โรคใหลตาย กลับมาอยู่ในความสนใจของผู้คนในสังคมไทยอีกครั้ง จากกรณีที่ บีม "ปภังกร ฤกษ์เฉลิมพจน์" นักแสดงนำจากซีรีส์ เคว้ง เสียชีวิตกะทันหัน บนวัย 25 ปี ซึ่งในความจริงแล้ว โรคนี้ เคยเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจให้เกิดหนังสุดแคลสสิก อย่าง "นิ้วเขมือบ" A Nightmare on Elm Street ด้วย
โรคใหลตาย กลับมาอยู่ในความสนใจของผู้คนในสังคมไทยอีกครั้ง จากกรณีที่ บีม "ปภังกร ฤกษ์เฉลิมพจน์" นักแสดงนำจากซีรีส์ เคว้ง เสียชีวิตกะทันหัน บนวัย 25 ปี อย่างไรก็ตาม หากย้อนเข็มนาฬิากลับไปในอดีต โรคใหลตาย ถือเป็นโรคที่เคยได้รับความสนใจ และกลายเป็นหนึ่งในปรากฏการณ์ข่าว ในสหรัฐฯ ตั้งแต่ยุค 1970s-1980s
โดยในซีกโลกตะวันตก ชาวอเมริกันเริ่มรู้จักอาการใหลตาย ในช่วงทศวรรษ 1970 เมื่อกลุ่มผู้อพยพชาวกัมพูชาได้เดินทางลี้ภัยไปอาศัยในสหรัฐฯจำนวนมาก และหนังสือพิมพ์ในยุคนั้นตีพิมพ์ข่าวที่ว่าผู้อพยพชาวกัมพูชาที่พลัดถิ่นมาจากประเทศบ้านเกิดที่เขมรแดงเรืองอำนาจ เกิดอาการเครียด ฝันร้าย ทำให้หลายคนปฏิเสธที่จะนอนหลับ เพราะไม่อยากเจอฝัน และไม่เพียงเท่านั้น หลายคนที่นอนหลับได้เสียชีวิตระหว่างนอน ซึ่งในขณะนั้นเจ้าหน้าที่การแพทย์ ของสหรัฐอเมริกาที่ไม่เคยเจอเรื่องแบบนี้มาก่อน เรียกขานลักษณะการนอนหลับตายนี้ว่า อาการเสียชีวิตแบบเอเชีย หรือ Asian Death Syndrome เพราะมักจะเกิดขึ้นกับคนเอเชีย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรคใหลตาย เขียนยังไง? คำที่หลายคนอาจเคยชิน เขียนผิดเป็น โรคไหลตาย
ขณะที่ในปี 1981 ก็มีสื่ออย่าง New York Times และ Los Angeles Times รายงานเรื่อง โรคใหลตาย และนั่นทำให้ ข่าวโรคใหลตาย ไปเข้าเตะตาของ เวส คราเวน ผู้กำกับชื่อดังในสหรัฐฯ และสุดท้าย เขาได้แรงบันดาลใจจากโรคใหลตายโรคนี้ มาสร้างตัวละคร "เฟรดดี้ ครูเกอร์" Freddy Krueger และทำให้มีภาพยนตร์สุดแคลสสิกของโลกเรื่องหนึ่ง อย่าง "นิ้วเขมือบ" A Nightmare on Elm Street ซึ่งมีแฟรนไชส์หนัง นิ้วเขมือบ ออกมาถึง 9 ภาค นับตั้งแต่ปี 1984 - 2010
เรื่องราวของโรคใหลตาย เป็นสิ่งที่พุ่งกระแทกเข้าไปกลางใจของ เวส คราเวน และผลักดันให้เขาสร้าง หนัง "นิ้วเขมือบ" ภาพยนตร์ A Nightmare on Elm Street ซึ่งสุดท้ายเมื่อวันเวลาผันผ่านมันได้กลายเป็นหนึ่งในหนังแคลสสิกของโลก โดยนิวยอร์กไทมส์ ยกย่องให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ เป็นหนึ่งในหนังที่ดีที่สุดที่เคยมีการสร้างมา
โดยเขาจินตนาการให้เกิดผีร้ายที่สามารถเข้าไปในความฝันของผู้คนได้ หลอกหลอนพวกเขาจนตาย และการตายในฝันนั้น มีผลต่อมาถึงชีวิตจริงที่ทำให้ เจ้าของความฝันต้องลาโลกไปด้วย ทำให้ผู้ เกี่ยวข้องไม่สามารถหาทางออกอื่นๆ นอกจากต้องตื่นเข้าไว้ตลอดเวลา ไม่มีใครกล้านอนหลับได้ลง เพราะกลัวว่าจะต้องไปเจอกับเฟร็ดดี้ ครูเกอร์ นั่นหมายความว่า เวส คราเวน สร้างภาพยนตร์สุดสยองที่กลายเป็นอีกหนึ่งป๊อปคัลเจอร์ของโลกภาพยนตร์ เรื่องนี้ขึ้นมา เพราะแรงบันดาลใจจากโรคใหลตาย
โรคใหลตาย เป็นแรงส่งให้ตัวละคร "เฟรดดี้ ครูเกอร์" กลายเป็นอีกหนึ่งตัวร้ายในโลกฮอลลิวู้ด ที่มีผู้คนจดจำได้มากที่สุด และส่งให้ แฟรนไชส์หนัง นิ้วเขมือบ A Nightmare on Elm Street และตัวของเฟร็ดดี้ ครูเกอร์ เอง ถือได้ว่า เป็นภาพยนตร์และตัวละครสำคัญที่อยู่คู่กับคนอเมริกันและคนทั้งโลกด้วย
โรคใหลตาย ได้เป็นหนึ่งในปัจจัยให้ เวส คราเวนทำหนัง "นิ้วเขมือบ" หรือ A Nightmare on Elm Street และสุดท้าย หนังเรื่องนี้ ได้กลายเป็นหนึ่งในห้า ภาพยนตร์ ที่ได้ทำให้เกิดขึ้นก็คือ "ผลกระทบ" ที่มีเอฟเฟกต์ต่อชีวิตของคนดูมากที่สุด ร่วมกับ ภาพยนตร์ Jaws, Psycho, It, และ Poltergeist โดยผู้ที่ดู "นิ้วเขมือบ" จะเกิดความรู้สึก ไม่กล้านอนหลับ เพราะกลัวจะเจอกับตัวร้ายในตำนานอย่างเฟร็ดดี้ ครูเกอร์
.
• ชื่อโรคใหลตาย ในต่างประเทศ เรียกว่าอะไรบ้าง ?
สำหรับ โรคใหลตาย เป็นชื่อเรียกเฉพาะประเทศไทย แต่ในความจริงแล้ว โรคในลักษณะนี้มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศด้วย โดยที่ฟิลิปปินส์ เรียกโรคใหลตาย ว่า bangungot หรือ urom , ขณะที่ ชาวม้งจะเรียกโรคใหลตายว่า dab tsog , ขณะที่ เกาหลีใต้ เรียกโรคใหลตายว่า dolyeonsa ขณะที่ญี่ปุ่น จะเรียกโรคใหลตายว่า pokkuri disease เป็นต้น
Credit Youtube : Movieclips Classic Trailers