สรุปประเด็นจากการรับฟังผู้รู้และวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิผ่านทาง Clubhouse ในหัวข้อ "การใช้เทคโนโลยีแก้ปัญหาให้คน กทม. (ภาค 2)" โดย สมาคมไทยไอโอที (Thai IoT Association) ก่อนจะเข้าสู่การเลือกตั้งผู้ว่าฯ ในเดือนพฤษภาคมนี้
ใกล้เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เข้าไปทุกที ผู้สมัครแต่ละคนต่างก็หาเสียงโดยชูจุดขายด้านการแก้ปัญหาสารพัด แต่สิ่งที่ผู้สมัครนำเสนอนั้นจะเกิดได้จริงหรือไม่ คุ้มค่าแค่ไหน ชวนมาคิด วิเคราะห์ โดยย้อนดูสิ่งที่ปรากฏจากการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ครั้งก่อนๆ จากการพูดคุยของผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ที่ติดตามความเปลี่ยนแปลงของกรุงเทพฯ ทาง Clubhouse ในหัวข้อ "การใช้เทคโนโลยีแก้ปัญหาให้คน กทม. (ภาค 2)" ซึ่งจัดขึ้นโดย สมาคมไทยไอโอที (Thai IoT Association)
วิทยากรทั้ง 4 ที่มาร่วมพูดคุย ได้แก่
โดยมี คุณกานต์รีรา เตชะภัทรธนากุล ทำหน้าที่เป็น Moderator
คุณสิงห์ ยกตัวอย่างปัญหาที่พบเป็นประจำ คือ ฝนตก - น้ำท่วม - ท่ออุดตัน โดยเฉพาะย่านลาดพร้าว ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำๆ ทุกปี หากมีการเก็บ Data ว่าน้ำท่วมมากแค่ไหน พื้นที่ใดบ้าง และแจ้งให้ประชาชนทราบ ประชาชนก็จะหลีกเลี่ยงเส้นทางนั้นๆ ได้ หรือบริเวณไหนที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ทาง กทม.หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้เข้าไปแก้ไขหรือให้ความช่วยเหลือ
การ เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ในปีนี้ จึงอยากแนะให้ชาว กทม. พิจารณาสิ่งที่ผู้ว่าฯ คนก่อนๆ ลงทุนไว้ ว่ายังใช้ได้หรือไม่ โดยให้เน้นที่ 1) การใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหาได้จริง และ 2) ย้อนดูนโยบายพรรคว่า สอดคล้องกับที่เคยหาเสียงไว้หรือไม่
ทั้งยังบอกด้วยว่า หลายคนโฟกัสไปที่การใช้เทคโนโลยีแก้ปัญหาก่อนสิ่งอื่นใด แต่ในความเห็นของตนนั้น เรื่อง "คน" ต้องมาก่อน เพราะความต้องการของแต่ละคน แต่ละเจน ไม่เหมือนกัน นอกจากนี้ ควรใช้เทคโนโลยีให้เหมาะกับเมืองด้วย เช่น ขอนแก่น ที่พัฒนาเมืองเพื่อตอบโจทย์คนในพื้นที่ ส่วนมาตรที่ใช้วัดว่า ประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งเป้าไว้หรือไม่ มองว่าควรวัดจาก "ความสุขของประชาชนในพื้นที่"
ดร.มนต์ศักดิ์ - เปิดประเด็นด้วยการชวนคิดว่า หากจะนำเทคโนโลยีมาชี้เป้าปัญหาอย่างแท้จริง ต้องคิดให้ลึกซึ้ง เก็บรวบรวมข้อมูลและทำให้เห็น Data ชัดเจน เช่น ปัญหาน้ำท่วม ถ้าคิดแบบตรงไปตรงมาคือ ระบายน้ำไม่ทัน งบลงทุนจึงไปลงที่ปั๊มน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งอันที่จริงควรต้องหาสาเหตุก่อนหรือไม่ว่า ทำไมระบายไม่ทัน เกิดจาก "การทิ้งขยะ" และ "ขยะทำให้ท่อตัน" ใช่หรือไม่
ปัญหานี้แก้ไม่ยากถ้าเก็บ Data ให้ดีก็จะรู้ว่า เทคโนโลยีไม่ใช่ปัญหา ต้องแก้ "พฤติกรรมของคน" คือ ทิ้งขยะให้เป็นที่เป็นทางหรือเปล่า?
หรือการใช้เทคโนโลยีอื่นๆ เช่น AI (ปัญญาประดิษฐ์) เมื่อนำมาติดกล้องหน้ารถ ใครทำดี ขับดีก็ให้แต้ม ใครทำไม่ดีก็หักแต้ม และไม่ใช่แค่ใช้กับกล้อง นำไปวัดปริมาณการใช้น้ำก็ทำได้เช่นกัน เช่น อาจให้แต้มคนที่ประหยัดน้ำได้มาก ตัดแต้มคนที่ใช้น้ำมาก ฯลฯ
นอกจากนี้ ในแต่ละปีมีกิจกรรม CSR มากมาย อาจชวนเอกชนมาร่วมแก้ปัญหาไปด้วยกันแล้วให้ กทม.นำทีมสร้างประโยชน์ร่วมกันก็น่าจะวินวินกันทั้งหมด
คุณสุทัด - กล่าวถึงประเด็นการทิ้งขยะว่า ประเทศไทยเคยรณรงค์แยกขยะกันมานาน จากที่แต่ก่อนมีโครงการ ตาวิเศษเห็นนะ คนก็มีความละอายหากทิ้งไม่ถูกที่ แต่ต่อมาพฤติกรรมนั้นก็หายไป เพราะแยกเสร็จ คนเก็บขยะก็นำไปเทรวมกัน ถ้าอย่างนั้น ฉันก็ไม่แยก
คนจะคิดว่า เราทำแล้ว คาดหวังให้คนอื่นทำด้วย พอเขาไม่ทำ งั้นฉันก็ไม่ทำ มันจึงยากที่จะเปลี่ยนแปลงได้เพราะการเปลี่ยนพฤติกรรมคนต้องใช้เวลา ขณะที่คนญี่ปุ่นมีความรับผิดชอบสูง เราคนไทยไปญี่ปุ่น มีขยะแต่ไม่เห็นถัง หาที่ทิ้งยากก็เก็บไว้ไม่กล้าทิ้ง
คุณระวี - กล่าวถึงการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีในพื้นที่ กทม. โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ซึ่งต้องเดินหน้าแก้ไขพร้อมกัน ได้แก่
และจากคอนเทนต์ที่สปริงเคยนำเสนอ ส่องงบประมาณ กทม. ปี 2565 กับ 10 หน่วยงานที่ได้งบฯ มากที่สุด ภาพประกอบข้างต้นทำให้เห็นชัดเจนว่า งบประมาณ กทม.เทลงไปที่ สำนักการระบายน้ำ มากที่สุดถึง 7 พันล้านบาท หมายความว่า ปัญหาสำคัญอันดับหนึ่งของ กทม.ที่ต้องแก้ไขก็คือเรื่อง น้ำท่วม แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากเปลี่ยนผู้ว่าฯ ไปหลายยุคหลายสมัย ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมได้
คุณระวีปิดท้ายว่า การปรับพฤติกรรมประชากรเป็นเรื่องที่ยากมาก และคน กทม.ที่มีสิทธิ์เลือกตั้งจริงก็มีอยู่ 60% ที่เหลือเป็นประชากรแฝง กทม.จึงเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายและต้องดูแลคนหลายกลุ่ม จึงไม่ง่ายที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคนในสังคมได้ และสุดท้าย เทคโนโลยีที่จะนำมาใช้เพื่อพัฒนา กทม.ให้เป็นสมาร์ทซิตี้นั้น ทำไม่ยาก แต่จะเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างไรให้หันมาสร้างผลกระทบเชิงบวกในทิศทางเดียวกัน เป็นเรื่องที่ยากอย่างยิ่ง