อุบัติเหตุโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลระเบิดในยูเครน การระเบิดครั้งใหญ่ที่รุนแรงกว่าการทิ้งระเบิดของสหรัฐฯที่ญี่ปุ่นถึง 200 เท่า เตือนใจสงครามยูเครน-รัสเซีย
ยูเครนมีทรัพยากรที่หลากหลาย และเป็นพื้นที่หวงแหนของรัสเซียที่กำลังแย่งชิงกันอยู่ตอนนี้ แต่หากการทำสงครามในครั้งนี้นำพาผู้คนไปสู่กรณีที่ร้ายแรงสุดล่ะ จะเกิดอะไรขึ้น ยูเครน-รัสเซียจะเป็นอย่างไร บทความนี้ไม่ได้มุ่งหวังให้เกิดการทำสงครามใดๆแต่เพียงแค่จะเตือนใจถึงผลกระทบร้ายแรงที่อาจตามมาหลังสงคราม ว่าสามารถนำพามนุษยชาติไปสู่อะไรได้บ้าง โดยเฉพาะผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ หรือสิ่งมีชีวิตใดๆก็ตามที่อยู่ในอาณาบริเวณสงคราม เพราะไม่มีใครอยากให้เกิดการสูญเสีย
เหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์เตือนใจ
มีใครจำเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในปี 1986 ได้บ้างหรือไม่? หรือพ.ศ. 2529 ในสหภาพโซเวียต ปัจจุบันคือประเทศยูเครน เหตุการณ์การสูญเสียที่ไม่มีวันลืม คือ เหตุการณ์เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เครื่องที่ 4 ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลระเบิด (Chernobyl nuclear power plant) เมื่อตอนเช้าตรู่ของวันที่ 26 เมษายน 1986 ผลกระทบจากวันนั้นผู้คนยังคงได้รับผลกระทบจากสารเคมีนิวเคลียร์มาจนถึงทุกวันนี้ แม้เวลาจะผ่านไปแล้ว 36 ปี ซึ่งการระเบิดในครั้งนั้นมีความรุนแรงกว่าการทิ้ง Little Boy และ Fat Man ในฮิโรชิมากับนาซากิถึง 200 เท่า! ถือเป็นอุบัติเหตุนิวเคลียร์ระเบิดที่รุนแรงที่สุดในโลก
แม้ว่าการทำสงครามระหว่างยูเครนกับรัสเซียในปี 2022 นี้จะไม่มีใครสามารถคาดเดาได้ว่ามันจะร้ายแรงไปจนถึงสงครามโลกครั้งที่ 3 หรือไม่ แต่ถ้าหากว่ามีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์จริง หรืออาวุธที่ยิงใส่กันดันไปลงกับโรงงานที่มีสารเคมีอื่นๆหรือโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งอื่นล่ะ
และไม่ใช่เพียงแค่ในยูเครนเท่านั้นที่จะได้รับความเสียหาย แต่ต้องคำนึกถึงผลที่อาจเกิดขึ้นในรัสเซียด้วย เพราะเชื่อว่าหลายคนจากทั้งสองฝั่งไม่มีใครอยากทำสงครามในเวลานี้ และผู้ที่ได้รับกระทบมากที่สุดคงเป็นประชาชนตัวเล็กๆนี่เอง ดังนั้นจึงขอยกอุบัติเหตุครั้งประวัติศาสตร์ของโลกมาย้อนรอยความเสียหายที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นอีกครั้งเกี่ยวกับระเบิดนิวเคลียร์ให้ได้อ่านกันเป็นเกร็ดความรู้
อุบัติเหตุครั้งใหญ่ที่ไม่มีใครอยากจำและลืมไม่ลง
ในอดีต โรงงานนิวเคลียร์ตั้งอยู่ในเมืองพรีเพียต (Pripyat) ในสมัยที่อยู่ใต้การปกครองของประเทศสหภาพโซเวียต ซึ่งปัจจุบันคือประเทศยูเครนที่กำลังเป็นประเด็นร้อนแรงกันอยู่ในตอนนี้ เมืองพรีเพียตเป็นที่ตั้งของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์โรงงานไฟฟ้าเชอร์โนบิล ข้อมูลจากบีบีซี เผยว่า ในช่วงเช้าวันเกิดเหตุ โอเล็กซี เบรอูส อดีตเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการที่โรงงานไฟฟ้าแห่งนี้
ขณะที่เขากำลังทำงานอยู่ในห้องควบคุมเตาปฏิกรณ์เตาที่ 4 จู่ๆก็เกิดเหตุขัดข้อง เขาไม่สามารถควบคุมปฏิกิริยาจนทำให้เกิดการระเบิดขึ้นจนหลังคาของเตาปฏิกรณ์ขนาดใหญ่นั้นเปิดออก ส่งผลให้สารกัมมันตรังสีจำนวนมากถูกพัดกระจายอกไปทั่วทั้งพื้นที่ของสหภาพโซเวียต ลามไปจนถึง รัสเซีย เบลารุส และทางเหนือของยุโรป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สรุปให้ รัสเซีย - ยูเครน สถานการณ์ความตึงเครียดแนวชายแดนที่ทั่วโลกจับตา
ย้อนไทม์ไลน์ รัสเซีย - ยูเครน รบกันเพราะอะไร ปัญหาเรื้อรังจนเกิดเป็นสงคราม
สรุปให้ รัสเซีย-ยูเครน สงครามเดือด ท่าทีต่างชาติกับมาตรการคว่ำบาตรตอบโต้
กษิต ภิรมย์ เปิดปมแค้น 30 ปี นาโต้ VS รัสเซีย ก่อนระเบิดในสมรภูมิยูเครน
แต่เรื่องราวนี้ถูกถ่ายทอดผ่านซีรีส์ทางโทรทัศน์ 'เชอร์โนบิล' ซึ่งผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์หรือก็คือนายเบรอูสได้ให้สัมภาษณ์กับทางบีบีซีว่าเขาชื่นชมทีมงานกำกับซีรีส์ว่าทำออกมาได้เหมือนกับอยู่ในเหตุการณ์จริงๆและสร้างความสะเทือนใจอย่างมาก แต่ก็มีจุดที่ถูกบิดเบือนอยู่บ้างในเรื่องของตัวละครที่ดูเหมือนจะถูกใส่ร้าย ส่วนบทสัมภาษณ์ของนายเบรอูสนั้น สามารถไปตามอ่านกันต่อได้ที่ >>> ผู้อยู่ในเหตุการณ์จริง เผยสิ่งที่ซีรีส์ "เชอร์โนบิล" นำเสนอบางเรื่องไม่ตรงกับความเป็นจริง
ผลกระทบหลังเกิดการระเบิด
มาว่ากันต่อ หลังเกิดเหตุระเบิดขึ้นแน่นอนว่าผลกระทบมันก็อุบัติขึ้นทันทีทันใด แรงระเบิดนั้นทำให้มีผู้เสียชีวิตทันที 31 คนในบริเวรโรงงานไฟฟ้า ต่อมาได้รับรายงานเพิ่มเป็น 47 ราย และต่อมาคนอีกเป็นล้านคนได้รับผลกระทบจากสารกัมมันตรังสีเรื่อยมาทุกๆปี
ต่อจากนี้คือผลกระทบที่น่ากลัวหลังสารกัมมันตภาพรังสีได้หลุดรอดออกมายังโลกภายนอก อย่างที่กล่าวไปก่อนหน้าว่า สารกัมมันตภาพรังสีนี้มีความรุนแรงมากกว่าระเบิดปรมาณูที่สหรัฐอเมริกานำไปถล่มที่ฮิโรชิมาและนางาซากิในญี่ปุ่น ถึง 200 เท่า และผู้คนหลายพันคนได้รับสารเคมีจนเป็นมะเร็งและเสียชีวิตหลายราย จนทำให้หลายคนไม่สามารถสร้างครอบครัวได้ เพราะกลัวว่าความเจ็บปวดนี้จะส่งต่อเป็นกรรมพันธุ์ไปยังลูกหลาน หากใครเคยอ่านวรรณกรรมเรื่อง ‘ซาดาโกะกับนกกระเรียนพันตัว’ ก็คงจะคุ้นเคยกันดีถึงเรื่องราวความเจ็บปวดของผู้ที่เผชิญกับโรคร้ายเหล่านี้ว่าสารกัมมันตภาพรังสีนั้นเจ็บปวดเพียงใด
แต่ย้อนกลับมายังเชอร์โนบิล เชอร์โนบิลให้ผลกระทบที่รุนแรงกว่านั้นมาก จนปัจจุบันความเจ็บปวดเหล่านี้ยังไม่จางหายไป และมันหลงเหลืออะไรไว้บ้างในปัจจุบัน โปรดอ่านต่อไปจนถึงบรรทัดสุดท้ายนะ
การระเบิดครั้งนี้ทำให้เกิดการรั่วไหลของสารซีเซียม-137 มีอัตราการเป็นพิษต่อร่างกายและสิ่งแวดล้อมในระดับที่เข้มข้น หากไปสะสมอยู่ในร่างกายนั้นไม่ส่งผลดีแน่ๆ ในช่วงที่เกิดการระเบิด มีผู้คนประมาณ 5-8 ล้านคนอาศัยอยู่ในรัศมี 30 กิโลเมตร ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่ได้รับสารเต็มๆ พร้อมถูกประกาศว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสี ซึ่งมีการแพร่กระจายสารไปยัง 14 ประเทศแถบยุโรปคือ ออสเตรีย สวีเดน ฟินแลนด์ นอร์เวย์ เป็นต้น มีการตรวจพบสารปนเปื้อนทั้งในพืชพรรณ ธรรมชาติในพื้นที่ เนื้อสัตว์และนมวัว หรือแม้กระทั่งน้ำดื่มและเสื้อผ้า
ในช่วง 3-5 ปีแรก ผู้คนในยูเครนมีอัตราผู้ป่วยมะเร็วต่อมไทรอยด์มากขึ้นต่อเนื่องจากการได้รับสารปนเปื้อนไอโอดีน-131ที่แฝงในนมวัว ซึ่งมันก็ได้กินหญ้าที่ปนเปื้อนสารพิษเข้าไป
สรุปการล่มสลายของเชอร์โนบิล
ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ
ผลกระทบทั้งหมดนี้ยังไม่นับรวมกับประเทศต่างๆที่ได้รับกระทบจากการระเบิดในครั้งนั้น เพราะมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น ไม่สามารถนับได้แล้ว และยังคงมีการดำเนินการชดใช้เรื่อยมา ไม่ใช่ส่งผลกระทบเพียงแค่คนเท่านั้น มันยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ซึ่งสารเหล่านั้นจะไปตกค้างเป็นอีกร้อยๆปี
ตั้งแต่นั้นมา เมืองพรีเพียตก็ถูกทิ้งร้าง เนื่องจากยังเป็นพื้นที่รังสีตกค้างอยู่จนถึงทุกวันนี้และต่อไปอีกเป็นร้อยปี ปัจจุบันกลายเป็นที่อยู่ของสุนัขป่า ม้าป่า บีเวอร์ หมูป่า และสัตว์ป่าอื่นๆ ซึ่งก็ดูเหมือนพวกมันก็ดูปลอดภัยดีใช่ไหม แต่ไม่เลย อัตราของอายุขัยของสัตว์เหล่านี้ก็ลดลงมากขึ้นจนผิดปกติ แน่นอนว่าเป็นเพราะสารกัมตภาพรังสีที่ปนเปื้อนในอาหารที่พวกมันกินไปนั่นเอง และอัตราการขยายพันธุ์ของมันก็ลดน้อยลงด้วย
ทุกวันนี้คุณสามารถเข้าไปเยี่ยมชมโรงงานในเขตต้องห้ามได้ในเชอร์โนบิล โดยจะมีบริษัทท่องเที่ยวจัดโปรแกรมให้ไปเที่ยวเมืองร้างพริเพียต แต่ไม่รับประกันความปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นจากการเผลอรับสารที่ตกค้างได้นะ อีกทั้งรัฐบาลยังคงประเมินผลกระทบและการชดใช้ค่าเสียหายในระดับที่ต่ำที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงความจริงที่เกิดขึ้นและพยายามปิดปากเงียบจนสวีเดนต้องเข้ามาประกาศให้ชาวโลกรู้เองซะเลย
ทุกวันนี้มีเด็กประมาณ 1 ล้านคนที่ยังคงอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ปนเปื้อนสารเหล่านั้น เพราะปัจจุบันมีองค์กรดูแลเด็กเชอร์โนบิลคอยดูแลอย่างใกล้ชิด เด็กส่วนใหญ่ในโครงการจะมีร่างกายและสมองทุพพลภาพเพราะสารที่เกิดจากการระเบิด พวกเขาอยู่ในองค์กรที่ชื่อว่า “Chernobyl Children International (CCI)” เป็นองค์กรที่จะคอยช่วยเหลือเหยื่อที่ได้รับผลกระทบจากเชอร์โนบิล ซึ่งสามารถเข้าไปเยี่ยมหน้าเว็บองค์กรได้ที่ >>> Chernobyl Children International หรือใครอยากมีส่วนช่วยในการบริจาคก็ได้นะ
สุดท้ายนี้ ผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นยังคงมีผลอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ ทางผู้เขียนเองก็หวังว่าสงครามเหล่านี้จะไม่เป็นตัวจุดฉนวนความเสี่ยงที่มีลักษณะคล้ายๆกับเชอ์โนบิลให้อุบัติขึ้นอีกครั้ง หวังว่าการปะทะกันจะจบลงในเร็ววัน และขอให้ไม่มีการสูญเสียเพิ่มมากไปกว่านี้
TIPS : รู้หรือไม่ รัสเซีย สหรัฐฯ และยูเครน ไม่ได้ร่วมลงนามสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์หรือไม่มีการแบนการใช้อาวุธนิวเคลียร์ สามารถใช้ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ในแนวคิดทางกฎหมายในปัจจุบัน การขู่ว่าจะใช้หรือการใช้อาวุธนิวเคลียร์ในการรุกราน โดยทางหลักการแล้วมีความเป็นไปได้สูงว่าจะเป็นความผิดภายใต้กฎหมายอาญาระหว่างประเทศ อย่างน้อยที่สุดก็ภายใต้เขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ ในฐานความผิดของการรุกราน และเป็นการขัดกับหลักของสหประชาชาติในเรื่องการรักษาธำรงไว้ซึ่งสันติภาพของประชาคมโลก ข้อมูลจาก คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ ไอซีอาร์ซี (International Committee of the Red Cross – ICRC)
ที่มาข้อมูล
https://www.greenpeace.org/thailand/story/2328/15stories-chernobyl/
https://www.sarakadeelite.com/better-living/chernobyl-nuclear-power-plant/
https://www.bbc.com/thai/international-48595671