svasdssvasds

15 สัญญาณที่ AI จะมาเปลี่ยนแปลงการศึกษา ในโลกอนาคตสู่การเป็นโรงเรียนไฮบริด

15 สัญญาณที่ AI จะมาเปลี่ยนแปลงการศึกษา ในโลกอนาคตสู่การเป็นโรงเรียนไฮบริด

เสวนาออนไลน์ที่จัดขึ้นโดย FutureTales Lab by MQDC ในหัวข้อ Future of AI in Thai education ได้มีการฉายภาพและทิศทาง ระบบการศึกษา ในโลกอนาคตสำหรับประชากรในเจเนอเรชั่นต่อไป รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมของไทยในปัจจุบันพร้อมพรับการเปลี่ยนแปลงและ Disrupt จาก AI นี้แล้วหรือยัง

จากเวทีพูดคุยผ่าน Facebook LIVE ของศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา FutureTales Lab by MQDC เมื่อวันที่ 26 มกราคม 65 ที่ผ่านมา โดยมีนักวิจัยประจำศูยน์เป็นผู้ดำเนินรายการ ร่วมพูดคุยกับ ผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านได้แก่ ดร. ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ที่ปรึกษาและรักษาการรองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และคุณพัทน์ ภัทรนุธาพร ผู้ช่วยวิจัยและนักศึกษาปริญญาเอกที่สถาบัน Massachusetts Institute of Technology 

 

ได้นำเสนอภาพรวมของ การศึกษาในโลกอนาคต อีก 10 ข้างหน้า ไว้อย่างน่าสนใจ ตามการคาดการณ์และผลวิจัย ทิศทางการศึกษา ซึ่งคำที่ใช้กันในการพูดคุยนี้ เน้นย้ำคำว่า การเรียนรู้ แทน อาจช่วยทำให้เราและผู้ปกครองเห็นภาพและสามารถเตรียมความพร้อมให้กับบุตรหลาน เพื่อเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดนี้ได้แบบไม่ตระหนก 

 

การเปลี่ยนแปลงและการเข้ามาของ AI นี้ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตรอบๆ ตัวเราแล้วอย่างแนบเนียน ทั้งการดูหนัง ดูซีรีย์ หรือ ฟังเพลง และรับรู้ข่าวสาร ล้วนแต่ผ่านการคัดสรรมาจากการเก็บข้อมูลที่เราใช้บนโลกออนไลน์ทั้งสิ้น 

 

ส่วนประเด็นด้าน การศึกษา และ การเรียนรู้ในโลกอนาคต ที่จะถึงก็คาดว่าจะมีการนำ AI มาใช้เพื่อ พัฒนาหลักสูตร ให้เหมาะสมและเฉพาะเจาะจงกับผู้เรียนแต่ละคนมากขึ้น ตอบรับความสนใจและความถนัดของบุคคลให้ต่อยอดทักษะที่ต้องการหรือนำเสนอทางเลือกอาชีพใหม่ๆ อีกมากมาย ที่ตลาดแรงงานในอนาคตต้องการ 

การเรียนรู้ด้วยตัวเองผ่านช่องทางออนไลน์กำลังจะเทรนด์ในอนาคต

โดย 15 สัญญาณการเปลี่ยนแปลงที่ (คาดว่า) จะเกิดขึ้นกับการศึกษาในอนาคต มีดังนี้ 

1.EDTECH (Education Technology) หรือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อผลักดันคุณภาพการศึกษาให้ดีขึ้น จะเข้ามาเสริมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงโควิดที่โรงเรียนต้องปิดการเรียนการสอนเป็นเวลานานๆ EDTECH จึงเป็นธุรกิจที่เติบโตอย่างมากและเป็นช่องทางให้ทุกเพศ ทุกวัย สามารถพัฒนาสกิลของตัวเองเพื่อสร้างมูลค่าในตลาดแรงราง 

2.BIOMETRIC นอกจากจะใช้สำหรับยืนยันตัวตนในการเข้าถึงข้อมูลแล้ว ยังเก็บข้อมูลทางกายภาพของผู้เรียน เช่น ดวงตา ใบหน้า การตอบสนองคลื่นหัวใจ เพื่อประเมินความสนใจของแต่ละบุคคล ในการนำเสนอเนื้อหาเพื่อกระตุ้นในเกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น

3.การนำเสนอเนื้อหา โดยวิเคราะห์ความสนใจและความถนัดเฉพาะตัวบุคคล ตอบสนองทักษะที่ผู้เรียนมีความสามารถและการวางแผนสำหรับอาชีพในอนาคต

4.ออกแบบการเรียนรู้ ผ่านประสบการณ์ เช่น นิทรรศการแบบ Interaction 

5.Echo Chamber ข้อมูลข่าวสาร ความคิด ความเชื่อ ถูก 'ตอกย้ำ' หรือ 'ผลิตซ้ำ' ภายในระบบปิด การเห็นต่างหรือความเห็นโต้แย้งได้ถูกปิดกั้น

6.Digital Literacy การเรียนรู้ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เพื่อประยุกต์ใช้ในเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

7.สิทธิเด็กและความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัวผู้เรียน ใครจะเป็นคนรับรองและยินยอมให้เก็บหรือนำไปใช้

8.ผลกระทบในแง่ลบ ของการใช้เทคโนโลยีมากเกินไป เกิดการเสพย์ติด อาจมีผลระยะยาวในการเรียนรู้ของเด็ก

9.สถานะของครูผู้สอน เปลี่ยนจากคนสอนหน้าห้อง เป็นคนที่ชี้แนะแนวทางให้นักเรียน

10.ปรับหลักสูตร ให้เหมาะกับการเรียนรู้ในอนาคต 

11.ใช้ดิจิตอลรวบรวมข้อมูลแทนกระดาษ เช่น การเช็คชื่อ ขาด ลา มา สาย เพื่อรวบรวมสถิติและปรับปรุงแก้ไข เมื่อมีสถานการณ์ที่ไม่ปกติ 

12.โรงเรียนแบบไฮบริด สถานศึกษาอาจเป็นเพียงพื้นที่กลางเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็ก ไม่ใช่สถานที่ให้ความรู้เหมือนในอดีต

13.การกำหนดที่ทิศทางและจริยธรรม การใช้ปัญญาประดิษฐ์ร่วมกันเป็นระดับนานาชาติ   

14.นโยบายจากภาครัฐ ที่ตอบโจทย์การเรียนรู้ในโลกอนาคตจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

15.ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ โดยมี AI เป็นเครื่องมือเพื่อเสริมให้เกิดประสิทธิภาพการเรียนให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 

ทั้งนี้ภาครัฐต้องมีการจัดสรรงบประมาณและกำหนดเป็น วาระแห่งชาติ อย่างจริงจังเพื่อทำให้การพัฒนาในครั้งนี้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ การหยุดชะงักเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารแต่ละครั้งทำให้ไม่สามารถวางแผนระยะยาวและดำเนินการต่อได้ เป็นที่น่าเสียดายที่หลายๆ อย่างเช่นการมีบัตรประชาชนแบบสมาร์ทการ์ดของเราที่ถือเป็นประเทศแรกๆของโลก ก็ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์แบบเป็นรูปธรรมได้จริงเสียที ข้อมูลระหว่างองค์กรยังไม่มีการบูรณาการเพื่อเข้าถึงระหว่างกันได้ 

 

โดยเฉพาะเรื่องการศึกษาไทยที่มีคำถามตัวใหญ่ๆ ว่ากำลังเดินไปในทิศทางที่สร้างหุ่นยนต์มนุษย์แทนการใช้ AI เพื่อทำให้มนุษย์ก้าวหน้าขึ้นอยู่รึเปล่า งบประมาณแต่ละปีที่ทุ่มลงมาเพื่อการศึกษา เพียงพอและกระจายไปทั่วทั้งประเทศได้มีประสิทธิภาพแค่ไหน การเข้าถึงเครื่องมือเพื่อการศึกษาเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยปลดล็อก การเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียม แม้จะอยู่ส่วนไหนของประเทศก็ตาม 

 

ถึงเวลาที่ต้องเตรียมความพร้อมและคาดการณ์อนาคตเพื่อ พัฒนาศักยภาพประชากร ให้รองรับตลาดแรงงานและขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป ปัญญาและเทคโนโลยีเป็นอาวุธที่คนในศตวรรษต่อไปต้องการ

 

ที่มา
ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา FutureTales Lab by MQDC

 

related