ภาพยนตร์แอนิเมชั่น Flee สะท้อนขบวนการค้ามมุษย์ที่เป็นอาชญากรรมร้ายแรงและค้ากำไรสุดสูงทั่วโลก บาดแผลจากการเผชิญเหตุการณ์เลวร้าย ตราตรึงเป็นภาพความทรงจำที่ให้กับเหยื่อ ความไร้มนุษยธรรมที่ระบาดหาผลประโยชน์จากความไม่เป็นธรรมกับมนุษย์ด้วยกันเอง
Flee ภาพยนตร์สารคดีที่ถ่ายทอดโดยผู้กำกับ Jonas Poher Rasmussen ผ่านวิธีการเล่าเรื่องด้วยภาพเคลื่อนไหวแบบแอนิเมชั่น บอกเล่าเรื่องราวจริงจากชายหนุ่ม “อามิน” ชาวอัฟกันที่ต้องหนีตายออกมาจาก ประเทศอัฟกานิสถาน บ้านเกิด ในช่วงระหว่างการบุกยึดครองของ ตาลีบัน เพื่อลี้ภัยไปยังต่างประเทศ เมื่อบ้านไม่ปลอดภัย หนทางที่จะมีชีวิตรอดได้คือการละทิ้งตัวตนเพื่อประกอบร่างเป็นคนใหม่ ครอบครัวต้องกระจัดกระจายคนละทิศทาง ภาพความทรงจำที่ยังคงชัดเจนในจิตใต้สำนึก ยากจะสลัดทิ้งแม้สามารถตั้งรกรากและเริ่มต้นในประเทศใหม่ที่มีอิสรภาพกว่าเดิมแล้วแต่ก็ยังส่งผลต่อเนื่องกับความสัมพันธ์กับคนรอบตัว
การค้ามนุษย์ คือการใช้กลอุบายหลอกลวงหรือบังคับให้ผู้คนเข้าทำงานที่มีลักษณะเป็นการเอารัดเอาเปรียบหรือแสวงหาประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ โดยผู้ตกเป็น เหยื่อการค้ามนุษย์ ไม่อาจหลบหนีจากมาได้โดยง่าย
การค้ามนุษย์ มักเกี่ยวข้องกับการพาเหยื่อเดินทางจากที่ที่พวกเขาอาศัยอยู่ ไปยังที่อีกแห่งหนึ่งโดยการบังคับหรือหลอกลวง เพื่อที่จะใช้ประโยชน์จากคนเหล่านี้ (UNODC, “การค้ามนุษย์” http://www.unodc.org2/unodc/en/human-trafficking/what-is-human-trafficking.html?ref=menuside.)
การค้ามนุษย์ ถือเป็นอาชญากรรมที่สร้างกำไรมากที่สุด ซึ่งส่วนมากมักเกี่ยวข้องกับผู้มีอิทธิพล เช่น ในยากูซ่าในประเทศญี่ปุ่น หรือแก๊งค์มาเฟียอิตาลี ส่วนในไทยไม่ได้มีบันทึกลักษณะการค้ามนุษย์อย่างแน่ชัด แต่มีตัวอย่างการค้าทาสที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนสิ้นสุดเมื่อกลางยุครัตนโกสินทร์ ในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5
ประเทศไทยเป็นประเทศที่ถือได้ว่ามีปัญหาอย่างรุนแรงในเรื่องการค้ามนุษย์มาอย่างต่อเนื่อง โดยปัญหาการค้ามนุษย์ได้ถูกบรรจุเป็นวาระแห่งชาติตั้งแต่ พ.ศ. 2547 จนมาถึงปัจจุบัน ซึ่งตามรายงานการจัดลำดับสถานการณ์การค้ามนุษย์ (Trafficking in Persons (หรือ Tip) Report) ของสหรัฐอเมริกาประจำ ค.ศ. 2015 จัดลำดับให้ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มเทียร์ 3 (Tier 3) เลื่อนลำดับจาก 4 ปีก่อนที่ไทยอยู่ในกลุ่มเทียร์ 2 (Tier 2) ถือว่าเป็นกลุ่มที่ถึงแม้ยังมีปัญหาด้านการค้ามนุษย์อยู่และยังแก้ไขไม่ได้ แต่รัฐบาลยังมีความพยายามที่จะแก้ปัญหาอย่างจริงจัง
องค์ประกอบสำคัญของการค้ามนุษย์ คือ
1.การกระทำ คือการจัดหา นำพา และรับเอามากักขังหน่วงเหนี่ยวไว้
2.วิธีการ ใช้อำนาจครอบงำบุคคลด้วยเหตุที่อยู่ในภาวะอ่อนด้อยทางร่างกาย จิตใจ การศึกษา หรือทางอื่นใดโดยมิชอบ ขู่เข็ญว่าจะใช้กระบวนการทางกฎหมายโดยมิชอบ
3.วัตถุประสงค์ เพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ (exploitation)
ส่วนสถานการณ์การค้ามนุษย์ในประเทศไทย หลักๆจะเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ 3 แบบ คือ
1. เป็นประเทศต้นทาง ที่มีการส่งแรงงาน เด็กและผู้หญิงไปค้าที่ต่างประเทศ
2. ประเทศที่เป็นทางผ่าน ใช้เป็นเส้นทางผ่านของการน้า แรงงานข้ามชาติหรือเด็กและหญิงไปค้าในประเทศอื่นๆ
3. ประเทศที่เป็นปลายทาง โดยเป็นประเทศ ที่มีการนำแรงงานข้ามชาติ เด็กและหญิงเข้ามาค้าหรือแสวงหาประโยชน์หรือมีการล่วงละเมิด
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (องค์ประกอบความผิดฐานค้ามนุษย์) มาตรา 6 ระบุไว้ว่า การค้ามนุษย์ทางเพศและการค้ามนุษย์ด้านแรงงานเป็นความผิดอาญา มีโทษจำคุกตั้งแต่ 4-12 ปี และปรับตั้งแต่ 400,000-1,200,000 บาท สำหรับการกระทำความผิดต่อผู้เสียหายที่เป็นผู้ใหญ่ และกำหนดโทษจำคุกตั้งแต่ 6-20 ปี และปรับตั้งแต่ 600,000-2,000,000 บาท สำหรับการกระทำความผิดต่อผู้เสียหายที่เป็นเด็กและสำหรับกรณีการค้ามนุษย์ทางเพศ บทลงโทษนี้เทียบเท่าได้กับบทลงโทษสำหรับความผิดอาชญากรรมร้ายแรงอื่น ๆ เช่น การข่มขืน
ภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่อง Flee สามารถสะท้อนภาพเหตุการณ์จริงได้อย่างกินใจผู้คนทั่วโลก จนถูกเสนอชื่อเข้าชิง 3 รางวัลใหญ่จาก เวทีออสการ์ ซึ่งถือเป็นการสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ในการเข้าชิงข้ามสายกัน โดยมีชื่อเข้าชิงในสาขา ได้แก่
1.หนังนานาชาติยอดเยี่ยม (เดนมาร์ก)
2.สารคดียอดเยี่ยม
3.แอนิเมชั่นยอดเยี่ยม
โดยก่อนหน้านี้ก็สามารกวาดรางวัลใหญ่ๆ ในเวทีประกาศรางวัลภาพยนตร์มาแล้วทั่วโลก เช่น
-ชนะเลิศสาขา World Cinema Documentary Competition เวที Sundance Film Festival
-ชนะเลิศสาขา Best Feature เวที Annecy International Animation Film Festival
ใครที่สนใจสามาถเช็กรอบฉายได้ที่ House Samyan, Doc Club & Pub และ Lido Connect
ที่มา