ 5 อันดับแรก ประกอบด้วย
เทคโนโลยีเข้ามาส่งเสริมหน่วยงานท้องถิ่นในการให้ข้อมูลกับประชาชนโดยเฉพาะในเรื่องของสิ่งแวดล้อมและการใช้พลังงานที่ยั่งยืน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับพลเมืองที่อยู่อาศัย
เมือง สมาร์ท ซิตี้ เป็นการลงทุนเพื่อโอกาสที่มีมูลค่า เจ็ดหมื่นล้านดอลล่าห์ ภายในปี 2569 เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ที่อยู่ที่ประมาณ สามหมื่นล้านดอลล่าห์โดยจะมุ่งเน้นริเริ่มในการสร้าง สมาร์ทกริด (โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ) ซึ่งคาดการณ์ว่าในปี 2569 จะช่วยประหยัดไฟฟ้าไปได้กว่า 1,000 TWh โดยเทียบเท่ากับการใช้พลังงานในระยะเวลา 5 ปีของลอนดอนในปัจจุบัน
ทั้งนี้การพัฒนาเมืองที่เรียกว่า สมาร์ท ซิตี้ นี้ยังคงอยู่ในอยู่เริ่มต้นโดยเฉพาะเมืองชั้นนำต่างๆ ของโลก โดยในรายงานการวิจัยได้ตั้งข้อสังเกตว่า เมืองจะมุ่งเน้นไปในการประหยัดพลังงาน ซึ่งคาดการณ์ว่า เมืองที่มีการเตรียมพร้อมในเรื่องเทคโนโลยีระดับสูงต่างๆนี้ จะสามารถประหยัดพลังงานไปได้ถึงกว่า เก้าหมื่นล้านดอลล่าห์ ในปี 2569
ส่วนไทยมี สำนักงานเมืองอัจฉริยะ เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ เป็นองค์กรที่ดูแล วางแผนแม่บท กำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศภายใต้แนวทางยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยมี มีมิติที่สำคัญ 7 ด้านคือ
โดยในปี 2565 วางแผนไว้ว่าประเทศไทยจะมีเมืองที่ก้าวเข้าสู่การเป็นเมือง สมาร์ท ซิตี้ หรือ เมืองอัจฉริยะ 100 เมือง จาก 76 จังหวัดทั่วประเทศรวมถึงกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้เขียนเองในฐานะที่เกิดและเติบโตในกทม. ก็ยากที่จะบอกได้ว่าสัมผัสถึงความเป็น สมาร์ท ซิตี้ ตามแผนที่วางไว้แล้วหรือยัง อาจจะเป็นเพราะขาดการประชาสัมพันธ์ความคืบหน้าหรือบริการสาธารณะที่เตรียมไว้ให้ ทำให้ผู้ใช้งานไม่ได้เข้าถึงบริการเหล่านั้นและได้ใช้ประโยชน์จริงๆ เสียที
ที่มา