svasdssvasds

ใช้ AI จับผิด "ทางม้าลายแยกอโศก" เดือนเดียว ทำผิด 25,000 ราย สะท้อนวินัยจราจร

ใช้ AI จับผิด "ทางม้าลายแยกอโศก" เดือนเดียว ทำผิด 25,000 ราย สะท้อนวินัยจราจร

วินัยจราจรสุดแย่! โฆษก กทม.เผยใช้ AI จับผิด "ทางม้าลายแยกอโศก" ที่เป็นต้นแบบ แค่เพียงเดือนเดียวจับได้กว่า 25,000 ราย

 ร.ต.อ.พงศกร ขวัญเมือง โฆษกกรุงเทพมหานคร โพสต์ข้อความผ่าน เฟซบุ๊กในชื่อ เอิร์ธ พงศกร ขวัญเมือง – Earth Pongsakorn Kwanmuang โดยระบุว่า

 ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวและญาติผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ชนคนข้ามถนน บริเวณทางม้าลายหน้าสถาบันไตภูมิราชนครินทร์ ถนนพญาไท ที่สร้างความสูญเสียอย่างไม่สามารถประเมินค่าได้

 อุบัติเหตุบริเวณทางแยกหรือทางม้าลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง เป็นปัญหาที่ กทม. พยายามผลักดันและแก้ไขให้ได้ โดยร่วมมือกับทางตำรวจที่เป็นผู้บังคับใช้กฎหมายได้โดยตรง

อุบัติเหตุบนท้องถนนเกิดจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ

• เรื่องกายภาพ สภาพแวดล้อมเชิงโครงสร้าง

• วินัยจราจรของผู้ใช้รถใช้ถนนซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ต้องใช้การแก้ไขผ่านการบังคับใช้กฎหมาย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• หมอกระต่ายถูกบิ๊กไบค์ชน บนทางม้าลาย ชัชชาติ ชี้ ปัญหาสำคัญคือ วินัยจราจร

• นาทีชีวิต! หมอกระต่าย แพทย์รามา ถูกตำรวจขี่บิ๊กไบค์ชน ขณะเดิมข้ามทางม้าลาย

• ทางม้าลายถนน Abbey Road แลนด์มาร์กของโลก ข้ามถนนปลอดภัยตามรอยปก The Beatles

หนึ่งในโครงการที่ได้เริ่มทำการศึกษา และวางระบบ และมีผลบังคับใช้ได้ในช่วงเดือนหน้านี้ คือทางม้าลายแยกอโศก

• ดำเนินการแก้ไขในส่วนกายภาพเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนโดยทำทางม้าลายให้กว้างขึ้น เป็นสีแดง-ขาว มีคำเตือน “พื้นที่จับปรับ” เพิ่มพื้นที่ให้รถจักรยานยนต์จอดรอไฟแดง ยกพื้นถนนให้เป็นเนินหลังเต่าตรงทางม้าลายที่เลี้ยวซ้ายผ่านตลอดเพื่อให้รถชะลอตัว รวมทั้ง ติดตั้งไฟส่องสว่างและไฟจราจรข้ามถนนแบบมีปุ่มกด เพื่อให้ทุกคนเดินข้ามทางม้าลายได้อย่างปลอดภัย

 แต่หลังจากที่ปรับปรุงมาระยะหนึ่งแล้ว ทางม้าลายบริเวณแยกอโศก ก็ยังไม่สามารถเปลี่ยน “วินัยการจราจร” ของผู้ขับขี่ได้ ยังคงมีการทำผิดในลักษณะเดิมอยู่ ดังนั้นเพื่อทวงสิทธิให้คนข้าม ให้สามารถข้ามทางม้าลายได้อย่างปลอดภัย กทม. จึงร่วมมือกับ สน.ทองหล่อ นำเทคโนโลยี ai มาใช้เก็บข้อมูลผู้ฝ่าฝืนวินัยจราจร เพื่อจะได้ดำเนินคดีตามกฎหมาย จากเดิมตำรวจตั้งด่านจับปรับมุมหนึ่ง อีกฝั่งหนึ่งก็ทำการฝ่าฝืน และด้วยความที่เป็นแยกขนาดใหญ่ และมีแยกลักษณะนี้อีกหลายแยก จำนวนเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่เพียงพอที่จะจับปรับทุกคนที่ทำความผิดได้ จึงเพิ่มระบบตรวจจับผู้ที่ฝ่าฝืนกฎจราจร ซึ่งจากที่ได้ทดสอบระบบมา 1 เดือน สามารถตรวจจับผู้กระทำความผิดที่แยกนี้กว่า “25,094 ราย”

 การร่วมมือกับ สน. ทองหล่อ เป็นการนำร่องการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อหวังเปลี่ยนพฤติกรรมคนให้มี “วินัยจราจร” โดยลดการให้เจ้าหน้าที่ หันมาใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ซึ่งหากประสบความสำเร็จ กทม.จะผลักดันโครงการทางม้าลายแยกอโศกเป็นโมเดลต่อยอดให้ตำรวจในพื้นที่อื่นๆ ซึ่งมีอำนาจ สามารถบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

related