จำได้มั้ยว่าเข้าห้องสมุดหรือเดินร้านหนังสือครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ หลายคนอาจจำไม่ได้แล้ว แต่คงคุ้นเคยกับฉากชั้นวาง หนังสือเล่ม บนสื่อบันเทิงต่างๆ ทั้งซีรี่ย์และโลกภาพยนตร์
แม้ปัจจุบันสื่อสิ่งพิมพ์จะถูกลดความสำคัญลงและมีข่าวนิตยสารประกาศปิดตัวกันอยู่เนืองๆ ส่วนใหญ่ก็ต้องปรับตัวมาลงแข่งขันในสนามดิจิตอลกันมากขึ้น แต่ในสื่อบันเทิงเช่นใน โลกภาพยนตร์ และซีรี่ย์ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน ยังคงมีฉากห้องสมุดหรือร้านหนังสือถูกนำเสนอและสอดแทรกมาตลอดจนปัจจุบัน ทั้งเป็นฉากหลักและฉากเล็กๆ ในเรื่องก็ตาม
จะเห็นได้ว่ามนต์เสน่ห์ของการอ่านและนักอ่านยังถูกหยิบยกขึ้นมาร้อยเรียงเป็นเรื่องราวอยู่แม้ในยุคปัจจุบันสะท้อนภาพความโรแมนติก ลุ่มลึก ลุ่มหลง ในบรรยากาศอาคารวัตถุ แถวเรียงตัวของชั้นวาง และผู้คนที่ยังเดินเข้าออกในสถานที่แห่งนี้ ทั้งในชีวิตจริงและโลกมายา
บางส่วนของภาพยนตร์และซีรี่ย์ที่มีฉากห้องสมุดและร้านหนังสือที่คัดเลือกมา 10 เรื่อง ดังนี้
หมวดซีรี่ย์
หมวดภาพยนตร์
*ภาพยนตร์สั้นของไทยชื่อเรื่อง The Library ห้องสมุดแห่งรัก ที่มีฉากห้องสมุดโดยถ่ายทำในห้องสมุด Neilson Hays เป็นฉากหลักของเรื่อง ห้องสมุดแห่งนี้ ตั้งอยู่ในเขตบางรัก เป็นห้องสมุดเก่าแก่เกือบ 100 ปี เปิดบริการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2412 ทั้งนี้ยังได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2525 จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ อีกด้วย
จากงานวิจัยเรื่อง Librarians in Film: A Changing Stereotype ในปี 2008 จะพบความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการฉายภาพ บรรณารักษ์ในห้องสมุด ที่เปลี่ยนแปลงตลอดปี 1921-2004 ได้ทำการสำรวจภาพยนตร์จำนวน 20 เรื่อง 35 คาแรคเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุดทั้งหลักและตัวประกอบ ได้ข้อสรุปว่า ลักษณะภายนอก เพศ เชื้อชาติ และอายุ มีแนวโน้มที่เปิดกว้างและหลากหลายมากขึ้น ดังนี้
จากคาแรคเตอร์ภาพจำเดิม ผู้หญิงโสด ใส่แว่น มวยผม เย็นชา ฉีกกรอบภาพภาพลักษณ์สุดขั้ว อย่างมากในภาพยนตร์เรื่อง Party Girl (1995) มาเป็น บรรณารักษ์หนุ่ม ฉลาดหลักแหลม คาแรคเตอร์ซับซ้อนมีมิติ เป็นนักผจญภัย ซึ่งในงานวิจัยชี้ให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงและความหลากหลายของคาแรคเตอร์ บรรณารักษ์ในสื่อบันเทิง นี้น่าจะมีที่มาจากการเปลี่ยนทัศนคติทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับเพศและเชื้อชาติ รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ช่วยให้คนสามารถขยายภาพจำเดิมๆ คร่ำครึทิ้งไปได้
ที่มา