svasdssvasds

รู้จัก "ฮีทสโตรก" หรือ โรคลมแดด ภัยร้ายใกล้ตัวช่วงหน้าร้อน

รู้จัก "ฮีทสโตรก" หรือ โรคลมแดด ภัยร้ายใกล้ตัวช่วงหน้าร้อน

ทำความรู้จัก "ฮีทสโตรก" หรือ โรคลมแดด โรคอันตรายที่พบบ่อยในช่วงหน้าร้อน อาการรุนแรงอาจถึงขั้นหมดสติหรืออันตรายถึงึชีวิตได้ หากรักษาล่าช้า

เนื่องจากประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการแล้ว สภาพอากาศมีอุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง มีโอกาสป่วยโรค "ฮีทสโตรก" (Heat stroke) ได้ ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวหรือควบคุมระดับความร้อนภายในร่างกายจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด

"ฮีทสโตรก" (Heat stroke) หรือ โรคลมแดด ภัยร้ายช่วงหน้าร้อนนั้น เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ จากสภาพอากาศที่เกือบ 40 องศาฯ ทำให้ผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง หรือผู้ที่ต้องตากแดดเป็นเวลานานอาจมีอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ คล้ายจะเป็นลมก็เป็นได้

"ฮีทสโตรก" (Heat stroke) หรือ โรคลมแดด ที่อาจจะทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้ เพราะเมื่อร่างกายมีอุณหภูมิพุ่งสูงถึง 40 องศาเซลเซียส อาจเกิดภาวะผิดปกติทางสมองเพราะการปรับตัวของร่างกาย อาจส่งผลให้เกิดอาการต่าง ๆ หรือส่งผลกระทบต่อระบบประสาท หัวใจ ไต หรือระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น วดมึนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ตัวร้อน กระหายน้ำ เหงื่อออกมาก จนกระทั่งไม่มีเหงื่อในที่สุด และหัวใจเต้นแรง กระสับกระส่าย อาจเป็นลม หมดสติ เป็นตะคริว เดินเซ หากอันตรายกว่านั้นนอาจเสียชีวิตได้ในที่สุด

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

สังเกตอาการของ "ฮีทสโตรก" (Heat stroke) หรือ โรคลมแดด

  • ตัวร้อนขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ความร้อนในร่างกายสูงถึง 40 องศา
  • ไม่มีเหงื่อออก รู้สึกกระหายน้ำมาก
  • หายใจถี่ ชีพจรเต้นแรง
  • ปวดศีรษะ หน้ามืด ความดันโลหิตต่ำ
  • อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน

สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไป มี 6 กลุ่ม 

  1. ผู้ที่ทำงานหรือทำกิจกรรมกลางแดด เช่น ออกกำลังกาย
  2. เด็กเล็กและผู้สูงอายุ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ดีเท่าคนหนุ่มสาว 
  3. ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง
  4. ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก
  5. ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ โดยร่างกายของคนอ้วนและผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอจะตอบสนองต่อความร้อนที่ได้รับช้ากว่าปกติ  
  6. "ฮีทสโตรก" (Heat stroke) หรือ โรคลมแดด ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยฤทธิ์ของแอลกอฮอล์จะทำให้เส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังขยายตัวได้มากขึ้น ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่สูงกว่าคนที่ไม่ได้ดื่ม ซึ่งแอลกอฮอล์จะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้รวดเร็ว และออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจให้สูบฉีดเลือดเร็วและแรงขึ้น ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจทำงานหนักเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย อาจทำให้ช็อกและเสียชีวิต

คำแนะนำสำหรับประชาชนในการดูแลสุขภาพ

  1. สวมใส่เสื้อผ้าสีอ่อน ระบายความร้อนได้ดี  ควรอยู่ในที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก  
  2. เลี่ยงการกินยาแก้แพ้หรือยาลดน้ำมูก
  3. ลดหรือเลี่ยงทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงกลางแจ้งนานๆ  
  4. ใช้ครีมกันแดดที่ SPF15 ขึ้นไป สวมแว่นกันแดด กางร่ม สวมหมวกปีกกว้าง 
  5. ควรดื่มน้ำ 2-3 ลิตรต่อวัน หรืออย่างน้อย 6-8 แก้ว  เพื่อชดเชยการเสียน้ำในร่างกายจากเหงื่อออก  
  6. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด  
  7. ผู้ที่ออกกำลังกาย ควรเลือกในช่วงเช้าหรือช่วงเย็น เนื่องจากเป็นช่วงที่อากาศไม่ร้อนมาก และเป็นเวลาที่เหมาะสม 

 

หากสงสัยผู้มีอาการเจ็บป่วยจากภาวะอากาศร้อน ควรให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นโดยให้ดื่มน้ำเย็นและเช็ดตัวด้วยน้ำเย็น ให้อยู่ในที่ระบายอากาศที่ดี ถ้ามีอาการรุนแรงหรือหมดสติควรรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422